อนุสิทธิบัตรเรื่อง:การพัฒนาผิวหนังจำลอง 3 มิติ จากเซลล์เพาะเลี้ยงเพื่อใช้ประเมินความปลอดภัยและประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางในระดับพรีคลินิกด้วยเทคโนโลยีทางชีวโมเลกุล = Revelopment of molecular technology on reconstructed 3 dimentional (3d) skin model for pre-clinic safety evaluation test in cosmetic products / Thanchanok Muangman [et al.] (CONFIDENTIAL)

โดย: Thanchanok Muangman
ผู้แต่งร่วม: Thanchanok Muangman | Prapaipat Klungsupya | Somkamol Intawong | Prapaipat Klungsupya | Intira Pathtubtim | Nantaporn Pinnak | ธัญชนก เมืองมั่น | ประไพภัทร คลังทรัพย์ | สมกมล อินทวงค์ | อินทิรา เพชทับทิม | นันทพร ปิ่นนาค
TRM: สุขภาพ กลุ่มเวชสำอาง Language: Thai ชื่อชุด: Res. Proj. no. 63-06, Sub Proj. no. 6; no.1 (Final report) (CONFIDENTIAL)ข้อมูลการพิมพ์: Pathumthani : Thailand Institute of Scientific and Technological Research, 2021 รายละเอียดตัวเล่ม: 63 p. 30 cm.ชื่อเรื่องอื่นๆ: โครงการวิจัยเรื่อง:การพัฒนาผิวหนังจำลอง 3 มิติ จากเซลล์เพาะเลี้ยงเพื่อใช้ประเมินความปลอดภัยและประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางในระดับพรีคลินิกด้วยเทคโนโลยีทางชีวโมเลกุล | ผลิตภัณฑ์และเทคโนโลยี:1.เทคโนโลยี/เครื่องต้นแบบ เนื้อเยื่อผิวหนังจำลอง 3 มิติ (TISTR-RHE) 2.เทคโนโลยี/เครื่องต้นแบบ เซลล์ผิวหนัง 3 มิติ (TISTR-SCF) จุดเด่นของเทคโนโลยี/ ผลิตภัณฑ์:-ทดแทนการใช้ผิวหนังสัตว์ -ใช้เพื่อการทดสอบและวิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้านผิวหนัง -ทดแทนการนำเข้าผิวหนังทางการค้าหัวเรื่อง: เครื่องสำอางสารสนเทศออนไลน์: Click here to access IP-Fulltext สาระสังเขป: โครงการนี้มีวัตถุประสงค์ในการพัฒนาเนื้อเยื่อผิวหนังจำลองแบบ 3 มิติ เพื่อใช้ในการประเมินความปลอดภัยและประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางในระดับพรีคลินิก โดยมีวิธีการวิจัย คือการเพาะเลี้ยงเซลล์ผิวหนังในวัสดุเพาะเลี้ยงและการเลี้ยงเซลล์แบบลำดับชั้น เซลล์ผิวหนังชนิดเคราติโนไซต์จะถูกเพาะเลี้ยงด้วยอาหารชนิดพิเศษที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงลักษณะของเซลล์ไปตามหน้าที่ของผิวหนังชั้นนอก (epidermis) เป็นระยะเวลา 21-28 วัน จะทำการประเมินสัณฐานวิทยาของเซลล์ด้วยภาพเนื้อเยื่อตัดขวางและตัวชี้วัดทางโมเลกุลของเนื้อเยื่อผิวหนังชั้นนอก ด้วยเทคนิคการย้อมสีฟลูออเรสเซ็นต์ เซลล์ผิวหนังและเนื้อเยื่อ 3 มิติ จะถูกประเมินประสิทธิภาพในการประเมินความปลอดภัยของสารเคมีด้วยการทดสอบการระคายเคือง (skin irritation) และ ทดสอบการประยุกต์ใช้ในการทดสอบการซึมผ่าน (permeability test) ตามวิธีมาตรฐาน OECD ของสารและผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง จากผลการพัฒนาเซลล์และเนื้อเยื่อผิวหนังจำลอง 3 มิติ ด้วยเทคนิคการเพาะเลี้ยงเซลล์ผิวหนังในวัสดุเพาะเลี้ยงและการเลี้ยงเซลล์แบบลำดับชั้น ทำให้ได้ต้นแบบของเซลล์ผิวหนัง 3 มิติที่เลี้ยงบนวัสดุทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ผิวหนังเสมือนจริง (TISTR-SCF) และเนื้อเยื่อผิวหนังชั้นนอกจำลอง 3 มิติ (TISTR-RHE) ที่มีความหนา.....และมีตัวชี้วัดทางโมเลกุลที่แสดงถึงการเปลี่ยนแปลงแบบลำดับชั้น คือ โปรตีนเคราติน 10 และ 14 ในชั้น สตาร์ตัมเบซอล (stratum basal) และชั้นสตาร์ตรัมคอเนียม (stratum corneum) ตามลำดับ จากผลการทดสอบประสิทธิภาพการประเมินความปลอดภัยด้วยการทดสอบการระคายเคืองต่อผิวหนัง พบว่า เซลล์ผิวหนัง 3 มิติ ที่เพาะเลี้ยงด้วยวัสดุที่มีรูพรุน มีค่า ความไว ความจำเพาะ และ ความถูกต้อง เท่ากับ 100 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งผ่านเกณฑ์มาตรฐานของ OECD และ เนื้อเยื่อผิวหนัง 3 มิติ ที่เลี้ยงแบบลำดับชั้น มีค่าความไว ความจำเพาะ และ ความถูกต้อง เท่ากับ 100, 67 และ 80 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ซึ่งค่าความจำเพาะไม่ผ่านมาตรฐาน