การคัดเลือกและศึกษาคุณลักษณะทางพันธุกรรมของ Bacillus thuringiensis สายพันธุ์ที่มีความจำเพาะในการควบคุมเพลี้ยไฟฝ้ายในกล้วยไม้ = screening and genotypic characterization of Bacillus thuringiensis Strains specific to cotton thrips / Supavadee Chanapan...[etal.]

ผู้แต่งร่วม: Chanapan, Supavadee | Chanpaisaeng, Jariya | Deewathanawong, Rujira | Meeploy, Maneerat | Satjeenpong, Chutima | Suwanagul, Anawat | Tontiworachai, Borworn | จริยา จันทร์ไพแสง | สุภาวดี ชนะพาล | รุจิรา ดีวัฒนวงศ์ | บวร ตันติวรชัย | มณีรัตน์ มีพลอย | ชุติมา สาตรจีนพงษ์ | อนวัช สุวรรณกุล | Thailand Institute of Scientific and Technological Research
Language: Thai ชื่อชุด: Res. Proj. no. 54-04, Sub Proj. no. 1ข้อมูลการพิมพ์: Pathumthani : Thailand Institute of Scientific and Technological Research, 2016 รายละเอียดตัวเล่ม: 75 p.ชื่อเรื่องอื่นๆ: การคัดเลือกและศึกษาคุณลักษณะทางพันธุกรรมของ Bacillus thuringiensis สายพันธุ์ที่มีความจำเพาะในการควบคุมเพลี้ยไฟฝ้ายในกล้วยไม้หัวเรื่อง: Bacillus thuringiensis | Orchids flowers | Pests | Thrips | เพลี้ยไฟ | แมลงศัตรูพืช | กล้วยไม้สารสนเทศออนไลน์: Click here to access cover | Click here to access full-text สาระสังเขป: Thrips are one of the important pests of dendrobium orchids flowers. The current method of pest control is based on chemicals which can be harmful to both farmers and environment. To reduce chemical use, this study aimed to screen and genotypically characterize Bacillus thuringiensis strains specific to orchid thrips that could be developed for biocontrol application. Crystal protein genes were classified from 233 isolates of B. thuringiensis using polymerase chain reaction (PCR) method. The results showed that 99 out of 233 isolates contained different 8 genes encoding the crystal proteins that were cry1, cry2, cry3, gral-nem (cry5, cry12 and cry14), cry7+8, cry9, cry32 and vip3A genes. The biggest group consisting of 89 isolates belonged to cry1gene followed by cry2 gene group, with 19 isolates. To analyze the toxicity of B. thuringiensis on thrips, the isolates were divided into 9 groups which were cry1, cry2; cry2; cry1, cry3; cry1, cry2, cry9; cry9; cry32; cry7+8, gral-nem and vip3A. The different B. thuringiensis isolates cultured in LB medium plus salts and glucose for 72 or 96 hours were subjected to toxicity test with the first instar larvae of thrips. The toxicity test cages were kept at 25-30°C and the mortality of insect was recorded in the next 4 or 6 days. Among the isolates studied, the isolates that achived 50% or more larval mortality were JC213 (cry1, cry3), JC398 (vip3A), JC438, JC590 (cry1, cry2) and JC461 (cry9), with the mortality