อนุสิทธิบัตรเรื่อง:การวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ซินไบโอติกเพื่อลดความเสี่ยงมะเร็งลำไส้ใหญ่ = สิทธิบัตรเลขที่:1803001941 Achara Chaiongkarn [et al.] (CONFIDENTIAL)

โดย: Achara Chaiongkarn
Language: Thai ชื่อชุด: Res. Proj. no. 57-05, Sub Proj. no. 2; no.1 (Final report) (CONFIDENTIAL)ข้อมูลการพิมพ์: Pathumthani Thailand Institute of Scientific and Technological Research 2019 รายละเอียดตัวเล่ม: 112 p. tables, ill. 30 cm.ชื่อเรื่องอื่นๆ: โครงการวิจัยเรื่อง:การวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ซินไบโอติกเพื่อลดความเสี่ยงมะเร็งลำไส้ใหญ่ | ผลิตภัณฑ์และเทคโนโลยี:สูตรผงโรยข้าวผสมซินไบโอติก, กระบวนการผลิตสารซินไบโอติก การนำไปต่อยอด:1.โครงการการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ซินไบโอติกเพื่อลดความเสี่ยงมะเร็งลำไส้ใหญ่ /-ผงโรยข้าวผสมซินไบโอติก,สูตรผงโรยข้าวผสมซินไบโอติก /-อุตสาหกรรม(บริษัทผลิตอาหาร,บริษัทที่ผลิต food ingredient)/2560 จุดเด่นของเทคโนโลยี/ ผลิตภัณฑ์:ผงโรยข้าวผสมสารซินไบโอติก ซึ่งมีจำนวนเชื้อโปรไบโอติกไม่ต่ำกว่า log 8 CFU/g ของผลโรยข้าวหัวเรื่อง: เปรมสุดา สมาน | Supaporn Lekhavat | TISTRสาระสังเขป: โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่เป็นโรคที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นในประเทศไทยและพบว่าคนไทยมีความเสี่ยงเป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่สูงเมื่อมีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป ซึ่งพฤติกรรมการกินเป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งต่อการเกิดโรค ดังนั้นงานวิจัยครั้งนี้จึงทำการวิจัยและพัฒนาค้นหาสารซินไบโอติกที่เป็นการทำงานร่วมกันระหว่างโพรไบโอติกและพรีไบโอติกสำหรับเป็นสารเสริมอาหารเพื่อช่วยลดความเสี่ยงการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่.แบคทีเรียกรดแล็กติก (lactic acid bacteria, LAB) ที่สามารถสร้างสาร exopolysaccharide (EPS) จากอาหารหมักดองในประเทศไทย จำนวน 873 ไอโซเลต พบว่า ไอโซเลต 23/14, 63/2 และ 78/22 ที่แยกจากได้แมลงมันดอง หน่อไม้ดองและปลาส้มให้สาร EPS สูงสุดเท่ากับ 16.57, 13.94 และ 10.48 กรัมต่อลิตร ตามลำดับ โดยน้ำตาลซูโครสมีแหล่งคาร์บอนที่ให้ปริมาณสารสูงสุด เมื่อทำการจำแนกเชื้อด้วยวิธีทางชีวโมเลกุล (16sDNA) และชุดทดสอบการหมักน้ำตาล API 50 CH พบเชื้อ Lactobacillus fermentum, Pediococcus acidilactici และ Lactobacillus pentosus ตามลำดับ โดย EPS จากไฮโซเลต 23/14 และ 63/2 สร้าง EPS ชนิด heteropolysaccharide ขณะที่ไอโซเลต 78/22 สร้าง EPS แบบ homopolysaccharide การทดสอบสารที่คาดว่ามีคุณสมบัติเป็นพรีไบโอติกระดับ in-vitro ใช้สารที่ทดสอบคือ EPS จากไอโซเลต 23/14, 63/2, โอลิโกแซ็กคาไรด์จากกากมะพร้าว (copra meal), ไอโซมอลโทสจากการหมักข้าวเหนียว ทดสอบการส่งเสริมการเจริญของเชื้อโปรไบโอติก 3 สายพันธุ์ คือ L. plantarum DSM 2648, L. Rhamnosus DSM 20021 และ L. casei DSM 20011 โดยเปรียบเทียบกับสาร fructooligosaccharide (FOS) ทางการค้า พบว่า EPS จาก 63/2 และโอลิโกแซ็กคาไรด์จากกากมะพร้าวส่งเสริม L. plantarum DSM 2648 ส่วน EPS จาก 23/14 และไอโซมอลโทสส่งเสริมการเจริญของเชื้อ L. Rhamnosus DSM 20021 และ EPS จาก 23/14 ส่งเสริมการเจริญของเชื้อ L. casei DSM 20011 ขณะที่ FOS ไม่ส่งเสริมการเจริญของเชื้อทั้ง 