OECD และ จากการประยุกต์ใช้ในการทดสอบการซึมผ่านของผลิตภัณฑ์ พบว่า การซึมผ่านของสารเพิ่มขึ้นตามระยะเวลาและสามารถนำมาคำนวนค่าสัมประสิทธิ์การซึมผ่านของสารต่อพื้นที่ผิวได้This project aims to develop a model of 3 dimensional (3D) skin for assessment safety and efficiency in cosmetic products. The developed methods were culture skin keratinocyte cells with scaffold membrane and reconstructed cells to form epidermis tissue for 21-28 days. Evaluation of tissue structure and biomarker with tissue sectioning and fluorescence technique, respectively. The 3D skin model were validate on skin irritation test and skin permeability test following OECD standard method. The results revealed 2 types of 3 dimensional skin models; 3D cells by scaffold culture (TISTR-SCF) and reconstructed epidermis (TISTR-RHE). The reconstructed epidermis (TISTR-RHE) model had thickness around the edge and showed differentiation biomarkers as keratin 10 and 14 represented the stratum basal layer and stratum corneum layer, respectively. According to the validation test of TISTR-SCF on skin irritation, it was found that sensitivity, specificity and accuracy were 100% all passed under OECD standard recommendation. TISTR-RHE showed sensitivity, specificity and accuracy around 100, 67 and 80%, respectively. The specificity of TISTR-RHE not pass following OECD standard recommend. The ability of permeation test showed that the accumulation rate of active ingredients increased dependence on time and could be calculated for coefficient value on permeability of productสาระสังเขป: This project aims to develop a model of 3 dimensional (3D) skin for assessment safety and efficiency in cosmetic products. The developed methods were culture skin keratinocyte cells with scaffold membrane and reconstructed cells to form epidermis tissue for 21-28 days. Evaluation of tissue structure and biomarker with tissue sectioning and fluorescence technique, respectively. The 3D skin model were validate on skin irritation test and skin permeability test following OECD standard method. The results revealed 2 types of 3 dimensional skin models; 3D cells by scaffold culture (TISTR-SCF) and reconstructed epidermis (TISTR-RHE). The reconstructed epidermis (TISTR-RHE) model had thickness around the edge and showed differentiation biomarkers as keratin 10 and 14 represented the stratum basal layer and stratum corneum layer, respectively. According to the validation test of TISTR-SCF on skin irritation, it was found that sensitivity, specificity and accuracy were 100% all passed under OECD standard recommendation. TISTR-RHE showed sensitivity, specificity and accuracy around 100, 67 and 80%, respectively. The specificity of TISTR-RHE not pass following OECD standard recommend. The ability of permeation test showed that the accumulation rate of active ingredients increased dependence on time and could be calculated for coefficient value on permeability of product
    Average rating: 0.0 (0 votes)
ชนิดของทรัพยากร Location Call number สถานะ Last seen บาร์โค้ด
Intellectual Property
Available 2022-09-07 IP00139

There are no comments on this title.

to post a comment.

Click on an image to view it in the image viewer

    Thailand Institute of Scientific and Technological Research
    35 Mu 3 Technopolis, Tambon Khlong Ha, Amphoe Khlong Luang, Pathum Thani 12120
    ☎ 0 2577 9000, 0 2577 9300