rate at 86.21, 50, 52.17, 63.33, and 84.21%, respectively.SDS-polyacrylamide gel electrophoresis (SDS-PAGE) was applied to investigate protein patterns from B. thuringiensis isolates used in the toxicity test. The results showed the major proteins ranged in size from 25 to 150 kilodaltons. สาระสังเขป: เพลี้ยไฟเป็นแมลงศัตรูที่สำคัญชนิดหนึ่งในการผลิตกล้วยไม้ วิธีการหลักที่ใช้ในการควบคุมเพลี้ยไฟ คือ การใช้สารเคมี ซึ่งเป็นอันตรายต่อทั้งเกษตรกรผู้ใช้และสิ่งแวดล้อม การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อคัดเลือกสายพันธุ์ Bacillus thuringiensis ที่มีความจำเพาะในการควบคุมเพลี้ยไฟในกล้วยไม้ เพื่อการพัฒนาการควบคุมเพลี้ยไฟในกล้วยไม้โดยชีววิธีในอนาคต.จากการตรวจสอบยีนสำหรับการสร้างผลึกโปรตีนในเชื้อ B. thuringiensis ทั้งหมด 233 ไอโซเลต ด้วย Polymerase Chain Reaction (PCR) พบว่า สามารถเพิ่มปริมาณดีเอ็นเอของยีน cry1, cry2, cry3, gral-nem (cry5, cry12 และ cry14), cry7+8, cry9, cry32 gene และ vip3A gene ทั้งหมด 8 ยีน ในตัวอย่างเชื้อ 99 ไอโซเลต โดย cry1gene เป็นกลุ่มที่มีการตรวจพบมากที่สุด คือ 89 ตัวอย่าง, รองลงมา คือ cry2 gene ตรวจพบใน 19 ตัวอย่าง, และสามารถจัดกลุ่มเชื้อ B. thuringiensis เพื่อใช้ในการทดสอบความเป็นพิษต่อเพลี้ยไฟได้ทั้งหมด 9 กลุ่ม ตามชนิดของยีนสำหรับผลึกโปรตีนที่ตรวจสอบ ได้แก่ cry1, cry2; cry2; cry1, cry3; cry1, cry2, cry9; cry9; cry32; cry7+8, gral-nem และ vip3A.จากการทดสอบความเป็นพิษของเชื้อ B. thuringiensis ต่อเพลี้ยไฟในกล้วยไม้ โดยเลี้ยงเชื้อในอาหารเลี้ยงเชื้อ LB ที่เติมเกลือและกลูโคส นาน 72 หรือ 96 ชั่วโมง แล้วนำเชื้อมาทดสอบกับ ตัวอ่อนเพลี้ยไฟระยะที่ 1 ที่อุณหภูมิ 25-30 องศาเซลเซียส ตรวจนับการมีชีวิตของเพลี้ยไฟหลังการทดสอบ 4-6 วันพบว่า เชื้อ B. thuringiensis ที่ทำให้อัตราการตายของตัวอ่อนเพลี้ยไฟมีค่ามากกว่าหรือเท่ากับ 50% มีจำนวน 5 ไอโซเลต ที่มียีนสำหรับการสร้างผลึกโปรตีน 5 ชนิด ได้แก่ JC213 (cry1, cry3), JC398 (vip3A), JC438, JC590 (cry1, cry2) และ JC461 (cry9) โดยมีค่าอัตราการตายของเพลี้ยไฟเท่ากับ 86.21, 50, 52.17, 63.33 และ 84.21 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ.จากการศึกษารูปแบบของโปรตีนจากเชื้อ B. thuringiensis ด้วยเทคนิคเอสดีเอสพอลิอะคริ-ลาไมด์เจลอิเล็กโทรฟอรีซีสพบว่า แถบโปรตีนหลักที่พบในเชื้อที่ใช้ในการทดสอบความเป็นพิษต่อเพลี้ยไฟ มีขนาด 27-150 กิโลดาลตัน.
    Average rating: 0.0 (0 votes)
ชนิดของทรัพยากร Location Call number สถานะ Last seen Copy No. บาร์โค้ด
General Book
วว. เทคโนธานี
Available 2018-08-31 1 RP2016/1666
General Book
วว. เทคโนธานี
Available 2018-08-31 2 RP2016/1666-2

There are no comments on this title.

to post a comment.
    Thailand Institute of Scientific and Technological Research
    35 Mu 3 Technopolis, Tambon Khlong Ha, Amphoe Khlong Luang, Pathum Thani 12120
    ☎ 0 2577 9000, 0 2577 9300