3 สายพันธุ์. เมื่อทดสอบการทนต่อการย่อยของเอนไซม์ -amylase, สภาวะเป็นกรดและเกลือน้ำดี (bile salts) พบว่า EPS จาก 63/2 และ 23/14 ทนต่อการย่อยได้ดีที่สุดซึ่งผลรวมของเปอร์เซ็นต์ไฮโดรไลซิสมีค่าเท่ากับ 26.64 และ 39.5 ตามลำดับ ขณะที่สารอื่นถูกย่อยมากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ ความสามารถในการยับยั้งเอนไซม์เบต้ากลูโคบีตา-กลูโคโรนิเดส ( -glucuronidase). ในระดับ in-vitro พบว่าสาร EPS จาก 63/2 สามารถยับยั้งกิจกรรมของเอนไซม์ได้ 8.68 เมื่อเปรียบเทียบกับชุดควบคุม (E. coli+กลูโคส) ขณะที่ FOS และสารอื่นไม่ยับยั้งกิจกรรมของเอนไซม์ แต่เมื่อนำสารที่คาดว่าเป็นสารพรีไบโอติกมาร่วมกับเชื้อโพปรไบโอติก (ที่สารนั้นส่งเสริมการเจริญ) พบว่าเมื่ออยู่ในสภาพที่เป็นซินไบโอติกสามารถยับยั้งกิจกรรมของเอนไซม์ได้ทุกทรีตทเมนต์เมื่อเปรียบเทียบกับชุดควบคุม โดยเฉพาะ EPS จาก 23/14 ร่วมกับ L. rhamnosus และ EPS จาก 63/2 ร่วมกับ L. plantarum ซึ่งสามารถลดกิจกรรมของเอนไซม์ได้เท่ากับ 52 และ 40.42 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ. การทดลองการยับยั้งเอนไซม์เบต้ากลูโคบีตา-กลูโคโร-นิเดส ระดับ in-vivo ซึ่งระบบของจุลินทรีย์ในลำไส้เป็นแบบผสม (mixed culture) และใกล้เคียงกับในคนโดยใช้หนู (rat) ในการทดสอบโดยป้อนหนูด้วยซินไบโอติกเป็นเวลา 2 เดือน พบว่าชุดการทดลองที่ใช้ EPS จาก 63/2 ร่วมกับ L. plantarum สามารถลดกิจกรรมของเอนไซม์บีตา-เบต้ากลูโคโรนิ-เดสได้สูงสุดทั้งในเพศผู้และเพศเมีย มีค่าลดลงเท่ากับ 57.94 และ 50.72 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ เมื่อเทียบกับชุดควบคุม (ป้อนหนูด้วยนม) ดังนั้นจึงพัฒนาผลิตซินไบโอติก EPS จาก 63/2 ร่วมกับ L. สาระสังเขป: plantarum ในรูปของผงแห้งโดยใช้การทำแห้ง 2 วิธี คือ การทำแห้งแบบพ่นฝอย (spray dry) และการทำแห้งแบบแช่เยือกแข็ง (freeze dry) โดยใช้ความเข้มข้นของ EPS เท่ากับ 2 เปอร์เซ็นต์ และเชื้อโพปรไบโอติก log 9 CFU/ml มิลลิลิตร พบว่าทั้ง 2 วิธี เชื้อสามารถอยู่รอดเกินกว่า 95 เปอร์เซ็นต์ (log 10 CFU/gกรัม) แต่เมื่อเก็บไว้ที่อุณหภูมิห้องเป็นเวลา 1 เดือน ผงซินไบโอติกที่ผ่านการทำแห้งแบบพ่นฝอย อัตราการรอดชีวิตของเชื้อมากกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่วิธีแช่เยือกแข็งเหลืออัตราการรอดชีวิตของเชื้ออยู่ 78 เปอร์เซ็นต์ จากนั้นนำผลิตภัณฑ์ซินไบโอติกมาทดสอบการยับยั้งเอนไซม์บีตา-เบต้ากลูโคโรนิเดส ในระดับ in-vivo อีกครั้ง ผลิตภัณฑ์ซินไบโอติกชนิดผงยังคงยับยั้งกิจกรรมของเอนไซม์ได้ทั้งในหนูตัวผู้และตัวเมียมีค่าเท่ากับ 36.59 และ 50.55 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ เมื่อนำผลิตภัณฑ์ ซินไบโอติกชนิดผงใช้เป็นสารเสริมอาหารโดยนำมาเป็นส่วนประกอบหนึ่งของผงโรยข้าวญี่ปุ่น (ผลิตภัณฑ์ต้นแบบ) ตามความเข้มข้นที่ 1, 1.5 และ 2 เปอร์เซ็นต์โดยมวล จากแบบประเมินคุณภาพทางประสาทสัมผัสพบว่า ผงโรยข้าวญี่ปุ่นที่ผสมซินไบโอติกชนิดผง 2 เปอร์เซ็นต์โดยมวล ให้ความ พึงพอใจสูงสุด.
    Average rating: 0.0 (0 votes)
ชนิดของทรัพยากร Location Call number สถานะ Last seen บาร์โค้ด
Intellectual Property
Available 2022-08-31 IP00092

There are no comments on this title.

to post a comment.
    Thailand Institute of Scientific and Technological Research
    35 Mu 3 Technopolis, Tambon Khlong Ha, Amphoe Khlong Luang, Pathum Thani 12120
    ☎ 0 2577 9000, 0 2577 9300