การวิจัยและพัฒนาสายพันธุ์และการปลูกมะเม่า (Antidesma spp.) ตะคร้อ (Schleichera oleosa (Lour.) Oken) และคอแลน (Nephelium hypoleucum Kurz) = research and varietal development and cultural practices of mamao (Antidesma spp.), Ceylon oak (Schleichera oleosa (Lour.) Oken) and korlan (Nephelium hypoleucum Kurz) / Cholticha Niwaspragrit...[et al.]

ผู้แต่งร่วม: Keawdoung, Montree | Munyanont, Maitree | Niwaspragrit, Cholticha | Ratanachomnong, Piyanee | Sukhaket, Wissarut | มนตรี แก้วดวง | ชลธิชา นิวาสประกฤติ | ไมตรี มัณยานนท์ | รัตนชำนอง, ปิยานี | วิศรุต สุขะเกตุ | Thailand Institute of Scientific and Technological Research
Language: Thai ชื่อชุด: Res. Proj. no. 54-02, Sub. Proj. no. 1 ; Rep. no. 1 (Final report)ข้อมูลการพิมพ์: Pathumthani : Thailand Institute of Scientific and Technological Research, 2016 รายละเอียดตัวเล่ม: 84 p.ชื่อเรื่องอื่นๆ: การวิจัยและพัฒนาสายพันธุ์และการปลูกมะเม่า (Antidesma spp.) ตะคร้อ (Schleichera oleosa (Lour.) Oken) และคอแลน (Nephelium hypoleucum Kurz)หัวเรื่อง: Antidesma thwaitesianum | Ceylon oak | Cultural practices | Korlan | Mamao | Nephelium hypoleucum | Phytochemicals | Schleichera oleosaสารสนเทศออนไลน์: Click here to access cover | Click here to access full-text สาระสังเขป: Mamao (Antidesma thwaitesianum Muell. Arg.), Ceylon Oak (Schleichera oleosa (Lour.) Oken) and Korlan (Nephelium hypoleucum Kurz) are indigenous fruit tree growing in many areas of Thailand, especially in the North and Northeastern regions. The fruits are mostly consumed fresh locally and are regarded as underutilized fruit crop. This research was carried out during 2013-2015 with the objectives to survey, collect germ plasm, and study physical properties and chemical properties of the fruits. All acquired information will be used as basic information in future research as well as in the promotion of commercial planting and utilization. Experimental plot of 41 clones of Mamao was established at Lam Takhong Research Station, Pak Chong District, Nakhon Ratchasima Province. GPS information of 35 and 39 clones of Ceylon oak and Korlan growing naturally were recorded. Results of the study on physical and phytochemical properties of the fruits indicated that physical characters of Mamao, infructescence weight, length, number of fruit per infructescence and fruit diameter varied from 15.9 - 66.8 g, 9.8 - 20.1 cm, 22.4 - 113.8 fruits and 7.61 -13.77 mm, respectively. Chemical contents in fruit extract were as follows: citric acid and tartaric acid 1.47 - 11.95% and 1.24-5.36%, respectively, fructose and glucose 9.71 - 8.33% and 8.40 - 45.10%, respectively. Tannin, total phenolic and flavonoid contents were 118.62 - 419.44 mg tannic acid/g extract, 119.84 - 