อนุสิทธิบัตรเรื่อง:การสังเคราะห์ไบโอพอลิเมอร์ชนิดเซลลูโลสแอซีเทตจากวัชพืชน้ำ = Synthesis of cellulose acetate biopolymer from water weeds / Borwon Narupai [et al.] (CONFIDENTIAL)

โดย: Borwon Narupai
ผู้แต่งร่วม: Borwon Narupai | Malinee Leekrajang | Nattaporn Chutichairattanaphum | Siriporn Larpkiattaworn | บวร นฤภัย | มาลินี ลี้กระจ่าง | ณัฐพร ชุติชัยรัตนภูมิ | ศิริพร ลาภเกียรติถาวร
BCG: สิ่งแวดล้อม TRM: พลังงานและสิ่งแวดล้อม Language: Thai ชื่อชุด: Res. Proj. no. 63-09, Sub Proj. no. 2; no.1 (Final report) (CONFIDENTIAL)ข้อมูลการพิมพ์: Pathumthani : Thailand Institute of Scientific and Technological Research, 2021 รายละเอียดตัวเล่ม: 128 p. 30 cm.ชื่อเรื่องอื่นๆ: โครงการวิจัยเรื่อง:การสังเคราะห์ไบโอพอลิเมอร์ชนิดเซลลูโลสแอซีเทตจากวัชพืชน้ำ | ผลิตภัณฑ์และเทคโนโลยี:1.เทคโนโลยี/เครื่องต้นแบบ เทคโนโลยีการสังเคราะห์เซลลูโลสอะซิเตตจากวัชพืชน้ำ 2.เทคโนโลยี/เครื่องต้นแบบ เทคโนโลยีปรับปรุงสมบัติเซลลูโลสอะซิเตตจากวัชพืชน้ำที่ป้องกันรังสี UV 3.ผลิตภัณฑ์ต้นแบบ/ที่พร้อมถ่ายทอด ฟิล์มชีวภาพจากวัชพืชน้ำ จุดเด่นของเทคโนโลยี/ ผลิตภัณฑ์:สร้างมูลค่าเพิ่มให้วัชพืชน้ำกลายเป็นพลาสติกชีวภาพ ชนิดเซลลูโลสอะซิเตต เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและผู้ใช้งานหัวเรื่อง: ไบโอพอลิเมอร์สารสนเทศออนไลน์: Click here to access IP-Fulltext สาระสังเขป: การวิจัยนี้ศึกษา การสังเคราะห์ไบโอพอลิเมอร์ชนิดเซลลูโลสแอซีเทตจากวัชพืชน้ำ และมีการ พัฒนาคุณสมบัติให้สามารถป้องกันรังสี UV ได้ โดยนำวัชพืชน้ำมาใช้สำหรับการสกัดเซลลูโลสด้วย กระบวนการทางเคมี ได้แก่ การกำจัดสารแทรกด้วยตัวทำละลายผสม การกำจัดลิกนิน เฮมิเซลลูโลส ด้วยสารละลายฟอกขาว และสารละลายเบส ตามลำดับ เซลลูโลสที่ได้จากการสกัดอยู่ในช่วง 33-35 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักวัชพืชน้ำแห้ง และปริมาณแอลฟาเซลลูโลสบริสุทธิ์สูงถึง 87.3 เปอร์เซ็นต์ นำ เซลลูโลสที่สกัดได้มาทำการดัดแปลงโครงสร้างทางโมเลกุลผ่านปฏิกิริยาแอซีทิลเลชันให้เป็น ไบโอพอลิเมอร์ชนิดเซลลูโลสแอซีเทต ใช้โดยศึกษา ตัวทำปฏิกิริยา, เวลา และอุณหภูมิที่เหมาะสม สำหรับการสังเคราะห์เซลลูโลสแอซีเทต จากผลการวิเคราะห์ยืนยันโครงสร้างทางเคมีของเซลลูโลส แอซีเทต ด้วยการวิเคราะห์หมู่ฟังก์ชันด้วยเทคนิค FTIR และการหาค่าระดับการแทนที่ (Degree of Substitution, DS) ของหมู่แอซีทิลในโครงสร้างของเซลลูโลสแอซีเทตด้วยเทคนิค NMR พบว่า การ สังเคราะห์เซลลูโลสแอซีเทตที่เหมาะสม ไวนิลแอซีเทตถูกใช้เป็นสารตั้งต้น ทำปฏิกิริยาที่อุณหภูมิ 80 องศาเซลเซียส ระยะเวลา 8 ชั่วโมง ซึ่งค่า DS เท่ากับ 2.31 นอกจากนั้นเซลลูโลสแอซีเทตถูกทดสอบ สมบัติทางความร้อนด้วยเทคนิค DSC และ TGA อีกทั้งได้พัฒนาสมบัติเซลลูโลสแอซีเทตให้สามารถ ป้องกันรังสี UV โดยการเติมสารป้องกันรังสียูวีชนิดนาโนซิงค์ออกไซด์ จากผลการทดสอบ พบว่า ไบโอพอลิเมอร์ชนิดเซลลูโลสแอซีเทตที่มีการเติมซิงค์ออกไซด์ 1 เปอร์เซ็นต์ มีค่าการต้านทานรังสียูวี UPF อยู่ระดับช่วง 50+ แสดงถึงความสามารถในการป้องกันรังสียูวีได้สูงสุด.สาระสังเขป: Synthesis of cellulose acetate biopolymers from water weeds including the enhancing of UV protection properties of the cellulose acetate was studied in this research. Herein, the water weeds were used for the extraction of cellulose by chemical treatment processes including the extraction procedure with a toluene/ethanol mixture, removal of lignin and hemicellulose using bleaching solvents, and alkali solvents, respectively. Successfully, the results of cellulose extraction were in the range of 33-35% dry weight of water hyacinths which obtained a high percentage of alpha-cellulose content about 87.3%. The extracted cellulose was used to modify the molecular structure over acetylation reaction to form a cellulose acetate biopolymer. Synthesis cellulose acetate was studied as a type of reactant, temperature and reaction time that affected a changing of chemical structure of cellulose. The analysis results were confirmed by the chemical structure of cellulose acetate with functional group analysis using FTIR techniques. At temperature as 80 °C, reaction time at 8 h and vinyl acetate as reagent were appropriate to synthesis of cellulose acetate which obtained the degree of substitution or DS at 2.31 calculated from acetyl group in the cellulose acetate structure using the NMR technique and thermal properties were tested by DSC and TGA techniques. Cellulose acetate properties were developed for UV protection by adding an agent nano zinc oxide. The result was found that the cellulose acetate biopolymers with 1% of zinc oxide had a UPF UV resistance range in 50+ which indicated the highest UV protection ability.
    Average rating: 0.0 (0 votes)
ชนิดของทรัพยากร Location Call number สถานะ Last seen บาร์โค้ด
Intellectual Property
Available 2022-09-01 IP00125

There are no comments on this title.

to post a comment.

Click on an image to view it in the image viewer

    Thailand Institute of Scientific and Technological Research
    35 Mu 3 Technopolis, Tambon Khlong Ha, Amphoe Khlong Luang, Pathum Thani 12120
    ☎ 0 2577 9000, 0 2577 9300