อนุสิทธิบัตรเรื่อง เครื่องสกัดสาระสำคัญจากพืชด้วยคลื่นอัลตราโซนิกส์แบบหลายความถี่ = สิทธิบัตรเลขที่1401003233 Sittichai Kanchanasutha...[etal.]

ผู้แต่งร่วม: Boonruang, Arjin | Daungdaw, Saengdoen | Eamchotchawalit, Chutima | Jeerapan, Chalermchai | Kajsongkram, Tanwarat | Kanchanasutha, Sittichai | Lao-Auyporn, Pracha | Lao-ubol, Supranee | Ngernchuklin, Piyalak | ปิยาลัคน์ เงินชูกลิ่น | ประชา เหล่าอวยพร | สุปราณี เหล่าอุบล | ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต | กาจสงคราม, ธัญวรัตน์ | สิทธิชัย กาญจนสุธา | เฉลิมชัย จีระพันธุ์ | ดวงดาว, แสงเดือน | อาจินต์ บุญเรือง | Thailand Institute of Scientific and Technological Research
Language: Thai ชื่อชุด: Res. Proj. no. 54-05, Sub proj. no. 13ข้อมูลการพิมพ์: Pathumthani : Thailand Institute of Scientific and Technological Research, 2017 รายละเอียดตัวเล่ม: 92 p.ชื่อเรื่องอื่นๆ: โครงการงวิจัยเรื่อง:พัฒนาเครื่องสกัดสารสำคัญจากพืชสมุนไพรโดยใช้คลื่นอัลทราโซนิกส์ | ผลิตภัณฑ์และเทคโนโลยี:1.เครื่องสกัดสารสำคัญจากพืชสมุนไพรโดยคลื่นอัลตราโซนิกส์ การนำไปต่อยอด:1.สามารถนำเครื่องที่วิจัยได้นี้ มาใช้วิจัยกระบวนการสกัดสารด้วยวิธีใหม่, ก่อให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ และต่อยอดเทคโนโลยีจากงานวิจัยทางด้านยา, อาหารเสริมและเครื่องสำอางของสถาบันการศึกษา และหน่วยงานวิจัยของรัฐและเอกชน จุดเด่นของเทคโนโลยี/ ผลิตภัณฑ์:- ช่วยให้ระยะเวลาการสกัดสารสำคัญได้รวดเร็ว และเพิ่มปริมาณสารสำคัญได้มากขึ้นหัวเรื่อง: Development of ultrasonic machine | คลื่นอัลทราโซนิกส์ | พืชสมุนไพรสารสนเทศออนไลน์: Click here to access cover สาระสังเขป: In this study, ultrasonic machine for bioactive extraction have been presented. Four main parts have been developed including the development of piezoelectric ceramic for a source of ultrasonic wave (US), array of transducers, electrical circuit to control and to drive the electrical signal for a transducer and a body of ultrasonic machine. The ring type piezoelectric ceramics operating at the frequency about 28 and 40 kHz were fabricated. Such two ring-type piezoelectric ceramics were electrically attached together in series by aluminum housing to make the horn type probe. Then, the horn probes were clamped under the compressive force of 25 pounds. It obtained the resonance frequency in the range of 22-26 and 40-50 kHz as expected. Also, the disk piezoelectric ceramic were fabricated for working at the resonance frequency 60 kHz. The piezoelectric transducer is composed of housing of clamped two ring piezoelectrics, booster, and step horn probe to increase the intensity and amplitude of ultrasonic wave. The electronic driving part consists of push-pull oscillator worked together with IC and amplifying signal part to generate the frequency at 28, 48 and 60 kHz which can control the amplitude of the signal, the vibration of the wave. Moreover, a set of timer was installed to control the generating of the ultrasonic wave. The tank with the capacity of 50 liters and structure of the US machine were made of stainless steel preventing of corrosion and a plastic cover preventing volatile matter from the solutions. The extraction tank consists of releasing heat pipe, piezoelectric transducer at 60 kHz attached under the tank to generate US to the surface of the media and the horn probes at 28 and 40-50 kHz clamped by metallic arm over the tank to generate US to the bottom of the media. In addition, the safety system was provided to