โครงการเพิ่มมูลค่าไบโอเมทานอลด้วยกระบวนการเมทาฟอร์มิงเพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงไบโอก๊าซโซลีน = The value added of biomethanol via methaforming process for biogasoline / Rujira Jirtwung [et al.]

โดย: Rujira Jirtwung
ผู้แต่งร่วม: Rujira Jirtwung | Jiraporn Chalorngtham | Chiraphat Kumpidet | Kuntima Krekkeitsakul | Kamonrat Suksumrit | Anantachai Wannajampa | รุจิรา จิตรหวัง | จิราพร ฉลองธรรม | จิราพัชร คำพิเดช | กันทิมา เกริกเกียรติสกุล | กมลรัตน์ สุขสัมฤทธิ์ | อนันตชัย วรรณจำปา
ชื่อชุด: Res. Proj. No.65-30, Sub Proj. no.1 (Final report)ข้อมูลการพิมพ์: Pathumthani : Thailand Institute of Scientific and Technological Research, 2024 รายละเอียดตัวเล่ม: 86 p. : ill., tables ; 30 cm.ชื่อเรื่องอื่นๆ: โครงการวิจัยที่ ภ.65-30 โครงการเพิ่มมูลค่าไบโอเมทานอลเพื่อใช้เป็นก๊าซโซลีนและไบโอแอลพีจี หัวเรื่อง: ก๊าซโซลีน | กระบวนการเมทาฟอร์มิง | ไบโอเมทานอลสาระสังเขป: Biomethanol can be produced from biogas, a combination of raw materials and carbon dioxide, through a two-step process involving reforming and hydrogenation. The resulting biomethanol can be refined to meet commercial methanol standards used in biodiesel production. However, impurities may appear in the biomethanol synthesis, depending on the composition of the synthetic gas, which includes carbon dioxide, carbon monoxide, and hydrogen gas. These impurities consist of water, ethanol, acetone, and isopropanol. The ratio of hydrogen gas to carbon monoxide (H2/CO) produced by the reforming process was found to be in the range of 1.6 to 1.8, with a carbon monoxide ratio in the 20 to 27 percent range and CO2 contamination ranging from 20 to 25 percent, resulting in a biomethanol product in the range of 28 to 38 g/h. The optimal conditions for producing biomethanol were achieved with a synthetic gas feed rate of 1,800 ml per minute or 1,080 liters per hour, under reaction conditions with a Cu/ZnO/Al2O3 catalyst, a temperature of 170°C, and a pressure of 40 bar. The resulting biomethanol contained 32,000 ppm of water, 2,000 ppm of ethanol, 48 ppm of isopropanol, and substances with boiling points greater than 2,500 ppm, but no acetone. These impurities can be removed through five stages of distillation equipped with an auto reflux system. The biomethanol was further refined by reducing the impurity of water to 1,000 ppm and ethanol to 50 ppm. Isopropanol and higher boiling point substances were completely separated in the bottom product of the first tower.