วิจัยและพัฒนาการผลิตน้ำมันเพื่อเป็นพลังงานจากสาหร่ายที่มีศักยภาพ = Research and development of biofuel for energy from potential algal strain / Sophon Sirisattha...[et al.]

ผู้แต่งร่วม: Charuchinda, Pairpilin | Dawut, Keatisuda | Khumyount, Natas | Kunprom, Rungnapa | Kusolkumbot, Pokchut | Sirisattha, Sophon | Vachiraroj, Nuttapon | รุ่งนภา กันพร้อม | กุศลกรรมบถ, ปกฉัตร | ณธรรศ คำยนต์ | แพรไพลิน จารุจินดา | เกียรติสุดา ดาวุธ | ณัฐพล วชิรโรจน์ | สาหร่ายน้ำมัน | โสภณ สิริศรัทธา | Thailand Institute of Scientific and Technological Research
Language: Thai ชื่อชุด: Res. Proj. no. 55-10ข้อมูลการพิมพ์: Pathumthani : Thailand Institute of Scientific and Technological Research, 2016 รายละเอียดตัวเล่ม: 177 p.ชื่อเรื่องอื่นๆ: วิจัยและพัฒนาการผลิตน้ำมันเพื่อเป็นพลังงานจากสาหร่ายที่มีศักยภาพ (รายงานฉบับที่2)หัวเรื่อง: Algae | Biofuels | Bioreactor | Genetic engineering | Photoautotropic cultivation | พลังงานจากสาหร่าย | สาหร่ายสารสนเทศออนไลน์: Click here to access full-text สาระสังเขป: Nowaday, We are facing with 2 global crisis. First, Energy crisis which has an influence on economic and national security. Secondly, Environmental crisis from green house gas which produced by burning of fossil fuel. The both of these situations will be focused and solved by large scale of algae oil production by using photoautotropic cultivation. Under this cultivate, algae will fix carbondioxide and transform to starch protein oil or other biomolecule. Therefore, algae technology become the best alternative choice or Thailand energy security. TISTR has a huge experience on algae morethan 2 decade and working under the network of UNESCO. In our collection center, morethan 1,000 of algae strains were collected, preserved and researched. By using the multidisplinary of technology such as Genetic/Metabolic engineering, Synthetic biology and photobioreactor. Our result reveal that the concept and methodology compose of genetic and metabolic engineering using synthetic gene transfer for increasing the oil production performance. As well as manage and manipulate of lipid synthesis employ by the ACP gene transfer. Moreover the application on modified the transporter gene from marine algae cloning into fresh water algae type for enhancing the ability of marine water usage. Finally, we has developed The ultiphotobioreactor for serving all of indoor and outdoor GMOs research for bioenergy.