การพัฒนาเทคโนโลยีทางอณูชีววิทยาระดับเซลล์เพื่อสร้างระบบทดสอบสำหรับประเมินผลกระทบต่อปอดและเซลล์เม็ดเลือดขาวด้วยเทคนิคการสร้างเซลล์แบบเลี้ยงร่วม = Development of co-culture model of lung cells and macrophages for genotoxicity investigation / Sarunya Laovitthayanggoon [et al.] (CONFIDENTIAL)

โดย: Sarunya Laovitthayanggoon
ผู้แต่งร่วม: Sarunya Laovitthayanggoon | Prapaipat Klungsupya | Thanchanok Muangman | Nantaporn Pinnak | ศรัญญา เหล่าวิทยางค์กูร | ประไพภัทร คลังทรัพย์ | ธัญชนก เมืองมั่น | นันทพร ปิ่นนาค
TRM: สุขภาพ กลุ่มเวชสำอาง ชื่อชุด: Res. Proj. no. 65-19, Sub Proj. no. 4; no.1 (Final report) (CONFIDENTIAL)ข้อมูลการพิมพ์: Pathumthani : Thailand Institute of Scientific and Technological Research, 2023 รายละเอียดตัวเล่ม: 90 p. : ill. ; 30 cm.ชื่อเรื่องอื่นๆ: โครงการวิจัยที่ ภ.65-19 การพัฒนาเทคโนโลยีทางชีววิทยาศาสตร์ระดับโมเลกุลและเซลล์เพื่อสร้างระบบทดสอบสำหรับประเมินความปลอดภัยของอุตสาหกรรมเวชภัณฑ์และเครื่องสำอางในศตวรรษที่ 21หัวเรื่อง: การสร้างเซลล์แบบเลี้ยงร่วม | เซลล์ปอด | เซลล์เม็ดเลือดขาวสาระสังเขป: In recent years, the use of three-dimensional (3D) tissue equivalents has emerged as a promising alternative to animal testing in preclinical studies. In the field of genetic toxicology, skin, airway (lung), and liver tissue equivalents have been developed as a genotoxicity testing strategy. The use of 3D tissues in genotoxicity testing has proven to be a reliable protocol for genetic studies. As a result, lung co-culture models consisting of human lung epithelial cells and differentiated macrophages have been established and utilized to evaluate genotoxicity using the cytokinesis-blocked micronucleus (CBMN) assay. The inclusion of THP-1 monocyte-derived macrophages (dTHP-1) in the A549 cell culture further enhances the in vitro system's ability to realistically replicate the in vivo biological response to inhaled compounds.The aim of this study was to evaluate the genotoxicity of an aneugenic compound using a 3D co-culture model of the human respiratory tract, which consisted of human lung epithelial cells (A549), monocytes (THP-1), and monocyte-derived macrophages (dTHP-1). The use of this co-culture model is expected to provide a better assessment of inhaled compounds. The genotoxicity was assessed using the cytokinesis-blocked micronucleus (CBMN) assay, with mitomycin C (MMC) serving as the positive control. The results were evaluated through a case study on a chemical that tested positive in standard genotoxicity assays using image analysis-based Metafer™ (MetaSystems, Altlussheim, Germany). The in vitro micronucleus assay was found to be an effective tool for detecting genotoxicity in vitro, including mutagenicity and clastogenicity/aneugenicity. The number of micronuclei observed was deemed appropriate for follow-up testing of mutagenic substances in the in vitro battery. The results of the current study showed that treatment with MMC at 50 µg/ml for 24 hours induced genotoxicity without causing cell death (cytotoxicity). The cell viability was greater than 80%. The frequency of micronucleated binucleated cells (MNBCs) was estimated to be 109.45 ± 5.22 after exposure to MMC. The treatment led to a statistically significant increase (p≤0.05) in the frequency of MNBCs at 50 µg/ml. The coefficient of variation (CV) was 4.77%, which is within the acceptable range for a reliable method (CV should be less than 5%). This demonstrates that the CBMN assay using the co-culture model is an efficient, cost-effective, and accurate tool for assessing the genotoxicity and bioactivity of chemicals in biomedical applications. สาระสังเขป: ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา การเพาะเลี้ยงเซลล์ในสภาวะสามมิติ (3-dimensional cell culture models) ได้รับการพัฒนาให้เป็นระบบการทดสอบพรีคลินิกแบบใหม่ และเป็นวิธีการทางเลือกเพื่อนำมาใช้ทดแทนการทดสอบในสัตว์ทดลอง อาทิเช่น พิษวิทยาต่อระดับพันธุกรรม สำหรับการทดสอบในอวัยวะเทียบเคียง เช่น ผิวหนังผิวหนัง ทางเดินหายใจ (ปอด) และตับ เทคนิคการสร้างแบบจำลองการเพาะเลี้ยงร่วม 3 มิติ ของระบบทางเดินหายใจของมนุษย์เพื่อศึกษาความเป็นพิษต่อพันธุกรรมในการเพาะเลี้ยงร่วมกันของเซลล์เยื่อบุผิวปอดของมนุษย์ (A549) และเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดแมคโครฟาจที่เกิดจากการเหนี่ยวนำมาจากโมโนไซต์ (dTHP-1) จึงถูกสร้างขึ้นและใช้สำหรับการประเมินความเป็นพิษโดยใช้การวิเคราะห์กิดไมโครนิวเคลียส ด้วยวิธี Cytokinesis-blocked micronucleus (CBMN) คาดว่า แบบจำลองเหล่านี้ทำให้การประเมินความเป็นพิษต่อพันธุกรรมได้สมจริงยิ่งขึ้นโดยเฉพาะ การทดสอบของสารที่ได้รับจากการสูดดมที่มีเป้าหมายตรงกับเซลล์ปอด การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาวะการเพาะเลี้ยงและการเหนี่ยวนำให้เกิดไมโครนิวเคลียสของสารพันธุกรรม ไมโตมัยซิน ซี (Mitomycin C : MMC) ซึ่งเป็นกลุ่มควบคุมเชิงบวก ด้วยวิธี CBMN โดยวิเคราะห์การเกิดไมโครนิวเคลียสด้วยโปรแกรม Micronucleus Analysis (MetaSystems, Althlussheim, Germany) โดยเครื่อง Metafer การทดสอบความเป็นพิษต่อระบบพันธุกรรม ด้วยวิธีไมโครนิวเคลียส จึงเป็นวิธีการที่เหมาะสมสำหรับการตรวจสอบความปลอดภัยในเชิงลึก หรือการทดสอบกับตัวอย่างที่เป็นสารก่อกลายพันธุ์ (Mutagens) และ/หรือก่อมะเร็ง (Carcinogens) เพื่อทดสอบประเมินความเป็นพิษและความปลอดภัยกับยาและ/หรือสารเคมีที่เป็นสารก่อกลายพันธุ์ (Mutagens)
    Average rating: 0.0 (0 votes)
ไม่มีรายการทางกายภาพสำหรับระเบียนนี้

There are no comments on this title.

to post a comment.

Click on an image to view it in the image viewer

    Thailand Institute of Scientific and Technological Research
    35 Mu 3 Technopolis, Tambon Khlong Ha, Amphoe Khlong Luang, Pathum Thani 12120
    ☎ 0 2577 9000, 0 2577 9300