การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการกำจัดสีและเกลือทีดีเอสในน้ำเสียเอทานอลโดยใช้ระบบดูดซับ = research and development of decolorization and total dissolved solids removal of ethanol wastewater by adsorption / Jarunrat Lekrungroengkij...[et al.]

ผู้แต่งร่วม: Balan, Ratthapong | Lekrungroengkij, Jarunrat | Panpikul, Datchanee | Pitaksin, Winya | Ploypatarapinyo, Preecha | Sappinunt, Tawee | จรัลรัตน์ เล็กรุ่งเรืองกิจ | รัฐพงษ์ บาลัน | ปรีชา พลอยภัทรภิญโญ | พานพิกุล, ดรรชณี | พิทักษ์สิน, วิญญา | ทวี สัปปินันท์ | Thailand Institute of Scientific and Technological Research
Language: Thai ชื่อชุด: Res. Proj. no. 55-08, Sub Proj. no. 5 ; Rep. no. 1 (Final report)ข้อมูลการพิมพ์: Pathumthani : Thailand Institute of Scientific and Technological Research, 2016 รายละเอียดตัวเล่ม: ฌ, 121 p.ชื่อเรื่องอื่นๆ: การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการกำจัดสีและเกลือทีดีเอสในน้ำเสียเอทานอลโดยใช้ระบบดูดซับหัวเรื่อง: Adsorption | Decolorization | Ethanol | Total dissolved solid | Waste waterสารสนเทศออนไลน์: Click here to access cover | Click here to access full-text สาระสังเขป: This research aimed to study the removal of colour and TDS (total dissolved solid) of anaerobically treated spent wash using batch adsorption and continuous column adsorption process. Result from the experiment indicates that the optimum operating conditions for batch process adsorption were as follows : mixing speed of magnetic stirrer was 400 rpm, contact time for adsorption was 1 hour, optimal pH 3 (acidic condition up to pH 2) and Fruendlich isotherm equation of 7 adsorbents i.e. powder activated carbon, granular activated carbon, zeolite 3A, zeolite 4A, zeolite 5A, bagasse fly ash and bagasse boiler ash. From the continuous experiment using column reactor packing inside with total 0.90 metre height of adsorbent, it was found that the anaerobically treated spent wash needed a preliminarily treated by Fenton's reaction using optimal dosage of 1.5 ml-35% H2O2/ l-wastewater (15 mmol/l) and 0.278 g. FeSO47H2O/l-wastewater (1 mmol/l). Fenton's process could reduced colour from 1,123 to 188 Abs350 nm or equivalent to 83% and TDS from 131 to 88 g/l or equivalent to 33%. The supernatant from Fenton's process was diluted 10 times before being treated by column adsorption due to the column adsorption prefered low colour concentration of wastewater. From the experiment using granular activated carbon, zeolite 3A, zeolite 4A and zeolite 5A with the hydraulic loading of 0.7 gpm/ft2 and cumulative treated water of 3.6 l, the colour removal efficiency were 53.19, 36.70, 29.26 and 41.49 % and the TDS were 13.63, 2.65, 1.40 and 10.01 % respectively. All in all, it was recommended that the column adsorption pilot plant should be conducted to confirm the data for commercialized application.