อนุสิทธิบัตรเรื่อง:การแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมและขยะพลาสติกในชุมชนเพื่อการบูรณาการอย่างยั่งยืน (พื้นที่จังหวัดสระบุรี) = The research development for environment management sustainable for plastic waste in community / Rewadee Anuwattana [et al.] (CONFIDENTIAL)

โดย: Rewadee Anuwattana
Language: Thai ชื่อชุด: Res. Proj. FS 63-06, Rep. no.1 (Final report) (CONFIDENTIAL)ข้อมูลการพิมพ์: Pathumthani : Thailand Institute of Scientific and Technological Research, 2021 รายละเอียดตัวเล่ม: 154 p. . tables, ill. ; 30 cm.กลุ่มผู้อ่าน: TISTRชื่อเรื่องอื่นๆ: โครงการวิจัยเรื่อง:การแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมและขยะพลาสติกในชุมชนเพื่อการบูรณาการอย่างยั่งยืน (พื้นที่จังหวัดสระบุรี) ผลิตภัณฑ์และเทคโนโลยี:1.ผลิตภัณฑ์ เม็ดสารเร่งปฏิกิริยาเชิงแสงชนิดไทเทเนียมไดออกไซด์ สำหรับการบำบัดน้ำ 2.เทคโนโลยี ระบบบำบัดน้ำที่มีระบบการเร่งปฏิกิริยาเชิงแสงร่วมกับระบบบึงประดิษฐ์ จุดเด่นของเทคโนโลยี/ ผลิตภัณฑ์:-สารเร่งปฏิกิริยาเชิงแสงที่คุณสมบัติในการบำบัดน้ำ -เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม -กระบวนการผลิตทำได้ง่าย -ลดระยะเวลาการบำบัดหัวเรื่อง: ขยะ | Rewadee Anuwattana | Worapong Pattayawan | 10000 10000 2022-09-08 0 IP00124 2022-09-08 -- ุ6สาระสังเขป: ปัญหาขยะมูลฝอยชุมชน (Municipal Solid Waste) ของประเทศไทย มีองค์ประกอบที่มี ความหลากหลาย นับเป็นปัญหาสำคัญตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ดังนั้นควรเลือกใช้เทคโนโลยีที่ เหมาะสม เพื่อเพิ่มสัดส่วนของการรีไซเคิลเพื่อนำกลับมาใช้เป็นวัตถุดิบรอบสองที่มีคุณภาพ โดยเน้น การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรและพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนตาม หลักการเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) มุ่งสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยมุ่งเน้น 2 แนวทาง ได้แก่ การเปลี่ยนขยะเป็นพลังงาน (Waste to Energy) และ การเปลี่ยนขยะเพื่อสร้างรายได้ (Waste to Wealth) เพื่อสร้างแรงจูงใจให้กับชุมชนในการจัดการขยะที่ต้นทาง โดยมีเป้าหมายของโครงการ เพื่อแปรรูปขยะชุมชนโดยใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม (วทน.) เปลี่ยนขยะเป็นพลังงาน สะอาดรวมถึงผลิตภัณฑ์มูลค่าเพิ่ม เกิดการจ้างงาน สร้างรายได้ รวมถึงลดผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม อีกทั้งยังลดปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate change) จากการปลดปล่อยก๊าซ คาร์บอนไดออกไซด์และมีเทน. โครงการวิจัยนี้ได้บูรณาการความร่วมมือกับองค์การบริหารส่วนตำบลตาลเดี่ยว และจังหวัด สระบุรี ในการดำเนินโครงการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมและขยะพลาสติกในชุมชนเพื่อการบูรณาการ อย่างยั่งยืน (พื้นที่จังหวัดสระบุรี) โดยขับเคลื่อนโครงการใน 2 ด้าน ได้แก่ การฝึกอบรมถ่ายทอด ความรู้ให้เกิดการคัดแยกขยะ ซึ่งเป็นการจัดการขยะที่ต้นทางโดยใช้นวัตกรรมชุมชน ก่อให้เกิดการ นำไปใช้ประโยชน์ สร้างรายได้ให้แก่ชุมชนควบคู่กับการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมสร้างเครื่องจักรในการคัดแยกขยะระบบกึ่งอัตโนมัติที่รองรับการแก้ไขปัญหาทั้งขยะเก่าและขยะใหม่ โดยแปร รูปเป็นพลังงานชีวภาพและผลิตภัณฑ์มูลค่าเพิ่ม โดยแบ่งการศึกษาออกเป็น 3 ขั้นตอน ขั้นตอนที่ 1 การเดินระบบที่อาคารคัดแยกขยะตำบลตาลเดี่ยว ขั้นตอนที่ 2 การปรับปรุงคุณภาพของผลิตภัณฑ์ ชนิดเกล็ดพลาสติก และขั้นตอนที่ 3 การประเมินความคุ้มค่าเชิงเศรษฐศาสตร์และการลดการปล่อย ก๊าซเรือนกระจกจากการดำเนินโครงการ. จากการดำเนินงานด้านการฝึกอบรมถ่ายทอดความรู้ให้เกิดการคัดแยกขยะให้แก่ กลุ่มเป้าหมาย ทั้งในระดับต้นน้ำ (นักเรียนและเยาวชน) ระดับกลางน้ำ (ผู้นำชุมชน) ระดับปลายน้ำ (ผู้บริหาร ผู้นำท้องถิ่น) และระดับวิสาหกิจชุมชน สามารถเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในการจัดการ ขยะจากต้นทาง เกิดความตระหนักในการใช้ทรัพยากร รวมไปถึงการพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์ชุมชน จากขยะหรือของเหลือทิ้งภาคการเกษตร เช่น ถังหมักก๊าซชีวภาพระดับครัวเรือน ถ่านหอม 3 ใน 1 จากขยะเปลือกผลไม้ ชอล์กไล่มดจากเปลือกไข่ และปุ๋ยมูลไส้เดือน เป็นต้น. จากการดำเนินงานด้านการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมในการคัดแยกขยะระบบ กึ่งอัตโนมัติที่รองรับการแก้ไขปัญหาทั้งขยะเก่าและขยะใหม่ ประกอบด้วย เทคโนโลยีในการคัดแยก ขยะระบบกึ่งอัตโนมัติ พร้อมระบบดับกลิ่นขยะด้วยโอโซนและสารดูดซับ เทคโนโลยีในการคัดแยก ชนิดและสีพลาสติกด้วยระบบ NIR และ Vision เพื่อให้ได้พลาสติกที่มีคุณภาพสูงและกำจัดสาร ปนเปื้อนของพลาสติกชนิด PVC เทคโนโลยีการบำบัดน้ำชะขยะด้วยการผลิตก๊าซชีวภาพ เทคโนโลยี การทำความสะอาดก๊าซชีวภาพเพื่อผลิตก๊าซไบโอมีเทนอัดถัง เพื่อใช้เป็นพลังงานความร้อน เทคโนโลยีการผลิตเชื้อเพลิงขยะคุณภาพสูง (Refuse Derived Fuel, d-RDF) จากพลาสติกเก่าและ ของเหลือทิ้งภาคการเกษตร เทคโนโลยีการผลิตปุ๋ยหมัก ปุ๋ยอินทรีย์เคมี และสารปรับปรุงดิน เป็นต้น. สาระสังเขป: จากการเดินระบบเครื่องคัดแยกขยะ ที่อาคารคัดแยกขยะตาลเดี่ยว อำเภอแก่งคอย จังหวัด สระบุรี โดยเดินระบบตั้งแต่เดือนมีนาคม 2563 ถึง เดือนกันยายน 2563 พบว่า สามารถคัดแยกขยะ ได้เป็น 4 ประเภทหลัก ประกอบด้วย ขยะอินทรีย์ (คิดเป็นร้อยละ 44.12), ขยะ RDF2 (คิดเป็นร้อย ละ 29.36), ถุงพลาสติก (คิดเป็นร้อยละ 4.69) และขยะรีไซเคิล จำพวกแก้ว กระป๋องอะลูมิเนียม (คิด เป็นร้อยละ 2.66) คิดเป็นการจัดการขยะชุมชนทั้งขยะเก่าและขยะใหม่รวมทั้งสิ้น 415 ตัน และ สามารถคาดการณ์ได้ว่าจะสามารถจัดการขยะให้ อบต.