สาระสังเขป: ด้วยวิกฤตการณ์ระดับโลกที่มนุษย์กำลังเผชิญใน 2 ด้าน คือ 1. วิกฤตการณ์ด้านพลังงาน ซึ่งเป็นวิกฤตการณ์เชิงเศรษฐศาสตร์และความมั่นคงของประเทศ และ 2. วิกฤตการณ์ทางด้านสภาวะแวดล้อมซึ่งเกิดจากภาวะโลกร้อนจากก๊าซเรือนกระจกโดยมีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิลเป็นสาเหตุหลัก นำไปสู่การแสวงหาทางเลือกในการแก้ไขที่เหมาะสมของประเทศต่างๆ ทั่วโลก. หนึ่งในแนวทางการแก้ไขวิกฤตการณ์ทั้ง 2 ด้าน ในเวลาเดียวกันที่กำลังได้รับ ความสนใจอย่างสูงขณะนี้ คือ การผลิตน้ำมันจากสาหร่ายภายใต้สภาพการเพาะเลี้ยงแบบ Photoautotrophic ด้วยสภาพการเพาะเลี้ยงดังกล่าว สาหร่ายจะตรึงก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากสภาพแวดล้อมสร้างเป็นอาหารสะสมในเซลล์ (แป้ง, โปรตีน, น้ำมัน และสารชีวโมเลกุลอื่นๆ) โดย กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง และด้วยเหตุนี้ทำให้สาหร่ายเป็นแหล่งพลังงานทดแทนทางชีวภาพที่จะก้าวเข้ามาเป็นพลังงานทางเลือกที่สำคัญและเสริมสร้างความมั่นคงทางพลังงานให้กับประเทศไทย. สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ซึ่งเป็นองค์กรที่ทำการวิจัยเกี่ยวเนื่องกับสาหร่ายมาเป็นระยะเวลานานกว่า 2 ทศวรรษ อีกทั้งเป็นส่วนหนึ่งของศูนย์เก็บรักษาสายพันธุ์จุลินทรีย์. เครือข่ายของ UNESCO (Bangkok MIRCEN) มีการเก็บรักษาสายพันธุ์ของสาหร่ายขนาดเล็ก (Microalgae) จำนวนมากที่มีศักยภาพในการใช้เป็นต้นทุนทรัพยากรสาหร่ายเพื่อผลิตน้ำมันและผลิตภัณฑ์ร่วมอื่นๆ จากคลังสาหร่ายของ วว. ซึ่งมีการดำเนินการรวบรวม, การวิจัย, การติดตาม ศักยภาพและคัดกรองชนิดสายพันธุ์ต่างๆ กว่า 1,000 สายพันธุ์ อยู่อย่างต่อเนื่อง และจากการวิจัยและพัฒนาการปรับปรุงสายพันธุ์ด้วยการผสมผสานกันของเทคโนโลยีทางด้านพันธุวิศวกรรม (genetics engineering/metabolics engineering), เทคโนโลยียีนสังเคราะห์ (synthetic gene technology) และการเพาะเลี้ยงในโฟโตไบโอรีแอกเตอร์ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญในการพัฒนาพลังงานจากสาหร่าย (algal biofuel) แสดงให้เห็นถึงแนวคิดและวิธีการปรับปรุงพัฒนาสาหร่ายน้ำมันให้มีศักยภาพในการผลิตน้ำมันที่เพิ่มขึ้นและมีความทนทานต่อสภาวะแวดล้อม เพื่อรองรับการผลิตกลางแจ้งขนาดใหญ่ในอนาคต ซึ่งประกอบไปด้วย การวิจัยและพัฒนาการผลิตน้ำมันจากสาหร่าย ขนาดเล็กโดยเทคโนโลยีพันธุวิศวกรรมด้วยการถ่ายยีนสังเคราะห์ (synthetic genes), การวิจัยและพัฒนาการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตน้ำมันจากการถ่ายยีน ACP (acyl carrier protein synthetase) ในกระบวนการสังเคราะห์ไขมันในสาหร่ายขนาดเล็ก, การวิจัยและพัฒนาการถ่ายยีน สังเคราะห์ต้านทานเค็มในสายพันธุ์สาหร่ายน้ำจืดเพื่อการประยุกต์ใช้น้ำทะเลในการผลิตน้ำมันรวมทั้งการวิจัยและพัฒนาสภาวะที่เหมาะสมในการผลิตน้ำมันของสาหร่ายขนาดเล็กในถังปฏิกรณ์ชีวภาพ (photobioreactor; PBR) ในระดับห้องปฏิบัติการและสภาวะกลางแจ้ง เพื่อรองรับสาหร่ายที่ได้รับการตัดต่อทางพันธุวิศวกรรมในอนาคต.
    Average rating: 0.0 (0 votes)
ชนิดของทรัพยากร Location Call number สถานะ Last seen Copy No. บาร์โค้ด
General Book
วว. เทคโนธานี
Available 2018-08-31 1 RP2016/1630
General Book
วว. เทคโนธานี
Available 2018-08-31 2 RP2016/1630-2

There are no comments on this title.

to post a comment.
    Thailand Institute of Scientific and Technological Research
    35 Mu 3 Technopolis, Tambon Khlong Ha, Amphoe Khlong Luang, Pathum Thani 12120
    ☎ 0 2577 9000, 0 2577 9300