prevent current leakage in a range of milli- ampere. Finally, the ultrasonic machine developed by TISTR has been tested the extraction efficiency in bioactive components from ginger. Then, 100 grams of ginger flake was soaked in 200 ml ethanol. Two extraction methods were examined by using ultrasonic at 28 and 60 kHz simultaneously and without ultrasonic. It was found that the amount of bioactive compound extracted by two frequency US yielded 1.55 times higher than that of without ultrasonic. สาระสังเขป: ในงานวิจัยนี้ได้พัฒนาเครื่องสกัดสารสำคัญจากพืชสมุนไพรโดยคลื่นอัลตราโซนิกส์ ได้ดำเนินการวิจัยเป็น 4 ส่วน ได้แก่ การวิจัยทางด้านสารเพียโซอิเล็กทริกเซรามิก สำหรับนำไปประกอบเป็นชุดแทรนส์ดิวเซอร์เพื่อกำเนิดคลื่นอัลตราโซนิกส์, งานพัฒนาชุดแทรนส์ดิวเซอร์, การพัฒนาทางด้านวงจรไฟฟ้าสำหรับใช้ควบคุมและขับสัญญาณไฟฟ้าให้กับชุดแทรนส์ดิวเซอร์ และการพัฒนาตัวเครื่อง. ชิ้นงานเพียโซอิเล็กทริกชนิดวงแหวนสำหรับการใช้งานที่ความถี่ 28 และ 40 กิโลเฮิรตซ์ (kHz) ถูกผลิตขึ้น จากนั้น ได้นำเพียโซอิเล็กทริกวงแหวนสองชิ้นมาประกบกันโดยต่อกันแบบอนุกรมในแท่งอะลูมิเนียมเพื่อทำเป็นหัวฮอร์น ซึ่งนำไปทดสอบภายใต้สภาวะแรงกดในระดับทอร์ก (torque) 25 ปอนด์ ผลที่ได้ คือ ความถี่เรโซแนนซ์อยู่ในช่วง 22-26 และ 40-50 กิโลเฮิรตซ์ ดังที่คาดไว้ นอกจากนี้ ชิ้นงานเพียโซอิเล็กทริกชนิดแผ่นกลมทำงานที่ความถี่เรโซแนนซ์ 60 กิโลเฮิรตซ์ ถูกพัฒนาขึ้นเช่นกัน ส่วนการพัฒนาชุดแทรนส์ดิวเซอร์ประกอบด้วย ส่วนขันยึดชิ้นเพียโซอิเล็กทริก ส่วนหัวบูตเตอร์ และหัวฮอร์นแบบสเตป (Step) เพื่อเพิ่มความเข้มและแอมพลิจูดของคลื่นที่เกิดจากสารเพียโซอิเล็กทริกให้มากขึ้น ในด้านการพัฒนาวงจรไฟฟ้าประกอบด้วยวงจรออสซิลเลอร์เตอร์แบบพุต-พูล ทำงานร่วมกับตัวไอซีกำเนิดความถี่ และวงจรขยายสัญญาณไฟฟ้าเพื่อกำเนิดความถี่สัญญาณไฟฟ้าระดับความถี่ 28, 40 และ 60 กิโลเฮิรตซ์ สามารถควบคุมแอมพลิจูดของสัญญาณเพื่อควบคุมความแรงของการสั่นของคลื่นที่เกิดขึ้น และอุปกรณ์การตั้งเวลาการปล่อยคลื่นที่ระยะเวลาต่างๆ ส่วนการพัฒนาตัวเครื่องประกอบด้วยอ่างน้ำขนาดบรรจุ 50 ลิตร ส่วนโครงสร้างและอ่างน้ำทำด้วยวัสดุ สเตนเลส เพื่อป้องกันการสึกกร่อนจากสารเคมี ส่วนอ่างน้ำมีฝาครอบเพื่อป้องกัน ไอระเหย ภายในอ่างมีท่อระบายความร้อนภายในน้ำที่เกิดจากการส่งคลื่น ใต้อ่างได้นำชุดแทรนส์ ดิวเซอร์ที่ได้พัฒนาโดย วว. ความถี่ 60 กิโลเฮิรตซ์ มาติดตั้งเพื่อกำเนิดคลื่นจากใต้ภาชนะสู่ผิวน้ำ ส่วนเหนืออ่างน้ำมีแขนโลหะสำหรับจับยึดชุดแทรนส์ดิวเซอร์แบบโพรบความถี่ 28 กิโลเฮิรตซ์ และ ชุดแทรนส์ดิวเซอร์แบบหัวโพรบความถี่ 40-50 กิโลเฮิรตซ์ เพื่อกำเนิดคลื่นจากผิวน้ำด้านบนสู่ก้นภาชนะ โดยออกแบบให้มีระบบป้องกันไฟฟ้ารั่วไหลแก่ผู้ใช้งานด้วยการติดตั้งอุปกรณ์ตัดไฟกรณีเกิดการรั่วไหลของกระแสไฟในระดับมิลลิแอมป์. นอกจากนั้น ในโครงการวิจัยนี้ได้ทำการทดลองสกัดสารสำคัญจากขิงด้วยการแช่น้ำเอทานอลเพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องพบว่า การให้คลื่นที่ความถี่ 60 กิโลเอิรตซ์ที่เกิดจากชุดแทรนส์ดิวเซอร์ใต้อ่าง และ 28 กิโลเฮิรตซ์ ที่เกิดจากชุดแทรนส์ดิวเซอร์แบบหัวโพรบ สามารถเพิ่มปริมาณสารสำคัญได้มากกว่าวิธีการแช่แบบปกติ (ไม่ใช้คลื่นอัลตราโซนิกส์ในการสกัด) 1.55 เท่า.
    Average rating: 0.0 (0 votes)
ชนิดของทรัพยากร Location Call number สถานะ Last seen บาร์โค้ด
Intellectual Property
Available 2022-06-13 IP00011
Technical Book
Available 2019-02-12 RP2017/1721
Technical Book
Available 2019-02-12 RP2017/1721-2

There are no comments on this title.

to post a comment.

Click on an image to view it in the image viewer

    Thailand Institute of Scientific and Technological Research
    35 Mu 3 Technopolis, Tambon Khlong Ha, Amphoe Khlong Luang, Pathum Thani 12120
    ☎ 0 2577 9000, 0 2577 9300