ตาลเดี่ยว ได้ประมาณการ 1,000 ตันต่อปี นอกจากนี้ พลาสติกภายหลังจากการซักล้างสามารถใช้เป็นวัตถุดิบเริ่มต้นร่วมกับไม้พาเลท ผลิตเป็น เชื้อเพลิงขยะ (RDF) เพื่อแก้ปัญหาภาคการขนส่ง ซึ่งให้ค่าความร้อน 7,000 กิโลแคลอรีต่อกิโลกรัม โดยเครื่องผลิตเชื้อเพลิง RDF ให้กำลังการผลิต 20 กิโลกรัมต่อวัน. จากการเดินระบบผลิตเกล็ดพลาสติกโดยใช้ขวดพลาสติกชนิดพอลิเอทิลีนเทเรฟทาเรต (PET) และปรับปรุงคุณภาพของเกล็ดพลาสติก พบว่า ได้ผลิตภัณฑ์เกล็ดพลาสติก PET ร้อยละ 82.70 และ ฝาขวดพลาสติกชนิด PE ร้อยละ 8.23 โดยการใช้สารทำความสะอาดที่สัดส่วนของน้ำยาล้างจานต่อโซเดียมไฮดรอกไซด์ที่สัดส่วน 1.920 : 3.336 ให้ประสิทธิภาพการล้างดีสุด และได้ผลิตภัณฑ์เกล็ด พลาสติกที่มีคุณภาพเทียบเท่าเกรด C+ และจากการเดินระบบผลิตก๊าซชีวภาพเพื่อบำบัดน้ำชะขยะ และขยะเศษอาหาร พบว่า ได้ปริมาณก๊าซมีเทน ประมาณร้อยละ 35-74 ของก๊าซทั้งหมด ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ร้อยละ 7.12 และก๊าซออกซิเจน ร้อยละ 1.75. จากการประเมินการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการดำเนินโครงการ พบว่า การนำ เทคโนโลยีและนวัตกรรมเข้ามาบริหารจัดการขยะ สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการ จัดการขยะมูลฝอยได้ประมาณ 490–754 TonCO2eq/month นอกจากนี้ จากการประเมินความ คุ้มค่าเชิงเศรษฐศาสตร์ในการดำเนินโครงการ พบว่า หากปรับรูปแบบการเดินระบบโดยเพิ่มปริมาณ การผลิต เม็ดพลาสติก ถุงพลาสติกล้าง เกล็ดขวดพลาสติก และเกล็ดฝาพลาสติก สามารถคืนทุนได้ใน ระยะเวลา 8-9 ปี. ผลจากการดำเนินงานโครงการสามารถสร้างรายได้จากการแปรรูปขยะโดยใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อผลิตเป็นผลิตภัณฑ์มูลค่าเพิ่ม เช่น ถุงพลาสติกสะอาด เกล็ดพลาสติก และ RDF เป็นต้น สร้างรายได้ให้แก่ชุมชนที่ประสบปัญหาการจัดการขยะ ช่วยลดปริมาณขยะเก่าและ ขยะใหม่ เกิดการจ้างงาน และพัฒนาอาชีพของชุมชนในพื้นที่รอบโครงการ อีกทั้งยังสามารถลด ผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม มลพิษทางน้ำ ของเสียจากขยะ และสามารถประเมินแนวทางฟื้นฟูบ่อขยะ เก่า พัฒนาเป็นศูนย์ต้นแบบเพื่อใช้ในการศึกษาดูงานต่อการจัดการขยะชุมชนอย่างยั่งยืน ด้วย วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม (วทน.) สามารถขับเคลื่อนนโยบายเศรษฐกิจหมุนเวียนใน ระดับกระทรวงและประเทศอย่างเป็นรูปธรรมและยั่งยืน.
    Average rating: 0.0 (0 votes)
ชนิดของทรัพยากร Location Call number สถานะ Last seen บาร์โค้ด
Intellectual Property
Available 2022-09-08 IP00124

There are no comments on this title.

to post a comment.

Click on an image to view it in the image viewer

    Thailand Institute of Scientific and Technological Research
    35 Mu 3 Technopolis, Tambon Khlong Ha, Amphoe Khlong Luang, Pathum Thani 12120
    ☎ 0 2577 9000, 0 2577 9300