การใช้ประโยชน์จุลินทรีย์โพรไบโอติกและสารออกฤทธิ์เชิงหน้าที่เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตของโคขุน = Prebiotic and probiotic utilization for increasing of productive and health performance in feedlot beef cattle / Kalaya Boonyanuwat [et al.]

โดย: Kalaya Boonyanuwat
ผู้แต่งร่วม: Kalaya Boonyanuwat | Charurak Hongket | Anusorn Thinowong | Kanthida Jaidee | Jaruwan Sitdhipol | กัลยา บุญญานุวัตร | ชารุรักษ์ หงส์เกตุ | อนุสรณ์ ธิโนวงค์ | กานต์ธิดา ใจดี | จารุวรรณ สิทธิพล
ชื่อชุด: Res. Proj. no. 65-17, Sub Proj. no. 2; no. 1 (Final report)ข้อมูลการพิมพ์: Pathumthani : Thailand Institute of Scientific and Technological Research, 2024 รายละเอียดตัวเล่ม: 36 p. : tables, ill. ; 30 cm.ชื่อเรื่องอื่นๆ: โครงการวิจัยที่ ภ.65-17 การใช้ประโยชน์จุลินทรีย์โพรไบโอติกและสารออกฤทธิ์เชิงหน้าที่เพื่อส่งเสริมสุขภาพและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสัตว์เศรษฐกิจหัวเรื่อง: โพรไบโอติก | โคขุน | จุลินทรีย์สาระสังเขป: Prebiotic and probiotic utilization for increasing of productive and health performance in feedlot beef cattle was aimed to increase the productivity of feedlot beef cattle. It was conducted with crossbred feedlot beef cattle of farmers in the Pon Yang Kham Livestock Breeding Cooperative NSC Ltd., Sakonnakhon Province, during April 2022 - March 2023. It was conducted as RCBD experimental design which farmers participated in this research. The experiment was divided into 2 trials: 1) an experiment in the 400-600 kg fattening beef cattle and 2) the last 3 months before sending to the slaughterhouse. Both experiments divided the animals into 2 treatments: 1) the control group (5 animal) and 2) supplemented with probiotics in concentrates of 109cfu/kg concentrates (5 animal). Each farm was block. Data collecting were body weight, average daily gain (ADG), feed intake, ammonia emissions, carcass percentage and production cost. From the study, it was found that in Trial 1, fattening beef cattle had average initial body weights of 466.40+65.53 and 428.00+42.00 kg/head for treatment 1 and 2, respectively. The ADG of were 0.376+0.184 and 0.596+0.277 kg/head/day for treatments 1 and 2, respectively (P<0.05). The non-probiotic supplemented group had higher ammonia emissions than the probiotic supplemented group with average 7.40+3.97 and 3.00+1.87 ppm/head/day, respectively (P<0.01). Trial 2 showed the same result for ADG. The ADG were 0.756+0.294 and 1.004+0.350 kg/head/day for treatment 1 and 2, respectively (P<0.05). There was no difference in ammonia emission rates. The feedlot beef cattle from treatments 1 and 2 had average warm carcass percentage as 58.36+0.80 and 56.78+1.49%, respectively (P<0.05). The results from probiotic supplement treatment had better productivity and friendly environment. Therefore, encouraging farmers to use probiotic supplements in feedlot beef cattle concentrates will increase productivity and friendly environment. การใช้ประโยชน์จุลินทรีย์โพรไบโอติกและสารออกฤทธิ์เชิงหน้าที่เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตของโคขุน มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตของโคขุน โดยทำการศึกษาวิจัยในฟาร์มโคขุนลูกผสมของเกษตรกรสมาชิก สหกรณ์การเลี้ยงปศุสัตว์ กรป.กลาง โพนยางคำ จำกัด จังหวัดสกลนคร ระหว่าง เมษายน 2565 - มีนาคม 2566 วางแผนการทดทดลองแบบ RCBD โดยที่เกษตรกรมีส่วนร่วมในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ การทดลองแบ่งออกเป็น 2 ตอน 1) ทดลองในโคขุนระยะ 400-600 กิโลกรัม และ 2) ระยะ 3 เดือนสุดท้ายก่อนส่งโรงฆ่าสัตว์ 2 การทดลอง แบ่งสัตว์ออกเป็น 2 ทรีตเมนต์ คือ 1) กลุ่มควบคุม (ไม่เสริมโพรไบโอติก) จำนวน 5 ตัว และ 2) เสริมโพรไบโอติกในอาหารตัวละ 109 โคโลนี/อาหาร 1 กิโลกรัม จำนวน 5 ตัว จากฟาร์มเกษตรกร 5 ฟาร์มๆ ละ 2 ตัว (2 ทรีตเมนต์) โดยมีฟาร์มเป็นบล็อก การศึกษาเก็บข้อมูล น้ำหนักตัว การเจริญเติบโตต่อวัน ปริมาณอาหารที่กินต่อวัน ปริมาณการปล่อยแอมโมเนียในคอก เปอร์เซ็นต์ซาก และต้นทุนการผลิต จากการศึกษาพบว่า การทดลองที่ 1 โคขุนมีน้ำหนักตัวเริ่มต้นเฉลี่ย 466.40±65.53 และ 428.00±42.00 กิโลกรัม/ตัว สำหรับทรีตเมนต์ที่ 1 และ 2 ตามลำดับ การเสริมโพรไบโอติกในอาหารทำให้โคมีอัตราการเจริญเติบโตดีกว่าการไม่เสริม โดยมีอัตราการเจริญเติบโตเฉลี่ย 0.376±0.184 และ 0.596±0.277 กิโลกรัม/ตัว/วัน สำหรับทรีตเมนท์ที่ 1 และ 2 ตามลำดับ (P<0.05) กลุ่มที่ไม่เสริมโพรไบโอติกปล่อยแอมโมเนียสูงกว่ากลุ่มที่เสริมโพรไบโอติก โดยมีค่าเฉลี่ย 7.40±3.97 และ 3.00±1.87 ppm/ตัว/วัน ตามลำดับ (P<0.01) ส่วนการทดลองที่ 2 ก็ให้ผลเช่นเดียวกันสำหรับการเจริญเติบโต คือมีอัตราการเจริญเติบโตเฉลี่ย 0.756±0.294 และ 1.004±0.350 กิโลกรัม/ตัว/วัน สำหรับทรีตเมนท์ที่ 1 และ 2 ตามลำดับ (P<0.05) สำหรับอัตราการปล่อยแอมโมเนียไม่แตกต่างกัน โคขุนจากทรีตเมนท์ที่ 1 และ 2 ให้เปอร์เซ็นต์ซากอุ่นเฉลี่ย 58.36±0.80 และ 56.78±1.49 ตามลำดับ (P<0.05) จะเห็นได้ว่ากลุ่มที่เสริมโพรไบโอติกในอาหารมีประสิทธิภาพการผลิตดีกว่า และรักษาสิ่งแวดล้อม ดังนั้นการส่งเสริมให้เกษตรกรใช้โพรไบโอติกเสริมในอาหารโคขุนจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
    Average rating: 0.0 (0 votes)
ไม่มีรายการทางกายภาพสำหรับระเบียนนี้

There are no comments on this title.

to post a comment.
    Thailand Institute of Scientific and Technological Research
    35 Mu 3 Technopolis, Tambon Khlong Ha, Amphoe Khlong Luang, Pathum Thani 12120
    ☎ 0 2577 9000, 0 2577 9300