การวิจัยและพัฒนาสายพันธุ์เห็ดหอมเพื่อเพาะในเขตพื้นที่ราบ Strain development of shiitake mushroom in for cultivation in lowland สรวิศ แจ่มจำรูญ

โดย: สรวิศ แจ่มจำรูญ [et al.]
ผู้แต่งร่วม: Soravit Jamjumroon | Tawatchai Boonklang | Tanapak Inyod | Supatra Piemvaree | Chitta Sartpech | Sawithree Pamoj Na Ayudhya | Sayan Tanpanich | สรวิศ แจ่มจำรูญ สายันต์ ตันพานิช | ธวัชชัย บุญกลาง | ธนภักษ์ อินยอด | สุพัตรา เปี่ยมวารี | จิตตา สาตร์เพ็ชร์ | สาวิตรี ปราโมช ณ อยุธยา | สายันต์ ตันพานิช
Language: Thai ชื่อชุด: Res. Proj. no. 56-04, Sub Proj. no. 1; no.1 (Final report)ข้อมูลการพิมพ์: Pathumthani Thailand Institute of Scientific and Technological Research 2020 รายละเอียดตัวเล่ม: 141 p. tables, ill. 30 cm.ชื่อเรื่องอื่นๆ: โครงการวิจัยที่ ภ.56-04 การวิจัยและพัฒนาสายพันธุ์เห็ดและระบบการผลิตเห็ดเมืองหนาว ในพื้นที่ราบลุ่มเชิงพานิชหัวเรื่อง: เห็ดหอม | เห็ด | Mushroomsสารสนเทศออนไลน์: Click here to access Full-text สาระสังเขป: Shiitake is a strain of mushrooms which requires low temperature to grow in any lowland region. Due to a short period of a winter time, fresh product from shiitake cultivation is not enough for a market need. A strain of shiitake mushroom for cultivation in lowland is then developed. This research was conducted to study and to develop a strain of shiitake mushroom for cultivation in lowland regions. The 23 strains were collected and the 6 strains were selected for experiments. They were Shiitake L1, Shiitake L2, Shiitake L3, Shiitake L4, Shiitake L5, and Shiitake LAnon. The appropriate food recipe was developed for cultivation of leavening agent. The experimental result was found that the use of millet seed as a main material for cultivation of leavening agent responded to the best growth of its fiber. After that, the breeding of the selected strains were experimented by applying radiations at the intensity of 5, 10, and 25 kilo-radius, and control. The 71 samples obtained from the experiments were then cultured on petri dishes and studied their growth. The result was found that the fiber of shiitake from radiation applications and from the control grew higher than the original strain in average. However, there was no difference when the cultivation was experimented using sawdust. After opening of mushroom, the study of morphology showed that characteristics of shiitake were not different. Next, shiitake mushrooms were chemically analyzed exposing that there was the substance in the radiated mushrooms more than in the original mushrooms. Later, the analysis by way of genetic engineering, the PCR technique, comparing to a database system revealed that the DNA of the radiated shiitake was close to the DNA in the database. The repeated analysis using RAPD indicated that each group of the experimental shiitakes was clearly clustered. In other words, the original shiitakes from the same breed were close together in genetic, but they were different between samples depending on their breed. Therefore, the radiation application caused the changes of the DNA's shiitakes. In conclusion, the strain development of the shiitake mushroom by the radiation on 6 samples, which were Shiitake L1, Shiitake L2, Shiitake L3, Shiitake L4, Shiitake L5, and Shiitake LAnon, did not make any change or difference in the shiitake growth and morphology. However, it resulted in the change of the genetic code and some substance production in the mushrooms. The accuracy inspection should be studied in the future work.