สาระสังเขป: งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาการกำจัดสีและเกลือทีดีเอสในน้ำกากส่าที่ผ่านระบบหมักไร้อากาศมาแล้วโดยใช้ระบบดูดซับแบบกะและระบบดูดซับแบบต่อเนื่อง โดยใช้คอลัมน์ ผลการทดลองแบบกะพบว่า สภาวะแวดล้อมที่เหมาะสมในการดูดซับ ได้แก่ ความเร็วในการกวนโดยเครื่องกวนแม่เหล็กไฟฟ้าที่ความเร็วรอบ 400 รอบต่อนาที ระยะเวลาในการดูดซับของสารดูดซับ 1 ชั่วโมง ค่าความเป็นกรด-เบส ที่เหมาะสมมีค่าเท่ากับ 3 (มาทางกรดจนถึง 2) และน าเสนอสมการไอโซเทิร์ม การดูดซับแบบฟรุนดริชของสารดูดซับ 7 ชนิด ได้แก่ ถ่านกัมมันต์ผง, ถ่านกัมมันต์เม็ด, ซีโอไลต์ 3A, ซีโอไลต์ 4A, ซีโอไลต์ 5A, เถ้าลอยชานอ้อย และขี้เถ้าชานอ้อย ผลการทดลองแบบต่อเนื่องโดยใช้ถังปฏิกรณ์แบบคอลัมน์ภายในบรรจุด้วยชั้นสารดูดซับความสูงรวม 0.90 เมตร พบว่า ต้องทำการบำบัด ขั้นต้นก่อนโดยใช้ปฏิกิริยาเฟนตัน มีปริมาณสารเคมีพอเหมาะ ได้แก่ ไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์ชนิด ร้อยละ 35 ปริมาณ 1.5 มิลลิลิตรต่อลิตร (เท่ากับ 15 มิลลิโมลต่อลิตร) และเฟอร์รัสซัลเฟตในรูปของ FeSO47H2O ปริมาณ 0.278 กรัมต่อลิตร (เท่ากับ 1 มิลลิโมลต่อลิตร) ระบบเฟนตันสามารถลดสีได้จาก 1,123 หน่วย Abs350 nm เหลือเฉลี่ย 188 หน่วย คิดเป็นประสิทธิภาพการบำบัดสีร้อยละ 83 และสามารถลดเกลือทีดีเอสได้จาก 131 เหลือ 88 กรัมต่อลิตร คิดเป็นประสิทธิภาพการก าจัดเกลือทีดีเอสร้อยละ 33 น้ำเสียส่วนใสจากระบบเฟนตันนำมาเจือจางด้วยน้ำ 10 เท่าก่อนนำไปบำบัดด้วยระบบคอลัมน์เนื่องจากระบบดูดซับแบบสัมผัสหรือคอลัมน์จะมีประสิทธิภาพดีที่ค่าความเข้มข้นสีต่ำ ผลการทดลองระบบดูดซับแบบต่อเนื่อง โดยใช้สารดูดซับ 4 ชนิด ได้แก่ ถ่านกัมมันต์เม็ด, ซีโอไลต์ 3A, ซีโอไลต์ 4A และซีโอไลต์ 5A โดยเดินระบบที่ค่าภาระบรรทุกทางชลศาสตร์ 0.7 gpm/ft2 และที่ค่าอัตราน้ำออกสะสม 3.6 ลิตร ระบบคอลัมน์มีประสิทธิภาพการกำจัดสีร้อยละ 53.19, 36.70, 29.26 และ 41.49 และประสิทธิภาพการกำจัดเกลือทีดีเอสร้อยละ 13.63, 2.65, 1.40 และ 10.01 ตามลำดับ ท้ายสุดผู้วิจัยได้เสนอแนะให้ดำเนินการวิจัยระบบดูดซับแบบคอลัมน์ในระดับโรงงานนำ ทางเพื่อให้ได้ข้อมูลสำหรับการพัฒนาไปสู่การใช้งานในเชิงพาณิชย์ต่อไป
    Average rating: 0.0 (0 votes)
ชนิดของทรัพยากร Location Call number Unit สถานะ Last seen Copy No. บาร์โค้ด
General Book
วว. เทคโนธานี
2016 Available 2018-08-31 1 RP2016/1602
General Book
วว. เทคโนธานี
2016 Available 2018-08-31 2 2016/1602-2

There are no comments on this title.

to post a comment.
    Thailand Institute of Scientific and Technological Research
    35 Mu 3 Technopolis, Tambon Khlong Ha, Amphoe Khlong Luang, Pathum Thani 12120
    ☎ 0 2577 9000, 0 2577 9300