เทคโนโลยีการหมักเซลลูโลสิกร่วมกับการหมักเอทานอลจากมันสำปะหลัง = Co-ethanol production from cassava chip and cassava pulp / Kitti Orasoon [et al.]

โดย: Kitti Orasoon
ผู้แต่งร่วม: Kitti Orasoon | Vishnu Panpan | Thaparit Kunhanont | กิตติ อรสูญ | วิษณุ ปั้นพันธุ์ | เทพฤทธิ์ กัณหานนท์
BCG: สิ่งแวดล้อม TRM: พลังงานและสิ่งแวดล้อม ชื่อชุด: Res. Proj. no. 65-26, Sub Proj. no. 1; no.1 (Final report)ข้อมูลการพิมพ์: Pathumthani : Thailand Institute of Scientific and Technological Research, 2024 รายละเอียดตัวเล่ม: 61 p. : ill. ; 30 cm.ชื่อเรื่องอื่นๆ: โครงการวิจัยที่ ภ.65-26 การเพิ่มผลผลิตในกระบวนการผลิตเอทานอลจากมันสำปะหลังด้วยเทคโนโลยีเซลลูโลสิกเอทานอล หัวเรื่อง: เซลลูโลสิก | เอทานอล | มันสำปะหลังสารสนเทศออนไลน์: Click here to access Full-text สาระสังเขป: The goal of this study was to investigate the co-fermentation of cassava-based ethanol and cellulosic ethanol using cassava stillage residue (CSR) as a raw material. The CSR was pretreated with steam explosion and enzymatic saccharification to produce reducing sugar, which was used as a C-source for yeast propagation. The optimal condition for yeast propagation using CSR hydrolysate was found to be a 25% (w/w) solid loading and an active dry yeast (ADY) dose of 0.35%, without N-sources (Urea). The results showed that CSR hydrolysate, under optimal conditions, could produce a yeast concentration of 16.40*10 7±6.22 cell/mL, which was not significantly different from the traditional cassava hydrolysate concentration of 16.50*107±0.42 cells/mL. Comparing the yeast inoculum from CSR hydrolysate and traditional cassava hydrolysate, fermentation at 120 hr produced ethanol concentrations of 12.30±0.1% and 12.99±0.07% (v/v), respectively. However, the reducing sugar remaining in traditional cassava hydrolysate was 11.31±0.20 g/L, which was higher than the 3.28±0.50 g/L in CSR hydrolysate, likely due to the higher sugar content of traditional cassava hydrolysate. The preliminary economic feasibility analysis estimated a fund requirement of 4 million baht, a return period for investment of 5.678 years, and an internal rate of return (IRR) of 11.86% for a 10-year project life. These results suggest that the co-fermentation of cassava-based and cellulosic ethanol using CSR as a raw material is a feasible and economically viable processสาระสังเขป: งานวิจัยนี้ทำการศึกษาแนวทางในการผนวกการผลิตน้ำตาลจากกากส่าตะกอนมันสำปะหลังเข้ากับการผลิตเอทานอลจากมันสำปะหลัง โดยใช้น้ำตาลที่ได้จากกระบวนการเซลลูโลสิกเป็นแหล่งคาร์บอนในการเลี้ยงหัวเชื้อยีสต์สำหรับการหมักเอทานอลจากมันสำปะหลัง ซึ่งกากตะกอนส่ามันสำปะหลังจะถูกปรับสภาพด้วยการระเบิดโครงสร้างด้วยไอน้ำ โดยศึกษาหาสภาวะที่เหมาะสมในการเตรียมหัวเชื้อยีสต์ในการผลิตเอทานอลจากมันสำปะหลัง จากเข้มข้นน้ำตาลจากกระบวนการ เซลลูโลสิก แหล่งอาหารไนโตรเจน และความเข้มข้นเซลล์เริ่มต้น พบว่า สภาวะที่เหมาะสมในการผลิตหัวเชื้อยีสต์จากกระบวนการเซลลูโลสิก คือ ของแข็งต่อของเหลวร้อยละ 25 โดยหนัก และปริมาตรเชื้อยีสต์ผงทางการค้าร้อยละ 0.35 โดยไม่มีความจำเป็นต้องเติมแหล่งไนโตรเจนในระบบการเตรียมหัวเชื้อ โดยหัวเชื้อยีสต์ที่ถูกเลี้ยงจากกระบวนการเซลลูโลสิกมีความเข้มข้นเซลล์เมื่อเทียบกับการเลี้ยงหัวเชื้อยีสต์ด้วยกระบวนการแบบดั้งเดิมเท่ากับ 16.40*107±6.22 และ 16.50*107±0.42 เซลล์ต่อมิลลิลิตร ตามลำดับ โดยเมื่อนำเอาหัวเชื้อดังกล่าวมาใช้เป็นหัวเชื้อยีสต์ให้กับการผลิตเอทานอลจากมันสำปะหลังด้วยการผลิตแบบดั้งเดิม พบว่า เมื่อทำการหมักต่อเนื่องเป็นระยะเวลา 120 ชั่วโมง ความเข้มข้นของเอทานอลที่ผลิตได้มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญเท่ากับร้อยละ 12.99±0.07 และ 12.30±0.1 โดยปริมาตร ตามลำดับ เนื่องมาจากหัวเชื้อจากมันสำปะหลังมีน้ำตาลในระบบการหมักมากกว่าหัวเชื้อจากกากส่ามันสำปะหลัง สืบเนื่องมาจากกากย่อยมันสำปะหลังไม่สมบูรณ์ในช่วงการไฮโดรไลซิสจึงเกิดการหมักและย่อยไปพร้อมกัน และน้ำตาลรีดิวซ์เหลืออยู่เท่ากับ 11.31±0.20 และ 3.28±0.50 กรัมต่อลิตร ตามลำดับ ส่วนการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ทางเศรษฐศาสตร์เบื้องต้น พบว่า จำเป็นต้องใช้เงินลงุทนเริ่มต้นเท่ากับ 4 ล้านบาท โดยจะมีระยะเวลาคืนทุน (Payback Period) 5.678 ปี อัตราผลตอบแทนภายในโครงการ (Internal Rate of Return; IRR) ในปีที่ 10 ของการลงทุนเท่ากับร้อยละ 11.86
    Average rating: 0.0 (0 votes)
ไม่มีรายการทางกายภาพสำหรับระเบียนนี้

There are no comments on this title.

to post a comment.

Click on an image to view it in the image viewer

    Thailand Institute of Scientific and Technological Research
    35 Mu 3 Technopolis, Tambon Khlong Ha, Amphoe Khlong Luang, Pathum Thani 12120
    ☎ 0 2577 9000, 0 2577 9300