สาระสังเขป: เห็ดหอมเป็นสายพันธุ์เห็ดที่ต้องการอุณหภูมิค่อนข้างต่ำในการเจริญเติบโต ในเขตพื้นที่ราบลุ่ม (lowland) มีการเพาะเห็ดหอมได้เพียงระยะสั้นๆ ของฤดูหนาวเท่านั้น ซึ่งทำให้ผลผลิตเห็ดหอมสดไม่เพียงพอต่อความต้องการ, ดังนั้นหากทำการปรับปรุงสายพันธุ์เห็ดหอมให้มีความสามารถในการเจริญได้ในที่ราบลุ่มคงจะเป็นเรื่องที่ดี. การวิจัยครั้งนี้ จึงได้ทำการศึกษาและพัฒนาเพื่อสร้างสายพันธุ์เห็ดหอมที่เพาะเลี้ยงได้ในเขตพื้นที่ราบลุ่ม โดยเริ่มจากการเก็บรวบรวมสายพันธุ์เห็ดหอม สามารถเก็บรวบรวมได้ 23 ตัวอย่าง คัดเลือกมาจำนวน 6 ตัวอย่าง ได้แก่ เห็ดหอม L1, เห็ดหอม L2, เห็ดหอม L3, เห็ดหอม L4, เห็ดหอม L5 และเห็ดหอม LAnon เพื่อใช้เป็นตัวแทนในการวิจัย เริ่มจากการพัฒนาสูตรอาหารที่เหมาะสมต่อการเพาะหัวเชื้อเห็ด พบว่า การใช้การใช้เมล็ดข้าวฟ่างเป็นวัสดุหลักในการเพาะเลี้ยงหัวเชื้อเห็ดหอมให้ผลตอบสนองต่อการเจริญของเส้นใยดีที่สุด เมื่อนำสายพันธุ์เห็ดที่คัดเลือกไปทำการปรับปรุงพันธุ์ด้วยวิธีการฉายรังสีที่ความเข้มรังสี 5, 10, และ 25 กิโลแรด และชุดควบคุม พบว่า มีตัวอย่างที่ได้จาก กระบวนการทั้งหมด 71 ตัวอย่าง นำตัวอย่างที่ได้มาทำการทดสอบการเจริญบนจานอาหารเพาะเลี้ยง พบว่า เส้นหอมที่ผ่านการฉายรังสีและชุดควบคุม มีอัตราการเจริญโดยเฉลี่ยสูงกว่าเห็ดหอมสายพันธุ์ต้นตอ แต่ไม่มีความแตกต่างกันเมื่อเพาะเลี้ยงบนก้อนขี้เลื่อย หลังทำการเปิดดอกแล้วศึกษาลักษณะทางสัณฐานวิทยา พบว่า เห็ดหอมที่ได้ลักษณะไม่แตกต่างกัน, แต่เมื่อนำดอกเห็ดหอมที่ได้ทำไปการ ตรวจวิเคราะห์ทางเคมี พบว่า ในเห็ดหอมที่ผ่านการฉายรังสีมีปริมาณสารสะสมสูงกว่าในเห็ดหอมต้นตอ ทำการศึกษาต่อโดยการตรวจวิเคราะห์ด้วยเทคนิคพันธุวิศวกรรมโดยใช้เทคนิค PCR และเทียบกับระบบฐานข้อมูล พบว่า ดีเอ็นเอของเห็ดหอมที่ผ่านการฉายรังสีมีความใกล้เคียงกับดีเอ็นเอในฐาน ข้อมูล ทำการวิเคราะห์อีกครั้งด้วยเทคนิค RAPD พบว่า มีการแบ่งกลุ่มกันอย่างชัดเจนในแต่ละกลุ่มของเห็ดหอมที่ใช้ทำการศึกษา กล่าวคือ เห็ดหอมจากสายพันธุ์ต้นตอเดียวกันจะมีความใกล้เคียง กันของพันธุกรรม แต่จะมีระยะห่างระหว่างตัวอย่างแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กันสายพันธุ์ แสดงว่าการฉายรังสีทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของดีเอ็นเอของเห็ดหอม. สรุป คือการทดลองการปรับปรุงพันธุ์เห็ดหอมโดยวิธีการฉายรังสี ในเห็ดหอมทั้งหมด 6 ตัวอย่าง ได้แก่เห็ดหอม L1, เห็ดหอม L2, เห็ดหอม L3, เห็ดหอม L4 และเห็ดหอม L5 และ เห็ดหอม LAnon ไม่ทำให้การเปลี่ยนแปลงหรือเกิดความแตกต่างหรือเกิดการเปลี่ยนแปลงที่น้อยมากของการเจริญของเห็ดหอมและลักษณะทางสัณฐานวิทยา แต่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของรหัสพันธุกรรม และการผลิตสารบางอย่างในเห็ด ซึ่งหากต้องการตรวจเช็คความแน่นยำควรต้องมีการศึกษาพัฒนาต่อไป.
    Average rating: 0.0 (0 votes)
ไม่มีรายการทางกายภาพสำหรับระเบียนนี้

There are no comments on this title.

to post a comment.
    Thailand Institute of Scientific and Technological Research
    35 Mu 3 Technopolis, Tambon Khlong Ha, Amphoe Khlong Luang, Pathum Thani 12120
    ☎ 0 2577 9000, 0 2577 9300