การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากบีตากลูแคนและสารสกัดจากยีสต์เพื่อใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร = product development of β-glucans for food industry / Potnpoj Srisukchayakul...[et al.]

ผู้แต่งร่วม: Banjongsinsiri, Panida | Bunyaphak, Poonnapha | Chatanon, Lawan | Pasakawee, Krittalak | Phantanaprates, Wimonsri | Phratvej, Wipaporn | Reungpatthanaphong, Sareeya | Saleephon, Arpaporn | Sematong, Tuanta | Srinorakutara, Pornpattra | Srisukchayakul, Pornpoj | Thongbunto, Rungthip | สรียา เรืองพัฒนพงศ์ | เตือนตา เสมาทอง | ลาวัลย์ ชตานนท์ | ทองบุญโท, รุ่งทิพย์ | ปนิดา บรรจงสินศิริ | ปุณณภา บุญยะภักดิ์ | กฤตลักษณ์ ปะสะกวี | วิมลศรี พรรธนประเทศ | วิภาพร พัฒน์เวช | พรภัทรา ศรีนรคุตร | พรพจน์ ศรีสุขชยะกุล | สาลีผล, อาภาภรณ์ | Thailand Institute of Scientific and Technological Research
Language: Thai ชื่อชุด: Res. Proj. no. 49.02, Sub Proj. no. 3 ; Final report (CONFIDENTIAL)ข้อมูลการพิมพ์: Bangkok : Thailand Institute of Scientific and Technological Research, 2011 รายละเอียดตัวเล่ม: ง, 44 p. : tables, ill. ; 30 cm.ชื่อเรื่องอื่นๆ: การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากบีตากลูแคนและสารสกัดจากยีสต์เพื่อใช้ในอุตสาหกรรมอาหารหัวเรื่อง: Beta-glucans | Food industry and trade | Saccharomyces cerevisiae | Yeastสารสนเทศออนไลน์: Click here to access cover สาระสังเขป: Beta-glucans are polysaccharides that contain glucose as structural components. These glucose are chained with β-1,3/1,6 glycoside linkage. Many researches have reported that beta-glucans have broad ranges of biological activities including immunomodulatory effect, reduction in cholesterol level and anticancer activity. The objectives of this study were to select yeast strains, to optimize cultivation medium and to develop beta-glucan extraction process for using as affordable supplement food in Thailand. According to the comparative study on growth rate of 12 strains of yeast from TISTR culture collection, it was found that Saccharomyces cerevisiae TISTR 5027 had rapid growth and contained 34.2% of beta-glucans from extracted substance. The color of extracted beta-glucans was cream. The physical characteristic of the extracted beta-glucans did not show significant difference from commercial beta-glucans when examined by SEM. To maximize the production yield of extracted beta-glucans, an optimization study on the cultivation of S. cerevisiae was performed. The results showed that S. cerevisiae TISTR 5027 could grow in the media at pH 5 which contained 15% molasses, 0.5% K2HPO4, 0.25% (NH4)2SO4, and 0.25% MgSO4.7H2O by using 15% inoculum. The production cost of dried yeast-cells and extracted betaglucans in this study were 800 and 4,500 baht/kg, respectively. The acute toxicity of extracted beta-glucans was tested in rats by oral administration according to OECD guideline for testing of chemicals (2001). No lethality and no adverse effect on all visceral organs were found in the study. Moreover, the extracted beta-glucans could enhance phagocytotic activity of mouse macrophage cell line (RAW.264.7). To study a possibility in the development of beta-glucan as fortified food for food industry, such various food products were developed as: snack bar, yogurt, passion fruit juice and salad dressing.