แปลงทดลองสาธิตวัสดุปรับปรุงดินจากสาหร่าย : รายงานการสัมภาษณ์เกษตรกรที่ทดลองใช้ผลิตภัณฑ์ปรับปรุงดินจากสาหร่าย = Aparat Mahakhant [et al.]

โดย: Aparat Mahakhant
ผู้แต่งร่วม: Aparat Mahakhant | Sophapan Sunyansanoa | Suparp Artjariyasripong | อาภารัตน์ มหาขันธ์ | โสภาพรรณ สัญญาณเสนาะ | สุภาพ อัจฉริยศรีพงศ์
BCG: เกษตรปลอดภัย TRM: นวัตกรรมการเกษตร ชื่อชุด: Res. Proj. no. 52-01, no.5 (Final report)ข้อมูลการพิมพ์: Pathumthani : Thailand Institute of Scientific and Technological Research, 2023 รายละเอียดตัวเล่ม: 35 p. : ill. ; 30 cm.ชื่อเรื่องอื่นๆ: โครงการวิจัยที่ ภ.52 01 แปลงทดลองสาธิตวัสดุปรับปรุงดินจากสาหร่าย : รายงานการสัมภาษณ์เกษตรกรที่ทดลองใช้ผลิตภัณฑ์ปรับปรุงดินจากสาหร่าย หัวเรื่อง: ดิน | สาหร่ายสารสนเทศออนไลน์: Click here to access Full-text สาระสังเขป: การสำรวจความคิดเห็นของเกษตรกรด้านการยอมรับการใช้ผลิตภัณฑ์ปรับปรุงดินจากสาหร่าย มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจการยอมรับและความคิดเห็นของเกษตรกรที่ได้นำผลิตภัณฑ์ปรับปรุงดินจากสาหร่ายไปทดลองใช้จริง และความคิดเห็นของเกษตรกรด้านการยอมรับการใช้ผลิตภัณฑ์ปรับปรุงดินจากสาหร่าย ในพื้นที่ชุมชนตะคองเก่าใต้ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัด นครราชสีมา โดยข้อมูลที่ได้จากการสำรวจนั้นจะเป็นส่วนสนับสนุนให้กับเกษตรกรรายอื่นๆ ในการยอมรับการใช้ผลิตภัณฑ์ปรับปรุงดินจากสาหร่าย ในการสำรวจครั้งนี้ได้ทำการกำหนดกลุ่มตัวอย่างเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มตัวอย่างที่ 1 เกษตรกรตัวอย่างที่นำผลิตภัณฑ์ปรับปรุงดินจากสาหร่ายไปทดลองใช้จริง จำนวน 4 ราย กำหนดระเบียบวิธีวิจัยในเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) และกลุ่มตัวอย่างที่ 2 เกษตรกรทั่วไป จำนวน 34 ราย กำหนดการวิจัยในเชิงปริมาณ (Quantitative research) ทั้งนี้ข้อมูลที่ได้จากการสำรวจ ดังนี้: กลุ่มตัวอย่างที่ 1 เกษตรกรตัวอย่างที่นำผลิตภัณฑ์ปรับปรุงดินจากสาหร่ายไปทดลองใช้จริง นั้น มีความพึงพอใจต่อผลิตภัณฑ์ โดยข้อมูลที่ได้จากการทำการทดลองใช้นั้นเกษตรกรระบุว่า จำนวนผลผลิตที่ได้มีคุณภาพ, ปลอดภัยจากสารพิษ, ลดการใช้ยาฆ่าแมลง, ตลอดจนดินมีความอุดมสมบูรณ์ มากกว่าการใช้วิธีปลูกแบบเดิม และข้อสังเกตที่พบ คือ แปลงทดลองผลผลิตที่ได้จะมีความเสียหายน้อยกว่า และหลังการเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้วไม่ต้องทำการฟื้นฟูดินมากเท่ากับการปลูกโดยวิธีเดิม นอกจากนี้ หากผลิตภัณฑ์ปรับปรุงดินจากสาหร่ายมีจำหน่ายจะซื้อมาใช้แน่นอนและราคาที่เหมาะสม คือ ประมาณ 500 บาท ในปริมาณ 50 กิโลกรัม ต่อ 1 กระสอบ กลุ่มตัวอย่างที่ 2 เกษตรกรทั่วไป จำนวน 34 ราย จากการสำรวจพบว่า กลุ่มตัวอย่างระบุว่าหากมีผลิตภัณฑ์ปรับปรุงดินจากสาหร่ายที่มีคุณสมบัติช่วยฟื้นฟูดิน และมีจำหน่าย ตลอดจนสามารถช่วยลดต้นทุนจากการใช้ปุ๋ยเคมีได้ประมาณร้อยละ 50 ของต้นทุนค่าใช้จ่ายเดิม, ส่วนใหญ่ระบุว่า จะตัดสินใจซื้อมาใช้อย่างแน่นอน จำนวน 32 ราย คิดเป็นร้อยละ 94.1, ส่วนกลุ่มตัวอย่างจำนวน 2 ราย คิดเป็นร้อยละ 5.9 ระบุว่าไม่แน่ใจ และให้เหตุผลว่ายังไม่เคยทดลองใช้ต้องทดลองใช้ของจริงก่อนจึงจะตัดสินใจอีกครั้งหนึ่ง ทั้งนี้ ราคาที่กลุ่มตัวอย่างระบุว่า เหมาะสมของผลิตภัณฑ์ปรับปรุงดินจากสาหร่ายในปริมาณ 50 กิโลกรัมต่อ 1 กระสอบ หากมีวางจำหน่ายในท้องตลาดทั่วไป กลุ่มตัวอย่างระบุว่า คือ ราคา 500 บาท จำนวน 12 ราย คิดเป็นร้อยละ 35.3 และรองลงมาราคา 300 บาท จำนวน 8 ราย คิดเป็น ร้อยละ 23.5 จะเห็นได้ว่า ข้อมูลดังกล่าว จึงเป็นข้อมูลสนับสนุนที่สำคัญ ในการที่เกษตรกรรายอื่นๆ หรือในพื้นที่อื่นๆ จะสามารถตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์มาทดลองใช้ เนื่องจากผลิตภัณฑ์ปรับปรุงดินจากสาหร่าย นับเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ การสร้างการยอมรับต่อผลิตภัณฑ์นั้นจะต้องมีส่วนประกอบทางการตลาดที่สำคัญ ไม่ว่าข้อมูลที่เป็นแนวโน้มการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคหรือข้อมูลที่ได้จากการที่ผู้บริโภคซึ่งในกรณีนี้ คือ เกษตรกร ได้มีการนำไปใช้จริงและเห็นผลอย่างชัดเจน หากผลิตภัณฑ์ปรับปรุงดินจากสาหร่ายมีการนำเสนอสู่ตลาด (Launch) ได้จริงในอนาคต สิ่งที่น่าจะเกิดประโยชน์ต่อประเทศหรือแม้แต่เกษตรกรเอง คือ ลดการใช้ปุ๋ยเคมีลงได้ส่งผลต่อการลดการนำเข้าปุ๋ยเคมีจากต่างประเทศ และผู้บริโภคคนไทยได้บริโภคผลผลิตที่ปนเปื้อนจากสารเคมีน้อยลง สิ่งเหล่านี้อาจจะมองไม่เห็นเป็นรูปธรรมในปัจจุบัน แต่หากได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ประโยชน์ดังกล่าวคงเกิดขึ้นได้จริงในอนาคต
    Average rating: 0.0 (0 votes)
ไม่มีรายการทางกายภาพสำหรับระเบียนนี้

There are no comments on this title.

to post a comment.

Click on an image to view it in the image viewer

    Thailand Institute of Scientific and Technological Research
    35 Mu 3 Technopolis, Tambon Khlong Ha, Amphoe Khlong Luang, Pathum Thani 12120
    ☎ 0 2577 9000, 0 2577 9300