การเพิ่มปริมาณสารสำคัญในบัวบกด้วยอิลิซิเตอร์ = Enhancement of triterpenoid biosynthesis of centella asiatica l. by elicitation / Khanok-on Amprayn [et al.] (CONFIDENTIAL)

โดย: Khanok-on Amprayn
ผู้แต่งร่วม: Khanok-on Amprayn | Nattapong Chanchula | Siriporn Pramrit | Napassawan Sunthorn | Rodsukon Puknin | Pattarawadee Hengkwasingh | Anan Piriyaphattarakit | Nopparat Noimuang | Wilairat Krutjon | กนกอร อัมพรายน์ | ณัฐพงค์ จันจุฬา | ศิริพร เปรมฤทธิ์ | นภัสวรรณ สุนทร | รสสุคนธ์ พุกนิล | ภัทรวดี เก่งกว่าสิงห์ | อนันต์ พิริยะภัทรกิจ | นพรัตน์ น้อยเมือง | วิไลรัตน์ ครุฑจร
BCG: เกษตรปลอดภัย TRM: นวัตกรรมการเกษตร ชื่อชุด: Res. Proj. no. 65-20, Sub Proj. no. 2; no.1 (Final report) (CONFIDENTIAL)ข้อมูลการพิมพ์: Pathumthani : Thailand Institute of Scientific and Technological Research, 2023 รายละเอียดตัวเล่ม: 72 p. : ill. ; 30 cm.ชื่อเรื่องอื่นๆ: โครงการวิจัยที่ ภ.65-20 การพัฒนาระบบปลูก สายพันธุ์ที่เหมาะสม และการเพิ่มปริมาณสารสำคัญในบัวบกหัวเรื่อง: บัวบก | อิลิซิเตอร์สาระสังเขป: Centella asiatica L., commonly known as Asiatic pennywort, is a medicinal plant that has gained popularity in Thai traditional medicine and cosmeceuticals due to the presence of bioactive compounds, mainly triterpenes. These compounds have been found to have clinical properties in relieving abnormalities caused by the degeneration of somatic cells and in activating certain types of skin structural collagen. However, the content of these bioactive compounds in Centella can vary depending on the plant species and environmental conditions, making conventional cultivation methods unreliable for producing consistent yields of these compounds. In order to produce Centella with high levels of triterpenoids without relying on environmental conditions, a study was conducted using temporary immersed bioreactors (TIB) and elicitors. The study also aimed to investigate the effects of elicitors on Centella grown using conventional outdoor methods over three seasons, with the goal of providing an alternative method for farmers to produce Centella for consumption and as raw materials for further processing. Four different elicitors (salicylic acid, jasmonic acid, malt extract, and yeast extract) were tested for their positive effects on five different accessions of Centella (Prachinburi, Ubon Ratchathani,Nakhonsithammarat, Rayong, and Nakhonpathom) as well as a commercial Centella variety. These experiments aimed to identify the best elicitor and accession combination for producing high-quality Centella. The study found that in the temporary immersion bioreactor system, high biomass yields and concentrations of bioactive substances, namely asiaticoside and madecassoside, were achieved by cultivating Nakhonsi Centella in MS medium amended with 2 mg/L BA, and either commercial or Nakhonpathom