สาระสังเขป: บีตากลูแคนเป็นสารที่ประกอบไปด้วยโมเลกุลของกลูโคสหลายกลุ่มที่เชื่อมต่อกันด้วยพันธะ β-1,3/1,6 glycoside linkage ซึ่งมีคุณสมบัติในการกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย, ทำให้ระดับคอเลสเตอรอลในเลือดลดลง และสามารถป้องกันโรคมะเร็งได้. ดังนั้น โครงการนี้จึงมี วัตถุประสงค์ที่จะทำการคัดเลือกสายพันธุ์ยีสต์, ตลอดจนหาสภาวะที่เหมาะสมในการเพาะเลี้ยงและพัฒนากระบวนการสกัดสารบีตากลูแคน เพื่อใช้ผลิตเป็นอาหารเสริมสุขภาพสำหรับคนไทยในราคาประหยัด. จากการศึกษาอัตราการเจริญของยีสต์จากคลังจุลินทรีย์ ศูนย์จุลินทรีย์ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) รวมทั้งสิ้น 12 สายพันธุ์, พบว่า ยีสต์สายพันธุ์ Saccharomyces cerevisiae TISTR 5027 เจริญได้เร็วและมีปริมาณบีตากลูแคนหลังการสกัดสูงที่สุด คือ 34.2% ของสารสกัดบีตากลูแคน. สารสกัดบีตากลูแคนที่ได้มีลักษณะสีขาวครีม และเมื่อทำการส่องดูด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเลคตรอนชนิด SEM พบว่าลักษณะทางกายภาพของสารสกัดบีตากลูแคนที่สกัดได้ไม่ต่างจากสารสกัดบีตากลูแคนทางการค้า. จากนั้นทำการศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในการเพาะเลี้ยงยีสต์ดังกล่าวพบว่า ยีสต์ S. cerevisiae TISTR 5027 สามารถเจริญได้ดีในสูตรอาหารที่ผสมกากน้ำตาล 15%, ค่าความเป็นกรด-เบส เท่ากับ 5, ค่าความเข้มข้นของโพแทสเซียมไฮโดรเจน- ฟอสเฟต (K2HPO4) เท่ากับ 0.5%, ค่าความเข้มข้นของยูเรีย (NH4)2SO4 เท่ากับ 0.25%, ค่าความเข้มข้นของแมกนีเซียมซัลเฟต (MgSO4.7H2O) เท่ากับ 0.25% และใช้ความเข้มข้นของเชื้อเริ่มต้น เท่ากับ 15%. เมื่อคำนวนต้นทุนการผลิตเซลล์แห้งของยีสต์และสารสกัดบีตากลูแคน พบว่าต้นทุนการผลิตเซลล์แห้งของยีสต์ เท่ากับ 800 บาท/กิโลกรัม, ในขณะที่ต้นทุนการผลิตสารสกัดบีตากลู แคนเท่ากับ 4,500 บาท/กิโลกรัม. จากการทดสอบความเป็นพิษของเฉียบพลันทางปากตามวิธีทดสอบหมายเลข 420 ของ OECD Guideline for Testing of Chemicals (2001) และการทดสอบฤทธิ์กระตุ้นการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันร่างกาย, พบว่าสารสกัดบีตากูลแคนที่สกัดได้ไม่มีความเป็นพิษต่อหนูและมีความสามารถในการกระตุ้นการฟาโกไซโทซิสของเซลล์เพาะเลี้ยงมาโครฟาจของหนูได้. นอกจากนี้ เพื่อเป็นการศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาสารสกัดบีตากลูแคนที่สกัด ได้มาใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร จึงได้ทำการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารต้นแบบรวมทั้งสิ้น 4 ประเภทคือ ขนมขบเคี้ยวรูปแท่งรสผลไม้รวม, โยเกิร์ต, น้ำเสาวรสพร้อมดื่ม และน้ำสลัดน้ำใส.
    Average rating: 0.0 (0 votes)
ไม่มีรายการทางกายภาพสำหรับระเบียนนี้

There are no comments on this title.

to post a comment.
    Thailand Institute of Scientific and Technological Research
    35 Mu 3 Technopolis, Tambon Khlong Ha, Amphoe Khlong Luang, Pathum Thani 12120
    ☎ 0 2577 9000, 0 2577 9300