อนุสิทธิบัตรเรื่อง:กระบวนการเพิ่มสารต้านอนุมูลอิสระในรากตังกุย = อนุสิทธิบัตรเลขที่:1701003826 สดศรี เนียมเปรม [et al.]

ผู้แต่งร่วม: Sodsri Neamprem | Kusol Iamsub | Montinee Kamoltham | Rujira Deewatthanawong | Kanungnid Busarakam | Jutinat Thanakitwanitkul | สดศรี เนียมเปรม | กุศล เอี่ยมทรัพย์ | มนฑิณี กมลธรรม | รุจิรา ดีวัฒนวงศ์ | คนึงนิจ บุศราคำ | จุติณัฏฐ์ ธนกิจวนิชกุล
BCG: สมุนไพร TRM: สุขภาพ กลุ่มสมุนไพร Language: Thai ชื่อชุด: Res. Proj. no. 56-01, Sub Proj. no. 2; no.1 (Final report)ข้อมูลการพิมพ์: Pathumthani Thailand Institute of Scientific and Technological Research 2020 รายละเอียดตัวเล่ม: 38 p. tables, ill. 30 cm.ชื่อเรื่องอื่นๆ: โครงการวิจัยเรื่อง:การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวเพื่อพัฒนาคุณภาพวัตถุดิบสมุนไพรตังกุย | ผลิตภัณฑ์และเทคโนโลยี:ได้เทคโนโลยีเก็บเกี่ยวตังกุยสด อายุการเก็บรักษาเพิ่มขึ้น 1 เท่าตัว ได้เทคโนโลยีเก็บเกี่ยวโดยการอบแห้ง ถ่ายทอดเชิงสังคมให้แก่ผู้ประกอบการได้เทคโนโลยีเก็บเกี่ยวตังกุยสด อายุการเก็บรักษาเพิ่มขึ้น 1 เท่าตัว ได้เทคโนโลยีเก็บเกี่ยวโดยการอบแห้ง ถ่ายทอดเชิงสังคมให้แก่ผู้ประกอบการ การนำไปต่อยอด:เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวเพื่อยืดอายุการเก็บรักษา (ผลิตผลสด/อบแห้ง)/เกษตรกร/ ผู้ประกอบการ บริเวณพื้นที่ที่เป็นแหล่งผลิต คือ สถานีเกษตรหลวง ดอยอ่างขาง อำเภอฝาง และ สถานีสาธิตและถ่ายทอดการเกษตร ป่าไม้ สิ่งแวดล้อม อำเภอเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่หัวเรื่อง: ตังกุยสาระสังเขป: ตังกุยเป็นพืชสมุนไพรที่มีศักยภาพการปลูกในประเทศไทย เป็นพืชที่มีประโยชน์และสรรพคุณทางยาสูง จึงถูกนำมาใช้ในการเสริมสร้างภูมิต้านทานให้กับร่างกาย และใช้ในการรักษาโรคบางชนิด ปัจจุบันมีการปลูกทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน แต่เนื่องจากเป็นพืชที่มีความบอบบางสูญเสียคุณภาพได้ง่าย ผลิตผลส่วนใหญ่จึงมีวางจำหน่ายเฉพาะบริเวณแหล่งปลูกเท่านั้น ดังนั้น จึงได้มีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการ ใช้เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวเพื่อพัฒนาคุณภาพตังกุย โดยได้มีการศึกษาถึงลักษณะทางสรีรวิทยา, ศึกษาอายุ การเก็บเกี่ยวและปริมาณสาระสำคัญ, ศึกษาการใช้เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว เพื่อยืดอายุการเก็บรักษาในรูปของผลิตผลสดและผลิตผลอบแห้ง ซึ่งได้ผลการทดลอง คือ ตังกุยเป็นพืชที่มีอัตราการหายใจและการผลิตเอทิลีนอยู่ในระดับต่ำ คือ มีอัตราการหายใจอยู่ในช่วง 0.32-0.44 มิลลิกรัม CO2/ กิโลกรัม-ชั่วโมง และการผลิตเอทิลีนอยู่ในช่วง 0.0015-0.0024 ไมโครลิตร C2H4/กิโลกรัม-ชั่วโมง ปริมาณสารสำคัญในตังกุยที่มีอายุการเก็บเกี่ยว 6 เดือน และ 9 เดือน พบว่า มีความแตกต่างกันเล็กน้อย โดยปริมาณพอลิแซ็กคาไรด์และกรดเฟรูลิก พบมากในส่วนของราก มีค่าอยู่ในช่วงร้อยละ 39.20-39.80 และ 0.0031- 0.0183 ตามลำดับ, ส่วนลิกัสทิไลด์ พบมากในส่วนของก้านและใบ มีค่าอยู่ในช่วงร้อยละ 0.2710-0.3871 และ 0.3550-0.4124 ตามลำดับ. การใช้เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวเพื่อยืดอายุการเก็บรักษาตังกุยสด พบว่า การเก็บรักษาในถุงพอลิโพรพิลีน (PP) ร่วมกับการรมด้วยสารวัน- เอ็มซีพี (1-MCP) ความเข้มข้น 200 ppb สามารถยืดอายุการเก็บรักษาได้ 5 สัปดาห์ ที่อุณหภูมิ 5 องศาเซลเซียส และ 2 สัปดาห์ ที่อุณหภูมิ 15 องศา-เซลเซียส ส่วนการใช้เทคโนโลยีหลังการเก็บการเก็บรักษาได้ 5 สัปดาห์ ที่อุณหภูมิ 5 องศาเซลเซียส และ 2 สัปดาห์ ที่อุณหภูมิ 15 องศาเซลเซียส ส่วนการใช้เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวเพื่อยืดอายุการเก็บรักษาตังกุยอบแห้งพบว่า การเก็บรักษาในภาชนะที่เป็นถุงพลาสติกหลายชั้นชนิด PET/ALU/LLDPE ดีที่สุด เนื่องจากสามารถควบคุมความชื้นให้คงที่ตลอดระยะเวลาการเก็บรักษาเป็นเวลา 18 เดือน โดยในส่วนของราก, ก้าน และใบ มีค่าความชื้นอยู่ในช่วงร้อยละ 2.94-3.09, 1.65-2.58 และ 2.48-3.07 ตามลำดับ ปริมาณพอลิแซ็กคาไรด์มีแนวโน้มไม่แตกต่างกัน ส่วนปริมาณกรดเฟรูลิกมีความโน้มเพิ่มขึ้น ในขณะที่ปริมาณลิกัสติไลด์มีแนวโน้มลดลง.สาระสังเขป: Angelica sinensis, commonly known as Chinese angelica, is a potential herbal plant grown in Northern and North-eastern parts of Thailand. The plant has been used in medicinal treatment to enhance the immune system and treat some diseases. However, because the plant's quality can decline due to its perishable characteristics, it is generally sold where it is grown. Therefore, postharvest technology was required for its quality control. This research was conducted to determine physiological properties, harvesting time and essential compounds. Moreover, the postharvest technology of fresh and dried plants were investigated.The results presented that Chinese angelica was a plant which has low respiration rate and ethylene production, ranging from 0.32-0.44 mg CO2/kg-hr and 0.0015-0.0024 µl C2H4/kg-hr, respectively. Essential compounds in plant were slightly different between six to nine month-old. Polysaccharide and ferulic acid presented high amounts in root, 39.20-39.80% and 0.0031-0.0183% while the leaf and petiole contained high amount of ligustilide, 0.2710-0.3871% and 0.3550-0.4124%, respectively. The best quality of postharvest Chinese angelica was applied 200 ppb 1-MCP with polypropylene bag packaging which could be kept for five weeks at 5 oC and 2 weeks at 15 oC, respectively. The suitable packaging of dried plants was the laminated plastic bag (PET/ALU/LLDPE) which controlled moisture content during storage at room temperature for 18 months. After the analysis of essential compounds, polysaccharide content was found to have remained unchanged as opposed to an increase in ferulic acid and a decline in ligustilide.
    Average rating: 0.0 (0 votes)
ชนิดของทรัพยากร Location Call number สถานะ Last seen บาร์โค้ด
Intellectual Property
Available 2022-07-01 IP00041

There are no comments on this title.

to post a comment.

Click on an image to view it in the image viewer

    Thailand Institute of Scientific and Technological Research
    35 Mu 3 Technopolis, Tambon Khlong Ha, Amphoe Khlong Luang, Pathum Thani 12120
    ☎ 0 2577 9000, 0 2577 9300