โครงการวิจัยและพัฒนากระบวนการผลิตน้ำตาลความเข้มข้นสูงจากข้าวโดยใช้เทคโนโลยีเมมเบรน = Research and development on rice sugar concentrating process by membrane technology / Athitan Timyamprasert

ผู้แต่งร่วม: Athitan Timyamprasert | Lawan Chatanon | Boonteun Mongkoltalang | Julalak Chanduang | อธิษฐาน ทิมแย้มประเสริฐ | ลาวัลย์ ชตานนท์ | บุญเตือน มงคลแถลง | จุฬาลักษณ์ จันด้วง
Language: Thai ชื่อชุด: Res. Proj. no. 62-10, Sub Proj. no. 1; no.1 (Final report)ข้อมูลการพิมพ์: Pathumthani Thailand Institute of Scientific and Technological Research 2020 รายละเอียดตัวเล่ม: 56 p. ; 30 cm.หัวเรื่อง: น้ำตาลสารสนเทศออนไลน์: Click here to access Full-text สาระสังเขป: The development of rice sugar concentrating process from rice using membrane technology for recycling enzyme is the purpose of this research study. The experimental results for production the rice sugar showed that the optimum conditions were 5 pieces of starter culture (Amylomyces rouxii TISTR 3182), 100 g of sterilized Thai white rice (ml of water to g of raw Thai white rice ratio of 2 : 1 was sterilized by autoclave). This method can reduce the culture time of the Amylomyces rouxii TISTR 3182 from 9 days to 3 days and higher production of rice sugar. The experimental results for adding the sterilized Thai white rice (STWR) during the fermentation showed that the maximum of adding the STWR were 1 times a day for 10 days. The experimental results for recycling enzyme with the STWR showed that the 500 g of STWR was disintegrated at 57.2% and gave 337 ml of rice sugar product and total dissolved solids content at 23.5◦Brix. For recycling enzyme with sterilized Thai white sticky rice (STWSR) showed that the 500 g of STWSR was disintegrated at 81.4% and gave 498 ml of rice sugar product and total dissolved solids content at 37.5◦Brix. The experimental results for testing the rice sugar production machine showed that the 5 kg of STWR can give the rice sugar product on the second days of fermentation process. After recycling enzyme and adding 5 kg of STWR, it gave 4,242 ml of rice sugar product, total dissolved solids content at 23◦Brix and reducing sugar content at 552.68 mg/ml in 8 days of fermentation process. For the STWSR, the experimental results of rice sugar production machine showed that the 5 kg of STWSR can give the rice sugar product on the first days of fermentation process. After recycling enzyme and adding 5 kg of STWSR, it gave 6,300 ml of rice sugar product, total dissolved solids content at 38◦Brix and reducing sugar content at 875.09 mg/ml in 7 days of fermentation process. Thai white rice sugar and Thai