การวิจัยและพัฒนาสายพันธุ์เห็ดโคนญี่ปุ่นเพื่อเพาะในเขตพื้นที่ราบ = development of yanagi mutsutake strain with gamma radiation for lowland cultivation / Tanapak Inyod...[et al.]

ผู้แต่งร่วม: Inyod, Tanapak | Kumlung, Tantima | Piemvaree, Supatra | Pramoj na Ayudthya, Sawithree | Rattanathawornkiti, Kanlaya | Sasomsub, Wantana | ธนภัทร เติมอารมย์ | สุพัตรา เปี่ยมวารี | ตันติมา กำลัง | สาวิตรี ปราโมช ณ อยุธยา | กัลยา รัตนถาวรกิติ | วันทนา สะสมทรัพย์ | ธนภักษ์ อินยอด | Thailand Institute of Scientific and Technological Research
Language: Thai ชื่อชุด: Res. Proj. no. 56-04, Sub Proj. no. 3 ; Rep. no. 1 (Final report)ข้อมูลการพิมพ์: Pathumthani : Thailand Institute of Scientific and Technological Research, 2016 รายละเอียดตัวเล่ม: ญ, 103 p.ชื่อเรื่องอื่นๆ: การวิจัยและพัฒนาสายพันธุ์เห็ดโคนญี่ปุ่นเพื่อเพาะในเขตพื้นที่ราบหัวเรื่อง: Gamma radiation | Mushrooms | Yanagi mutsutakeสารสนเทศออนไลน์: Click here to access cover | Click here to access full-text สาระสังเขป: The research and development of Yanagi Mutsutake strains with gamma radiation for lowland cultivation was conducted using five of ten varieties of Yanagi Mutsutake mushroom (Y1, Y2, YL, YA and YS), which have high potential and yield, in the experiments. All of five selected-strains (parent mycelia) were irradiated by using radiation Gamma cell 220 at different levels (0, 10, 25 and 50 Krad). Irradiated samples were incubated at 40 °C. New mycelium, which was generated from the parent mycelia, was expected to be mutated strains by gamma radiation and resistant to heat. All of those 186 samples/isolates were isolated and kept for further experiments (growth rate, productivity, nutritional values, mineral nutrient contents, and basic morphology). The experiment on mycelium growth rate on mushroom spawn was found that the irradiated strains were higher than those of the parent strains comparatively (average 2.4 and 2.1 cm/week, respectively). Similarly, the result of productivity showed that the irradiated strains were higher than that of the parent strains (average 14-30 and 12-16 g/mushroom spawn/crop, respectively). Moreover, the mushroom's nutritional values analysis showed that irradiated strains were higher than those of the parent strains omparatively. Mushroom's size (pileups and stalk) showed that the irradiated stains were bigger than the parent strains. From this experiment, two of 186 mutant strains (YSC3 and YSC12 obtained from gamma radiation at 10 Krad) and3 strains: Y2/1C1, Y2/2C3 and YSC12 obtained from gamma radiation at 25 Krad were identified as new variety of Yanagi Mutsutake which was resistant to heat and had higher yield.สาระสังเขป: การศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนาสายพันธุ์เห็ดโคนญี่ปุ่นด้วยรังสีแกมมา เพื่อเพาะในเขตพื้นที่ราบ ได้ทำการรวบรวมสายพันธุ์เห็ดโคนญี่ปุ่น เพื่อใช้สำหรับทดสอบ จ านวน 10 สายพันธุ์ ในจำนวนนี้ได้คัดเลือกสายพันธุ์เห็ดที่มีศักยภาพ ซึ่งให้ผลผลิตสูงได้ 5 สายพันธุ์ (สายพันธุ์ ย1, ย2, ยอ, ยผ และ ยข) เห็ดโคนญี่ปุ่นทั้ง 5 สายพันธุ์ ดังกล่าวได้นำไปปรับปรุงพันธุ์โดยกระบวนการฉายรังสี ด้วยเครื่องฉายรังสี Gamma cell 220 ที่ระดับปริมาณรังสีต่างๆ (0, 10, 25 และ 50 กิโลแรด) เชื้อเห็ดที่ผ่านการฉายรังสีและเจริญเป็นเส้นใยใหม่และมีชีวิตรอดหลังจากบ่มไว้ที่อุณหภูมิ 40 องศาเซลเซียส คาดว่าจะกลายพันธุ์ด้วยรังสีแกมมาและทนความร้อนได้ และได้ท าการแยกเชื้อเห็ดดังกล่าวให้บริสุทธิ์ได้ 186 ตัวอย่าง (isolate) สำหรับใช้ทดสอบ อัตราการเจริญเติบโตในก้อนเชื้อเห็ด, ผลผลิต, คุณค่าทางโภชนาการและแร่ธาตุอาหารที่เป็นองค์ประกอบของเห็ดและลักษณะทางสัณฐานวิทยาเบื้องต้นต่อไปผลการศึกษาพบว่า อัตราการเจริญเติบโตในก้อนเชื้อเห็ดของตัวอย่างเห็ดที่ผ่าน การฉายรังสีมีอัตราการเจริญของเส้นใยเฉลี่ย 2.4 เซนติเมตรต่อสัปดาห์ ซึ่งสูงกว่าของสายพันธุ์แม่ (2.1 เซนติเมตรต่อสัปดาห์) ตัวอย่างเห็ดที่ผ่านการฉายรังสีให้ผลผลิตโดยเฉลี่ย 14-30 กรัมต่อก้อนเห็ดต่อรอบ ซึ่งสูงกว่าเห็ดสายพันธุ์แม่ซึ่งให้ผลผลิต 12-16 กรัมต่อก้อนเห็ดต่อรอบ นอกจากนี้ยังพบว่า ตัวอย่างเห็ดที่ผ่านการฉายรังสีให้คุณค่าทางโภชนาการสูงกว่าเห็ดสายพันธุ์แม่ การศึกษาลักษณะทางสัณฐานวิทยาเบื้องต้น พบว่า ขนาดดอกและก้านดอกของเห็ดจากสายพันธุ์ที่ผ่านการฉายรังสี มีขนาดใหญ่กว่าสายพันธุ์แม่ ในจำนวนเห็ดที่ผ่านการฉายรังสี 186 ตัวอย่าง พบว่า เป็นเห็ดโคนญี่ปุ่นสายพันธุ์ใหม่จ านวน 2 สายพันธุ์ จากการฉายรังสีที่ปริมาณ 10 กิโลแรด ได้แก่ สายพันธุ์ยานางิ เข้ม C3 และ C12 และ 3 สายพันธุ์ ได้แก่ สายพันธุ์ ยานางิ2/1C1, ยานางิ 2/2C3 และยานางิเข้ม C12 ที่ผ่านการฉายรังสีปริมาณ 25 กิโลแรด ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่ทนร้อนและให้ผลผลิตสูง
    Average rating: 0.0 (0 votes)
ชนิดของทรัพยากร Location Call number สถานะ Last seen Copy No. บาร์โค้ด
General Book
วว. เทคโนธานี
Available 2018-08-31 1 2016/1605
General Book
วว. เทคโนธานี
Available 2018-08-31 2 2016/1605-2

There are no comments on this title.

to post a comment.

Click on an image to view it in the image viewer

    Thailand Institute of Scientific and Technological Research
    35 Mu 3 Technopolis, Tambon Khlong Ha, Amphoe Khlong Luang, Pathum Thani 12120
    ☎ 0 2577 9000, 0 2577 9300