สาระสังเขป: งานวิจัยนี้มุ่งเน้นการนำไบโอเมทานอลมาใช้ประโยชน์ในการปรับปรุงคุณภาพแนฟทาให้เป็นก๊าซโซลีน ด้วยกระบวนการ เมทาฟอร์มิง ซึ่งนำไปสู่การเพิ่มมูลค่าให้แก่ไบโอเมทานอลให้สูงขึ้น รวมทั้งยังเป็นอีกแนวทางหนึ่ง ที่ช่วยส่งเสริมให้เกิดการผลิตไบโอเมทานอลในประเทศไทยจากแหล่งชีวภาพเพื่อทดแทนเมทานอลทางการค้าที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ ประสิทธิภาพของการสังเคราะห์น้ำมันก๊าดโซลีนจากการปรับปรุงคุณภาพแนฟทาโดยใช้ไบโอเมทานอลบนตัวเร่งปฏิกิริยา H-ZSM 5 ได้ถูกศึกษาบนตัวเร่งในเครื่องปฏิกรณ์แบบเบดนิ่งระดับห้องปฏิบัติการ เป็นระยะเวล 7 ชั่วโมง จากผลการทดลองพบว่า สภาวะที่เหมาะสมในการผลิตก๊าซโซลีนด้วยกระบวนการเมทาฟอร์มิง คือ การป้อนไบโอเมทานอลต่อแนฟทาที่อัตราส่วน 20/80 ด้วยอัตราการไหลรวมคงที่ 0.5 มิลลิลิตร/นาที ภายใต้อุณหภูมิและความดัน เท่ากับ 350 องศาเซลเซียส และ 5 บาร์ ตามลำดับ ซึ่งจะให้ค่าการแปรผันของเมทานอล และอัตราการผลิตน้ำมันก๊าซโซลีนสูงสุดอยู่ที่ 99.58 เปอร์เซ็นต์ และ 8.34 กรัม/ชั่วโมง ตามลำดับ องค์ประกอบของไฮโดรคาร์บอนในน้ำมันก๊าซโซลีนที่ผลิตภายใต้สภาวะที่เหมาะสม ประกอบด้วย พาราฟิน (3.5 เปอร์เซ็นต์), ไอโซพาราฟิน (24.4 เปอร์เซ็นต์), โอเลฟิน (6.4 เปอร์เซ็นต์), แนฟทีน (23.0 เปอร์เซ็นต์) และอะโรมาติก (37.7 เปอร์เซ็นต์) รวมทั้งมีค่าออกเทนโดยวิธีวิจัย (RON) อยู่ที่ 90.5 ซึ่งคุณสมบัติเหล่านี้เทียบเคียงกับน้ำมันเบนซินพื้นฐานชนิดที่ 1 สำหรับผลิตน้ำมันก๊าซโซฮอล์ 91 ตามที่กรมธุรกิจพลังงานได้ประกาศไว้ นอกจากนี้ยังพบก๊าซผลิตภัณฑ์ที่เป็นผลิตภัณฑ์พลอยได้จากกระบวนการปรับปรุงคุณภาพแนฟทาโดยใช้ไบโอเมทานอล ประกอบด้วย มีเทน (C1), อีเทน (C2), โพรเพน (C3), บิวเทน (C4), ไอโซบิวเทน (C5), ไฮโดรเจน (H2), คาร์บอนมอนอกไซด์ (CO) และอื่นๆ ซึ่งก๊าซเหล่านี้ล้วนเป็นก๊าซเชื้อเพลิงทั้งสิ้น ในงานวิจัยนี้ยังได้ศึกษาประสิทธิภาพและเสถียรภาพของตัวเร่งปฏิกิริยาซีโอไลต์ชนิด H-ZSM 5 ที่ใช้งานแล้วและผ่านกระบวนการฟื้นสภาพ ซึ่งจากผลการทดลองแสดงให้เห็นว่าอัตราการผลิตน้ำมันก๊าซโซลีนเพิ่มขึ้น 14.5 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเปรียบเทียบกับอัตราการผลิตน้ำมันก๊าซโซลีน ของตัวเร่งปฏิกิริยา ซีโอไลต์ชนิด H-ZSM 5 ใหม่ โดยเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติของตัวเร่งปฏิกิริยาภายหลังผ่านกระบวนการฟื้นสภาพที่อุณหภูมิ 700 องศาเซลเซียส อย่างไรก็ตาม คุณภาพของน้ำมันที่สังเคราะห์ได้ยังคงเทียบเคียงกับน้ำมันเบนซินพื้นฐานชนิดที่ 1 สำหรับผลิตน้ำมันก๊าซโซฮอล์ 91 อีกทั้ง เมื่อทดสอบเสถียรภาพของตัวเร่งปฏิกิริยา ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่า ตัวเร่งปฏิกิริยาซีโอไลต์ชนิด H-ZSM 5 ที่ใช้งานแล้วและผ่านกระบวนการฟื้นสภาพนั้น มีอายุการใช้งานมากกว่า 30 ชั่วโมง/รอบการทำปฏิกิริยา.
    Average rating: 0.0 (0 votes)
ไม่มีรายการทางกายภาพสำหรับระเบียนนี้

There are no comments on this title.

to post a comment.
    Thailand Institute of Scientific and Technological Research
    35 Mu 3 Technopolis, Tambon Khlong Ha, Amphoe Khlong Luang, Pathum Thani 12120
    ☎ 0 2577 9000, 0 2577 9300