white sticky rice sugar were concentrated from 23 to 49.5◦Brix and 38 to 56◦Brix respectively. สาระสังเขป: โครงการวิจัยและพัฒนากระบวนการผลิตน้ำตาลความเข้มข้นสูงจากข้าวโดยใช้เทคโนโลยีเมมเบรนนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนากระบวนการผลิตน้ำตาลความเข้มข้นสูงจากข้าวโดยใช้เมมเบรนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและนำเอนไซม์กลับมาใช้ซ้ำ การทดลองหาสภาวะและกระบวนการที่เหมาะสมในการผลิตน้ำตาลจากข้าว พบว่าการใช้ชิ้นเชื้อรา Amylomyces rouxii TISTR 3182 จำนวน 5 ชิ้น บ่มและขยายเชื้อให้เจริญบนข้าวเจ้าสุกปลอดเชื้อจำนวน 100 กรัม ที่ผ่านการหุงสุกและฆ่าเชื้อพร้อมกันโดยใช้ Autoclave ในอัตราส่วนน้ำต่อข้าวเจ้าดิบ 2 : 1 สามารถลดระยะเวลาในการเพาะเลี้ยงเชื้อจาก 9 วัน ลงเหลือ 3 วัน และผลิตน้ำตาลได้สูงสุด การทดลองเพิ่มข้าวเจ้าสุกในระหว่างการหมักเพื่อต่อเชื้อและเพาะเลี้ยงให้ขยายในข้าวใหม่ พบว่าเพิ่มข้าวสุกได้สูงสุด 10 ครั้ง โดยเพิ่มได้วันละ 1 ครั้ง นาน 10 วัน การทดลองนำเอนไซม์จากน้ำตาลข้าวกลับมาใช้ซ้ำ พบว่าข้าวเจ้าสุกใหม่ปลอดเชื้อ 500 กรัม ถูกย่อยไป 286 กรัม (57.2 เปอร์เซ็นต์) สามารถผลิตน้ำตาลข้าวได้ 337 มิลลิลิตร มีค่าปริมาณของแข็งที่ละลายได้ทั้งหมด เท่ากับ 23.5 องศาบริกซ์ ส่วนข้าวเหนียวสุกใหม่ 500 กรัม ถูกย่อยไป 402 กรัม (81.4 เปอร์เซ็นต์) สามารถผลิตน้ำตาลข้าวได้ 436 มิลลิลิตร มีค่าปริมาณของแข็งที่ละลายได้ทั้งหมด เท่ากับ 37.5 องศาบริกซ์ การทดสอบเครื่องผลิตน้ำตาลจากข้าว พบว่าหมักข้าวเจ้าสุกปลอดเชื้อ 5 กิโลกรัม ในเครื่อง เริ่มได้น้ำตาลข้าวเจ้าในวันที่ 2 ของการหมัก ทำการเก็บน้ำตาลข้าวแล้วนำเอนไซม์กลับไปใช้ซ้ำพร้อมกับเพิ่มข้าวเจ้าสุกใหม่ปลอดเชื้อ 5 กิโลกรัม สามารถเก็บน้ำตาลข้าวได้ทุกวันเริ่มตั้งแต่วันที่ 2 ถึงวันที่ 8 ได้น้ำตาลทั้งหมด 4,242 มิลลิลิตร มีค่าปริมาณของแข็งที่ละลายได้ทั้งหมด 23 องศาบริกซ์ และมีปริมาณน้ำตาลรีดิวซ์ 552.68 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร สำหรับข้าวเหนียว พบว่าได้น้ำตาลข้าวตั้งแต่วันที่ 1 ของการหมัก ทำการเก็บน้ำตาลข้าวแล้วนำเอนไซม์กลับไปใช้ซ้ำพร้อมกับเพิ่มข้าวเหนียวสุกใหม่ปลอดเชื้อ 5 กิโลกรัม สามารถเก็บน้ำตาลข้าวเหนียวทุกวันเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 ถึงวันที่ 7 ได้น้ำตาลทั้งหมด 6,300 มิลลิลิตร มีค่าปริมาณของแข็งที่ละลายได้ทั้งหมด 38 องศาบริกซ์ และมีปริมาณน้ำตาลรีดิวซ์ 875.09 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร สามารถเพิ่มความเข้มข้นของค่าปริมาณของแข็งที่ละลายได้ทั้งหมดของน้ำตาลข้าวเจ้าและน้ำตาลข้าวเหนียวโดยใช้ความร้อนได้เท่ากับ 49.5 และ 56 องศาบริกซ์ ตามลำดับ
    Average rating: 0.0 (0 votes)
ไม่มีรายการทางกายภาพสำหรับระเบียนนี้

There are no comments on this title.

to post a comment.
    Thailand Institute of Scientific and Technological Research
    35 Mu 3 Technopolis, Tambon Khlong Ha, Amphoe Khlong Luang, Pathum Thani 12120
    ☎ 0 2577 9000, 0 2577 9300