อนุสิทธิบัตรเรื่อง:กระบวนการเพิ่มผลผลิตมะขามป้อม = สิทธิบัตรเลขที่:1701004037 Sodsri Neamprem [et al.]

ผู้แต่งร่วม: Sodsri Neamprem | Kusol Iamsub | Montinee Kamontham | Rujira Deewatthanawong | Kanungnid Busarakam | Juthinat Thanakitvanichakul | สดศรี เนียมเปรม | กุศล เอี่ยมทรัพย์ | มนฑิณี กมลธรรม | รุจิรา ดีวัฒนวงศ์ | คนึงนิจ บุศราคำ | จุติณัฏฐ์ ธนกิจวนิชกุล
BCG: เกษตรปลอดภัย Language: Thai ชื่อชุด: Res. Proj. no. 57-03, Sub Proj. no. 2; no.1 (Final report)ข้อมูลการพิมพ์: Pathumthani Thailand Institute of Scientific and Technological Research 2018 รายละเอียดตัวเล่ม: 46 p. table, ill. 30 cm.ชื่อเรื่องอื่นๆ: โครงการวิจัยเรื่อง:การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวเพื่อพัฒนาคุณภาพวัตถุดิบผักและผลไม้ที่มีสารไบโอฟลาโวนอยด์สูง | ผลิตภัณฑ์และเทคโนโลยี:คัดเลือกหม่อนและมะขามป้อมมาทดลอง ได้เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว 2 เทคโนโลยี การนำไปต่อยอด:เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวเพื่อยืดอายุการเก็บรักษา 2 เทคโนโลยี (ผลหม่อนและมะขามป้อม)/เกษตรกร/ผู้ประกอบการบริเวณพื้นที่ที่เป็นแหล่งผลิต หม่อน : ราชบุรี นครราชสีมา สมุทรสาคร เป็นต้น มะขามป้อม: อยุธยา ราชบุรี กาญจนบุรี เป็นต้น จุดเด่นของเทคโนโลยี/ ผลิตภัณฑ์:ยืดอายุการเก็บรักษาหัวเรื่อง: Fruits | ผลไม้สาระสังเขป: The objective of this investigations were study on quality changed and to develop postharvest technology for extending storage life and quality control of high bioflavonoids in fruits and vegetables. In this study, mulberry (Morus alba Linn.) and indian gooseberry (Phyllanthus emblica L.) were studied on the physiological properties, physical and chemical composition changed. In addition, postharvest technology to control quality of these plants were investigated. The results were presented as following below: The results presented that mulberry and indian gooseberry were plants which have low respiration rate and ethylene production. The respiration rate ranged from 0.09 to 0.13 mg CO2/kg-hr and 0.0036 to 0.0043 mg CO2/kg-hr and ethylene production ranged from 0.002 to 0.013 µl C2H4/kg-hr and 0.00030 to 0.00039 µl C2H4/kg-hr, respectively. During maturation of mulberry total titratable acidity (citric acid) and vitamin C content decreased while total soluble solid, pH values, phenolic content, flavonoids content (quercetin), anthocyanins and antioxidant activity increased. There was a slightly different in chemical composition of 4 cultivars of indian gooseberry. The best quality of postharvest mulberry was applied 1,000 ppb 1-MCP combined with polypropylene bag packaging which could be kept for 4 weeks at 5 ° C while the suitable postharvest technology of indian gooseberry was only polypropylene bag packaging which could be kept for 4 weeks at 15 ° C. สาระสังเขป: การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวเพื่อพัฒนาคุณภาพวัตถุดิบผักและผลไม้ที่มีสาร ไบโอฟลาโวนอยด์สูง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงคุณภาพและการพัฒนาเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว ที่มีประสิทธิภาพเพื่อยืดอายุการเก็บรักษา โดยใช้พืช 2 ชนิด คือ ผลหม่อนและมะขามป้อม ทำการศึกษาลักษณะทางสรีรวิทยา ศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ การเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบเคมี และศึกษาการใช้เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว ได้ผลการทดลองดังนี้ คือ. ผลหม่อนและมะขามป้อม มีอัตราการหายใจและการผลิตเอทิลีนอยู่ในระดับต่ำ คือ มีอัตราการหายใจอยู่ในช่วง 0.09 - 0.13 mg CO2 /kg-hr และ 0.0036 - 0.0043 mg CO2 /kg-hr มีการผลิตเอทิลีนอยู่ในช่วง0.002 - 0.013 µl C2H4 /kg-hr และ 0.00030 - 0.00039 µl C2H4 /kg-hr ตามลำดับ การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ และองค์ประกอบเคมี พบว่า เมื่อผลหม่อนมีอายุเพิ่มมากขึ้น ปริมาณกรดทั้งหมดที่ไทเทรตได้ในรูปของ กรดซิตริกและวิตามินซี มีค่าลดลง ปริมาณของแข็งทั้งหมดที่ละลายน้ำได้ ค่าความเป็นกรด-เบส ปริมาณสารฟีนอลิก ฟลาโวนอยด์ในรูปของเควอซิติน แอนโทไซยานิน และฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระ มีค่าเพิ่มขึ้น ส่วนมะขามป้อม 4 พันธุ์ มีค่าองค์ประกอบเคมีแตกต่างกันเล็กน้อย การใช้เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวเพื่อยืดอายุการเก็บรักษา พบว่า การเก็บรักษาผลหม่อนในถุงพอลิโพรพิลิน (PP) ร่วมกับการรมด้วยสาร 1 - MCP ความเข้มข้น 1,000 ppb สามารถยืดอายุการเก็บรักษาได้ 4 สัปดาห์ ที่อุณหภูมิ 5 ๐ ซ. ส่วนมะขามป้อม พบว่า การเก็บรักษาในถุงพอลิโพรพิลีน (PP) เพียงอย่างเดียว สามารถยืดอายุการเก็บรักษาได้ 4 สัปดาห์ ที่อุณหภูมิ 15 ๐ ซ. โดยที่ผลิตผลยังคงมีคุณภาพและเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค.
    Average rating: 0.0 (0 votes)
ชนิดของทรัพยากร Location Call number สถานะ Last seen บาร์โค้ด
Intellectual Property
Available 2022-07-01 IP00043

There are no comments on this title.

to post a comment.
    Thailand Institute of Scientific and Technological Research
    35 Mu 3 Technopolis, Tambon Khlong Ha, Amphoe Khlong Luang, Pathum Thani 12120
    ☎ 0 2577 9000, 0 2577 9300