397.91 mg gallic acid/g extract and 14.58 - 29.06 mg quercetin/g extract, respectively. Anti oxidative properties IC50 were 2.186 - 14.071 mg/ml. In Ceylon oak, fruit weight, width and length were 2.70 - 8.76 g/fruit, 15.4 - 26.8 mm. and 19.6 - 35.4 mm, respectively. The fruits contained 38.0 - 52.8%, 14.4 - 28.4% seed and 23.6 - 41.5% pulp by weight. Organic acid contents in Ceylon fruit extract, lactic acid, citric acid, oxalic acid, tartaric acid and formic acid were 10.56 - 87.20%, 0.62 - 25.76%, 0.01 - 0.09%, 0.04 - 0.48% and 0.61 - 3.34%, respectively. Sugar contents, fructose, mannose, sucrose and glucose were 4.52 - 48.78%, 4.24 - 23.36%, 2.24 - 21.08% and 1.40 - 9.64%, respectively. Total phenolic contents, flavonoid contents and anti oxidative properties IC50 were 6.17 - 19.89 mg gallic acid/g extract, 1.55 - 4.35 mg quercetin/g extract and 18.82 - 63.76 mg/ml, respectively. In Korlan, fruit weight, width and length were 3.59-8.41 g/fruit, 15.26 - 21.84 mm and 23.22 - 34.96 mm, respectively. The fruits contained 29.72 - 48.44%, 13.6 - 35.7% seed and 27.33 - 55.09% pulp by weight. Organic acid and sugar contents in Korlan fruits extract, lactic acid, citric acid, fructose, glucose and sucrose were 2.03 - 6.45%, 0.34 - 3.97%, 9.93 - 34.12%, 8.67 - 29.82% and 5.79 - 36.78%, respectively. Total phenolic contents, flavonoid contents and anti oxidative properties IC50 were 161.75 - 640.85 mg gallic acid/g extract, 18.23 - 76.97 mg quercetin/g extract and 15.27 - 39.41 mg/ml, respectively. It was concluded that physical and chemical properties of Mamao, Ceylon oak and Korlan fruits varied depending on fruit species and varieties.สาระสังเขป: มะเม่า (Antidesma thwaitesianum Muell. Arg.), ตะคร้อ (Schleichera oleosa (Lour.) Oken) และคอแลน (Nephelium hypoleucum Kurz) เป็นไม้ผลพื้นบ้านพบขึ้นอยู่ตามธรรมชาติในหลายพื้นที่ของประเทศไทย โดยเฉพาะในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีการบริโภคผลในท้องถิ่นที่ขึ้นอยู่และจัดเป็นชนิดของไม้ผลที่มีการนำมาใช้ประโยชน์ต่ำกว่าศักยภาพที่มีอยู่ วว. ได้ดำเนินงานวิจัยในปี ค.ศ. 2013-2015 โดยมีวัตถุประสงค์ในการสำรวจรวบรวมสายพันธุ์ไม้ทั้ง 3 ชนิด ศึกษาลักษณะทางกายภาพ รวมทั้งองค์ประกอบทางเคมีของผล เพื่อนำไปใช้ประโยชน์เป็นข้อมูลพื้นฐานในการวิจัย ส่งเสริมการปลูกและการใช้ประโยชน์ในอนาคต ผลการสำรวจได้รวบรวมสายพันธุ์มะเม่ารวม 41 สายต้น นำมาปลูกในแปลงศึกษาพันธุ์ที่สถานีวิจัยลำตะคอง อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา ในส่วนของตะคร้อและคอแลนได้บันทึกข้อมูลตำแหน่งที่ขึ้นอยู่ตามธรรมชาติจำนวน 35 และ 39 สายต้น ตามลำดับ. การศึกษาลักษณะทางกายภาพและองค์ประกอบทางเคมีของผล พบว่า มะเม่ามีน้ำหนักช่อผลแต่ละช่อประมาณ 15.9-66.8 กรัม, ความยาวช่อประมาณ 9.8-20.1 เซนติเมตร, จำนวนผลต่อช่อระหว่าง 22.4-113.8, ผล มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของผลระหว่าง 7.61-13.77 มิลลิเมตร คุณสมบัติทางเคมี ได้แก่ กรดอินทรีย์, น้ำตาล, สารฟินอลิกทั้งหมด, สารฟลาโวนอยด์ และฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ในมะเม่ามีกรดซิตริกและทาร์ทาริกร้อยละ 1.47-11.95 และ 1.24-5.36 ตามลำดับ น้ำตาลฟรักโทสและกลูโคสร้อยละ 9.71-48.33 และ 8.40-45.10 ตามลำดับ ปริมาณแทนนิน 118.62-419.44 มิลลิกรัมของกรดแทนนิกต่อกรัมของสารสกัด, สารฟินอลิกทั้งหมด 119.84-397.91 มิลลิกรัมของกรดแกลลิกต่อกรัมของสารสกัด, สารฟลาโวนอยด์ 14.58-29.06 มิลลิกรัมของเควอซิตินต่อกรัมของสารสกัด และมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ IC50 2.186-14.071 มิลลิกรัม ต่อมิลลิลิตร. ตะคร้อมีความกว้างผลระหว่าง 15.4-26.8 มิลลิเมตร, ความสูงของผลระหว่าง 19.6-35.4 มิลลิเมตร, น้ำหนักผลระหว่าง 2.7-8.76 กรัมต่อผล, เปอร์เซ็นต์เปลือก 38.0-52.8 โดยน้ำหนัก, เปอร์เซ็นต์เมล็ด 14.4-28.4 โดยน้ำหนัก และเปอร์เซ็นต์เนื้อ 23.6-41.5 โดยน้ำหนัก คุณสมบัติทางเคมีตะคร้อมีกรดแล็กติก, กรดซิตริก, กรดออกซาลิก, กรดทาร์ทาริก และกรดฟอร์มิก มีกรดแล็กติกสูงที่สุด มีกรดแต่ละชนิดร้อยละ 10.56-87.20, 0.62-25.76, 0.01-0.09, 0.04-0.48 และ 0.61-3.34 ตามลำดับ มีน้ำตาล 4 ชนิด ด้วยกัน คือ ฟรักโทส, แมนโนส, ซูโครส และกลูโคส ร้อยละ 4.52-48.78, 4.24-23.36, 2.24-21.08 และ 1.40-9.64 ตามลำดับ ปริมาณสารฟินอลิก ทั้งหมด 6.17-19.89 มิลลิกรัมของกรดแกลลิกต่อกรัมของสารสกัด, สารฟลาโวนอยด์ 1.55-4.35 มิลลิกรัมของเควอซิตินต่อกรัมของสารสกัด และฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ IC50 18.82-63.76 มิลลิกรัมต่อ มิลลิลิตร. คอแลนมีความกว้างของผลระหว่าง 15.26-21-84 มิลลิเมตร, ความสูงผลระหว่าง 23.22-34.96 มิลลิเมตร, น้ำหนักผลระหว่าง 3.59-8.41 กรัมต่อผล, เปอร์เซ็นต์เปลือก 29.72-48.44 โดยน้ำหนัก, เปอร์เซ็นต์เมล็ด 13.6-35.7 โดยน้ำหนัก และเปอร์เซ็นต์เนื้อ 27.73-55.09 โดยน้ำหนัก คุณสมบัติทางเคมีคอแลนมีกรดแล็กติกและกรดซิตริก ร้อยละ 2.03-6.45 และ 0.34-3.97 ตามลำดับ น้ำตาลฟรักโทส กลูโคสและซูโครสร้อยละ 9.93-34.12, 8.67-29.82 และ 5.79-36.78 ตามลำดับ ปริมาณสารฟินอลิกทั้งหมด 161.75-640.85 มิลลิกรัมของกรดแกลลิกต่อกรัมของสารสกัด, สารฟลาโวนอยด์ 18.23-76.97 มิลลิกรัมของเควอซิตินต่อกรัมของสารสกัด และฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ IC50 15.27-39.41 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร ผลการศึกษาสรุปได้ว่าผลไม้พื้นบ้าน มะเม่า, ตะคร้อและคอแลนมีลักษณะทางกายภาพและเคมีแตกต่างกันตามแต่ชนิดและสายพันธุ์ของพืช.
    Average rating: 0.0 (0 votes)
ชนิดของทรัพยากร Location Call number Unit สถานะ Last seen Copy No. บาร์โค้ด
General Book
วว. เทคโนธานี
2016 Available 2018-08-31 1 RP2016/1668

There are no comments on this title.

to post a comment.
    Thailand Institute of Scientific and Technological Research
    35 Mu 3 Technopolis, Tambon Khlong Ha, Amphoe Khlong Luang, Pathum Thani 12120
    ☎ 0 2577 9000, 0 2577 9300