Centella in MS medium amended with 2 mg/L BA and 1.5 mg/L salicylic acid, for a duration of 30 days. In terms of Centella production in netted houses or field planting, the best results were obtained with Nakhonpathom Centella in the central region, with high yields and centelloside content. In terms of production management according to the season, for the cool and rainy season, spraying 1 mg/L salicylic acid 1-2 times with 7 days between each spraying before harvesting (with a 7-day interval after the last spraying) was found to be effective. However, in the summer, the application of elicitors was not found to be necessary. สาระสังเขป: บัวบกจัดเป็นพืชสมุนไพรที่ถูกนำไปใช้เชิงพาณิชย์มากขึ้นทั้งทางด้านการแพทย์แผนไทยและเวชสำอาง เนื่องจากมีสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพกลุ่มไตรเทอร์ปีนส์ที่มีสรรพคุณทางการแพทย์ในการบรรเทาอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นจากความเสื่อมของเซลล์ร่างกาย รวมทั้งช่วยสร้างคอลลาเจนชนิดที่เป็นโครงสร้างของผิวหนัง แต่ในการเพาะปลูกบัวบกตามสภาพธรรมชาติมักมีปริมาณสารสำคัญมากบ้างน้อยบ้างแตกต่างกันไปตามสายพันธุ์พืชและสิ่งแวดล้อม เพื่อให้การผลิตบัวบกไม่ถูกจำกัดด้วยสภาพแวดล้อมจึงทำการศึกษาการเพาะเลี้ยงบัวบกในไบโอรีแอกเตอร์แบบจมชั่วคราวโดยใช้อิลิซิเตอร์ในการช่วยกระตุ้นชีวมวลและปริมาณสารสำคัญ พร้อมทั้งศึกษาผลของอิลิซิเตอร์ต่อบัวบกที่เพาะปลูกในสภาพธรรมชาติใน 3 ฤดูกาล เพื่อนำไปปรับใช้กับกระบวนการเพาะปลูกดั้งเดิมของเกษตรกร เป็นทางเลือกในการผลิตบัวบกสำหรับบริโภคและเป็นวัตถุดิบในการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ โดยเปรียบเทียบการใช้อิลิซิเตอร์ 4 ชนิด ได้แก่ salicylic acid, jasmonic acid, malt extract และ yeast extract กับบัวบก 5 สายพันธุ์ ได้แก่ พันธุ์ปราจีนบุรี, อุบลราชธานี, นครศรีธรรมราช, ระยอง และนครปฐม และบัวบกพันธุ์การค้า 1 ชนิด ผลการศึกษาพบว่า ในระบบไบโอรีแอกเตอร์ สามารถผลิตชีวมวลบัวบกและสารสำคัญ asiaticoside และ madecassoside ได้สูงจากการเพาะเลี้ยงบัวบก 3 สายพันธุ์ ในอาหารที่แตกต่างกันเป็นเวลา 30 วัน ดังนี้ พันธุ์นครศรีธรรมราช ใช้อาหารสูตร MS ที่เติม BA 2 มิลลิกรัม/ลิตร พันธุ์การค้า และพันธุ์นครปฐม ใช้อาหารสูตร MS ที่เติม BA 2 มิลลิกรัม/ลิตร และ salicylic acid 1.5 มิลลิกรัม/ลิตร ส่วนการผลิตในระดับโรงเรือน หรือแปลงปลูกกลางแจ้ง ควรเลือกปลูกบัวบกพันธุ์นครปฐมโดยเฉพาะในพื้นที่ปลูกภาคกลาง การจัดการผลิตเพื่อให้ได้ชีวมวลและสารสำคัญสูงตามฤดูกาล คือ ฤดูหนาวและฤดูฝน ฉีดพ่น salicylic acid 1 มิลลิกรัม/ลิตร 1-2 ครั้ง แต่ละครั้งห่างกัน 7 วัน ทิ้งระยะหลังฉีดพ่นครั้งสุดท้าย 7 วัน จึงเก็บเกี่ยว ส่วนฤดูร้อนไม่ต้องใช้อิลิซิเตอร์
    Average rating: 0.0 (0 votes)
ไม่มีรายการทางกายภาพสำหรับระเบียนนี้

There are no comments on this title.

to post a comment.

Click on an image to view it in the image viewer

    Thailand Institute of Scientific and Technological Research
    35 Mu 3 Technopolis, Tambon Khlong Ha, Amphoe Khlong Luang, Pathum Thani 12120
    ☎ 0 2577 9000, 0 2577 9300