การผลิตเชื้อเพลิงขยะอัดแท่งจากขยะอินทรีย์ = Producing compressed solid fuel from organic waste / Wirachai Soontornrangson...[et al.]

ผู้แต่งร่วม: Boonsae, Manoo | Kaewsringam, Sunya | Prohmsuwan, Sopon | Soontornrangson, Wirachai | Utistham, Tanes | แก้วศรีงาม, สัญญา | มะนู บุญแสร์ | โสภณ พรหมสุวรรณ | วีรชัย สุนทรรังสรรค์ | ธเนศ อุทิศธรรม | Thailand Institute of Scientific and Technological Research
Language: Thai ชื่อชุด: Res. Proj. no. 51-06, Sub. Proj. no. 1ข้อมูลการพิมพ์: Pathumthani : Thailand Institute of Scientific and Technological Research, 2016 รายละเอียดตัวเล่ม: 92 p.หัวเรื่อง: Organic wastes | Solid fuelสารสนเทศออนไลน์: Click here to access cover | Click here to access full-text สาระสังเขป: cause of both environmental and human hazards. Managing the MOW is a continuously labor and finance intensive process. Converting the organic waste into solid fuel is a sustainable way for mitigating both environmental and human hazard caused by MOW and considered as a highly rated source of energy. Extruding organic waste into bar or pellet is the most well-known method for converting organic waste (OW) into solid fuel. The quality and cost of solid fuel produced from OW could be controlled and reduced by the reduction of OW's moisture content. Higher moisture content OW required higher energy for extruding as well as reducing the calorific or heating value of the solid fuel. Moisture content of OW could be reduced via mechanical, thermal and biological processes. The costly pressing (i.e. by either hydraulic or screw press) and drying (i.e. by hot-air or solar drying) processes are usual practices for OW moisture reduction. This research offers a concept for gaining energy from the OW's moisture content reduction. An aerobic fermentation was added to the orthodox moisture reduction process, i.e. both mechanical and thermal processes. Aerobic fermentation eliminate both surface and inner moistures of OW by means of surface moisture evaporation and leachate from bioorganic digestion. The composite obtained from the aerobic digestion was pressed for removing the remaining leachate and solar dried before extruding into solid fuel bar or pellet. The results obtained from the experiments indicated that the optimum retention time for the aerobic fermentation was 3 days which provided the maximum total energy, i.e. from heating value of biogas from leachate and h dating value of dry composite. The solid fuel produced from OW was tested as feedstock of a stratified downdraft gasifier for producing synthetic gas. The results obtained ensured the average high heating value (HHV) of synthetic gas produced over 1,000 kcal/Nm3 which is sufficient for both energy and power generation purposes.สาระสังเขป: ปริมาณขยะที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ก่อให้เกิดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและสุขอนามัยของ ประชากร การบริหารจัดการหรือกำจัดขยะสามารถทำได้หลายวิธีซึ่งล้วนแล้วแต่ต้องใช้งบประมาณ บุคลากร และ การดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง การนำขยะมาผลิตเป็นเชื้อเพลิงเป็นวิธีกำจัดขยะซึ่ง นอกจากจะลดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมแล้วยังเป็นการเพิ่มแหล่งพลังงานทดแทนได้อีกทางหนึ่ง การนำ ขยะมาผลิตเป็นเชื้อเพลิงอัดแท่งเป็นวิธีที่เป็นที่รู้จักและได้รับความนิยม. ความชื้นของขยะเป็นตัวแปรสำคัญที่กำหนดคุณภาพและต้นทุนการผลิตเชื้อเพลิงอัดแท่ง ขยะที่มีความชื้นสูงจะทำให้ค่าความร้อนต่ำและต้องใช้พลังงานในการอัดแท่งมาก การลดความชื้นของ ขยะสามารถทำได้โดยวิธีกล ความร้อน ตลอดจนกระบวนการย่อยสลายทางชีวภาพ (หมัก) แบบใช้ อากาศ วิธีการลดความชื้นขยะที่นิยมใช้ในปัจจุบันคือการบีบน้ำออกจากขยะโดยใช้พลังงานกล การ อบแห้งด้วยลมร้อนที่ได้จากการเผาไหม้ของเชื้อเพลิง หรือแสงอาทิตย์ หรือใช้วิธีทางกลร่วมกับการใช้ ความร้อน วิธีการลดความชื้นด้วยวิธีทางกลและความร้อนล้วนแล้วแต่ต้องใช้พลังงานในการลด ความชื้นซึ่งเป็นการเพิ่มต้นทุนการผลิตเชื้อเพลิงขยะอัดแท่งให้สูงขึ้น. งานวิจัยนี้เสนอแนวคิดการลดความชื้นขยะที่ได้ผลพลอยได้เป็นพลังงาน โดยนำกระบวน- การหมักขยะอินทรีย์แบบใช้อากาศมาใช้ร่วมกับวิธีทางกลและความร้อน กระบวนการหมักขยะแบบ ใช้อากาศทำให้อุณหภูมิขยะสูงขึ้นทำให้น้ำที่จับอยู่ที่ผิวนอกระเหยเป็นไอ ส่วนการหมักทำให้โมเลกุล ขยะแตกตัว น้ำที่อยู่ภายในจะปนออกมากับน้ำชะขยะและถูกแยกออก ขยะที่ผ่านการย่อยสลายจะ อ่อนตัวเมื่อนำไปรีดน้ำจะใช้พลังงานน้อยลง การวิจัยดำเนินการโดยหาระยะเวลาการหมักที่เหมาะสม ซึ่งจะให้พลังงานรวมจากน้ำชะขยะ (รวมน้ำที่ได้จากการรีดน้ำ) ในรูปของพลังงานจากแก๊สชีวภาพ และพลังงานจากกากขยะ (ค่าความร้อน) ที่นำไปอัดเป็นแท่งเชื้อเพลิง ผลการทดลองพบว่าระยะเวลา หมักขยะที่เหมาะสมที่สุดคือ 3 วัน ซึ่งจะให้ผลรวมของพลังงานที่ได้จากน้ำชะขยะและกากขยะสูง ที่สุด.
    Average rating: 0.0 (0 votes)
ไม่มีรายการทางกายภาพสำหรับระเบียนนี้

There are no comments on this title.

to post a comment.
    Thailand Institute of Scientific and Technological Research
    35 Mu 3 Technopolis, Tambon Khlong Ha, Amphoe Khlong Luang, Pathum Thani 12120
    ☎ 0 2577 9000, 0 2577 9300