โครงการพัฒนาเกษตรกรด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เพื่อเพิ่มมูลค่าของผลิตผลทางการเกษตรภาคเหนือ (InnoAgri) = Farmer development with science, technology and innovative agriculture for production value added in northern region of Thailand (InnoAgri) / Rochana Thangkoonboribun [et al.]

โดย: Rochana Thangkoonboribun
ผู้แต่งร่วม: รจนา ตั้งกุลบริบูรณ์ | สดศรี เนียมเปรม | กุศล เอี่ยมทรัพย์ | เรวดี มีสัตย์ | พรภัทรา ปฏิทัศน์ | กัลยา โมกขพันธุ์ | จิตตา สาตร์เพ็ชร | โสภิดา ศรีวิลัยวรรณ | วิสะนี เหนือเมฆิน | วีรยุทธ พรหมจันทร์ | Rochana Thangkoonboribun | Sodsri Neamprem | Kusol Iamsub | Rewadee Meesat | Pornpattra pratitas | Kalaya Mokhaphan | Chitta Sartphet | Sopida Sriwilaiwan | Wisanee Nuamekin | Weerayut Promjan
Language: Thai ชื่อชุด: Res. Proj. FS - no. 52-03, Rep. no.1 (Final report)ข้อมูลการพิมพ์: Pathumthani Thailand Institute of Scientific and Technological Research 2021 รายละเอียดตัวเล่ม: 91 p. ; 30 cm.ชื่อเรื่องอื่นๆ: โครงการวิจัยที่ FS.62-03 โครงการพัฒนาเกษตรกรด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เพื่อเพิ่มมูลค่าของผลิตผลทางการเกษตรภาคเหนือ (InnoAgri)หัวเรื่อง: การเกษตร | InnoAgriสารสนเทศออนไลน์: Click here to access Full-text สาระสังเขป: Farmer development project with science, technology and innovation to increase the value of agricultural products in the north has aim to develop farmers and agribusiness entrepreneur. The science, technology and innovation can be developed production systems, reduce costs of production and increase revenue. As well as the development of a prototype community that can bring knowledge gained and increase production productivity throughout the value chain. The operation of this project can be summarized as follows: organizing training activities for farmers and agribusiness entrepreneur 1,043 participants. Participants were satisfied with level of good to very good, with a total of 92 %. 3 prototype communities, namely Gluay kai Big Farm Group, Sa Kaeo Sub-district, Mueang District. Gluay kai Big Farm Group, Tha Phutsa Subdistrict, Khlong Khlung District and the big farm group of bananas Pong Nam Ron Subdistrict, Khlong Lan District, all 3 places are important sources of banana production in Kamphaeng Phet province. TISTR has developed the crop production potential and product development as follows; development of 12 products from Gluay kai, 3 packaging products development for fresh fruit and processed products, 1 animal feed product development of Gluay kai leaves, development of pelleted organic fertilizer from Gluay kai stems 1 product, using agricultural technology to improve quality and increase yield of Gluay kai, including reducing the height of mechanical plants that can solve the problem of bananas lodging from the storm. Increasing fruit size and weight to solve the problem that most bananas have a small fruit size. Propagation of bananas using tissue culture technique and rhizomes separating technique, that it can reduce the production cost and increase the income for the farmers.สาระสังเขป: โครงการพัฒนาเกษตรกรด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เพื่อเพิ่มมูลค่าของผลิตผลทางการเกษตรภาคเหนือ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเกษตรกร ผู้ประกอบการธุรกิจเกษตร ให้สามารถนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมไปประยุกต์ใช้ เพื่อลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มรายได้ ตลอดจนการพัฒนาชุมชนต้นแบบที่สามารถนำองค์ความรู้ที่ได้ มาใช้เพิ่มผลิตภาพการผลิตตลอดห่วงโซ่คุณค่า. การดำเนินงานของโครงการสามารถสรุปผลได้ ดังนี้ การจัดกิจกรรมฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาเกษตรกรและผู้ประกอบการธุรกิจเกษตร มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมทั้งสิ้น 1,043 ราย โดยภาพรวมผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความพึงพอใจในระดับดีและดีมากรวมกันเท่ากับร้อยละ 92 และได้ทำการคัดเลือกชุมชนต้นแบบ 3 แห่ง คือ กลุ่มแปลงใหญ่กล้วยไข่ ตำบลสระแก้ว อำเภอเมืองกำแพงเพชร กลุ่มแปลงใหญ่กล้วยไข่ ตำบลท่าพุทรา อำเภอคลองขลุง และกลุ่มแปลงใหญ่กล้วยไข่ ตำบลโป่งน้ำร้อน อำเภอคลองลาน ซึ่งทั้ง 3 แห่ง เป็นแหล่งผลิตกล้วยไข่ที่สำคัญของจังหวัดกำแพงเพชร โดย วว. ได้ดำเนินการพัฒนาศักยภาพการผลิตและการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ดังนี้. การพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารจากกล้วยไข่ จำนวน 12 ผลิตภัณฑ์ การพัฒนาบรรจุภัณฑ์สำหรับกล้วยไข่ผลสดและผลิตภัณฑ์แปรรูป จำนวน 3 ผลิตภัณฑ์ การพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารสัตว์จากใบกล้วยไข่ จำนวน 1 ผลิตภัณฑ์ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ดจากลำต้นกล้วยไข่ จำนวน 1 ผลิตภัณฑ์ การใช้เทคโนโลยีเกษตรเพื่อพัฒนาคุณภาพและเพิ่มปริมาณผลผลิตกล้วยไข่ ได้แก่ การลดความสูงของต้นกล้วยไข่ เพื่อแก้ปัญหาต้นกล้วยหักล้มจากลมพายุ การเพิ่มขนาดและน้ำหนักผลเพื่อแก้ปัญหากล้วยที่โดยมากมีขนาดผลที่เล็ก การขยายพันธุ์กล้วยไข่ โดยใช้เทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อและการชำเหง้า จากผลการดำเนินงาน พบว่า สามารถลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกร.
    Average rating: 0.0 (0 votes)
ไม่มีรายการทางกายภาพสำหรับระเบียนนี้

There are no comments on this title.

to post a comment.
    Thailand Institute of Scientific and Technological Research
    35 Mu 3 Technopolis, Tambon Khlong Ha, Amphoe Khlong Luang, Pathum Thani 12120
    ☎ 0 2577 9000, 0 2577 9300