การศึกษากระบวนการผลิตเยื่อกระดาษจากต้นสบู่ดำ = Study on Jatropha curcas Linn. pulping / Romani Wangdeethum...[et al.]
ผู้แต่งร่วม: Anannukul, Phaisak | Charoenpondpithak, Kittiphon | Singkumma, Yutanan | Wangdeethum, Romani | เจริญพรพิทักษ์, กิตติภณ | สิงห์คำมา, ยุทธนันท์ | รมณีย์ หวังดีธรรม | ไพศักดิ์ อนันต์นุกูล | Thailand Institute of Scientific and Technological Research
Language: Thai ชื่อชุด: Res. Proj. no. 50-07, Sub. Proj. no. 9ข้อมูลการพิมพ์: Bangkok : Thailand Institute of Scientific and Technological Research, 2011 ชื่อเรื่องอื่นๆ: การศึกษากระบวนการผลิตเยื่อกระดาษจากต้นสบู่ดำหัวเรื่อง: Jatropha curcas | Pulping process | เยื่อกระดาษ | สบู่ดำสารสนเทศออนไลน์: Click here to access cover | Click here to access full-text สาระสังเขป: Pulping of branch, stalk, and mixture of branch and stalk of Jatropha curcas Linn. of 1 and 2 years was investigated. The results of the chemical compositions indicated that the average contents of ash, lignin and pentosan in Jatropha curcas Linn. were 9.4, 16.7 and 17.1%, respectively. The high solubility in hot water (14.2-23.9%), alcohol-benzene (3.8-4.5%) and 1% sodium hydroxide solution (34.6-45.5%) suggested the presence of high contents of inorganic compounds and also indicated easy access and degradation of cell wall. For pulp-making, Jatropha raw materials were digested with soda-anthraquinone pulping process with various alkali charges and then, CEPEP bleached. Then, the physical properties of both unbleached and bleached Jatropha pulp were evaluated for brightness, opacity, tensile index, burst index and tear index. The results showed that the optimal soda-anthraquinone pulping conditions were 24% NaOH and 0.1% anthraquinone on raw material dry weight, cooking liquor to solid ratio of 8 : 1 and 3 hours of cooking time at 170 degree celsius. The targeted Kappa numbers of pulp were 25-30 which resulted in low pulp yields. It could be concluded that both unbleached and bleached pulp from the stalk of Jatropha curcas Linn. of over 2 years provided the most acceptable physical properties comparable to those of eucalyptus pulp at the same level of freeness. Regarding the environmental aspect, this agricultural waste could be used as an alternative raw material for pulp and paper industry in the future. - Authorsสาระสังเขป: ได้ศึกษากรรมวิธีผลิตเยื่อจากส่วนกิ่ง, ต้น และกิ่งผสมต้นของไม้สบู่ดำที่คละอายุการปลูก อายุ 1 และ 2 ปี, โดยทำการวิเคราะห์หาองค์ประกอบทางเคมีของไม้และทดสอบสมบัติของเยื่อที่ผลิตได้ตามมาตรฐาน TAPPI เพื่อหาความเป็นไปได้ในการนำไม้สบู่ดำมาใช้ผลิตเยื่อกระดาษและกระดาษ. ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมี พบว่า ค่าเฉลี่ยของปริมาณขี้เถ้า, ลิกนิน และเพนโตซานในไม้สบู่ดำอยู่ที่ร้อยละ 9.4, 16.7 และ 17.1, ตามลำดับ. ความสามารถในการละลายในน้ำร้อน, ในสารละลายแอลกอฮอล์, เบนซิน และในสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ความเข้มข้นร้อยละ 1, มีค่าการละลายที่ปริมาณร้อยละ 14.2 - 23.9, 3.8 - 4.5 และ 34.6 - 45.5, ตามลำดับ. สำหรับการทดลองผลิตเยื่อจากไม้สบู่ดำด้วยกรรมวิธีโซดาร่วมกัยสารแอนทราควิโนน, ได้ทำการปรับเปลี่ยนปริมาณความเข้มข้นของสารโซเดียมไฮดรอกไซด์ที่ใช้ในกระบวนการต้มเยื่อ และฟอกจางสีเยื่อที่ผลิตได้ด้วยขั้นตอนการฟอกแบบ CEPEP. จากนั้น จึงทำการทดสอบสมบัติแผ่นเยื่อ ได้แก่ ค่าความขาวสว่าง, ความทึบแสง, ความต้านทานแรงดึง, ความต้านทานแรงดันทะลุ และความต้านทานแรงฉีกขาด. ผลการทดสอบแสดงให้เห็นถึงความเป็นไปได้ในการที่จะนำส่วนต้นของไม้สบู่ดำที่มีอายุตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไปมาใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตเยื่อชนิดไม่ฟอกและชนิดฟอกจางสี ด้วยสมบัติของเยื่อที่ทัดเทียมกับเยื่อจากไม้ยูคาลิปตัส ที่ค่าการอุ้มน้ำระดับเดียวกัน. ผลการศึกษา พบว่า สภาวะที่เหมาะสมในการผลิตเยื่อจากไม้สบู่ดำที่ให้ค่าแคปปานัมเบอร์ตามเป้าหมายที่กำหนดในช่วงระหว่าง 25-30, คือ การต้มเยื่อในสารละลายที่ค่าความเข้มข้นสารโซเดียมดรอกไซด์และแอนทราควิโนนร้อยละ 24 และ 0.1 ของน้ำหนักไม้สบู่ดำแห้ง, ตามลำดับ, อัตราส่วนระหว่างน้ำกับไม้สบู่ดำแห้งเท่ากับ 8 ต่อ 1, ทำการต้มที่อุณหภูมิคงที่ที่ 170 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 3 ชั่วโมง, แม้จะได้ผลผลิตเยื่อที่ค่อนข้างต่ำ, แต่หากได้คำนึงถึงปัญหาที่จะเกิดขึ้นกับสภาพแวดล้อม, เศษวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรดังกล่าว อาจได้รับการพิจารณาให้นำมาใช้เป็นวัตถุดิบทางเลือกสำหรับโรงงานผลิตเยื่อกระดาษและกระดาษในอนาคตข้างหน้าได้.ชนิดของทรัพยากร | Location | Call number | สถานะ | Last seen | Copy No. | บาร์โค้ด |
---|---|---|---|---|---|---|
วว. เทคโนธานี | Available | 2018-08-31 | 1 | RP2011/1408 | ||
วว. เทคโนธานี | Available | 2018-08-31 | 2 | RP2011/1408 - 2 |
There are no comments on this title.