การวิจัยและพัฒนาการผลิตไบโอดีเซลจากกรดไขมันปาล์ม (PFAD) = Research and development on biodiesel production from palm fatty acid distilled / Yoothana Thanmongkhon [et al.]

ผู้แต่งร่วม: Yoothana Thanmongkhon | Amornrat Suemanotham | Thanita Sonthisawate | Lalita Attanatho | Panida Thepkhun | Kasamar Petchtubtim | Pattarin Daycharugk | Phichai Wongharn | Peesamai Jenvanitpanjakul | ยุทธนา ฐานมงคล | อมรรัตน์ สื่อมโนธรรม | ธนิตา สนธิเศวต | ลลิตา อัตนโถ | พนิดา เทพขุน | กษมา เพชรทับทิม | พิชัย วงศ์หาญ | ภัทรินทร์ เดชะฤกษ์ | พิศมัย เจนวนิชปัญจกุล
Language: Thai ชื่อชุด: Res. Proj. no. 48-09, Sub Proj. no. 2; no.1 (Final report)ข้อมูลการพิมพ์: Pathumthani Thailand Institute of Scientific and Technological Research 2021 รายละเอียดตัวเล่ม: 65 p. tables, ill. ; 30 cm.ชื่อเรื่องอื่นๆ: โครงการวิจัยที่ ภ.48-09 การวิจัยและพัฒนาพลังงานทดแทนจากน้ำมันพืชในรูปของไบโอดีเซลหัวเรื่อง: ไบโอดีเซล | Biodieselสารสนเทศออนไลน์: Click here to access Full-text สาระสังเขป: Palm Fatty Acid Distilled (PFAD) is a by-product obtained from the cooking oil purification process. An inexpensive PFAD is capable of being used as feedstock for producing biodiesel as well as any vegetable oil and the price is cheaper than crude palm oil, too. Producing biodiesel from PFAD required a specific and distinctive process from the conventional one due to its components which are 90 percent free fatty acid (FFA) and a certain amount of triglyceride. The process was studied in 2 procedures following the PFAD's characteristic, the former consisted of 3 reaction steps. Twice esterification reactions between methanol and FFA, in PFAD, via proper ratio were required with sulfuric acid as catalyst on each step. Products obtained from the first two steps will be kept for 12 hours to ensure completed acid-ester separation. The final step was a transesterification reaction between methanol and triglyceride catalyzed by sodium hydroxide to be absolute FAME. Every step required temperature is maintained at 60- 65 °C. Produced biodiesel was then washed with warm water until the pH is neutral, then separated and removed all water.The latter consisted of 2 reaction steps. The first step was hydrolysis of PFAD under high pressure and temperature conditions in order to completely crack triglyceride in terms of FFA, the last one was only an esterification reaction between methanol and FFA with sulfuric acid as catalyst in specific conditions to be biodiesel as required. For this process, the high pressurized reactor is necessary to provide therefore the procedure should be performed in the industrial level than community one. สาระสังเขป: กรดไขมันปาล์มเป็นผลิตผลพลอยได้อย่างหนึ่งที่มาจากกระบวนการกลั่นน้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ เพื่อการบริโภค และเป็นวัตถุดิบตัวหนึ่งที่สามารถนำมาผลิตเป็นไบโอดีเซลได้เช่นเดียวกับน้ำมันพืช ทั่วไป และราคาถูกกว่าน้ำมันปาล์มดิบ โดยองค์ประกอบส่วนใหญ่ของกรดไขมันปาล์มเป็นกรดไขมัน อิสระถึงร้อยละ 90 โดยประมาณ และส่วนที่เหลือเป็นไตรกลีเซอไรด์ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการพัฒนา กระบวนการผลิตไบโอดีเซลที่เหมาะสมสำหรับกรดไขมันปาล์ม ซึ่งแตกต่างไปจากน้ำมันพืชโดยทั่วไป.การศึกษากระบวนการผลิตแบ่งออกเป็น 2 วิธี ตามลักษณะของกรดไขมันปาล์ม โดย กระบวนการผลิตวิธีที่ 1 ประกอบด้วย ขั้นตอนทำปฏิกิริยา 3 ครั้ง โดยเป็นปฏิกิริยาเอสเทอริฟิเคชัน ระหว่างกรดไขมันอิสระกับเมทานอล และตัวเร่งปฏิกิริยากรดซัลฟิวริก 2 ครั้ง ในอัตราส่วนที่ เหมาะสม จากนั้นจึงปล่อยทิ้งไว้ให้น้ำและกรดแยกออกจากสารเอสเทอร์ประมาณ 12 ชั่วโมง แล้วจึง ทำปฏิกิริยาทรานเอสเทอริฟิเคชันอีกครั้งเพื่อเปลี่ยนไตรกลีเซอไรด์ที่หลงเหลืออยู่ให้เป็นไบโอดีเซล โดยสมบูรณ์และใช้โซเดียมไฮดรอกไซด์เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาดังกล่าว สำหรับอุณหภูมิของปฏิกิริยาทุก ขั้นตอนถูกควบคุมที่ 60-65 องศาเซลเซียส จากนั้นจึงทำการกำจัดสิ่งปนเปื้อนในไบโอดีเซลออกด้วย น้ำอุ่นจนมีค่าพีเอชเป็นกลางแล้วทำการกำจัดน้ำออก.สำหรับกระบวนการผลิตวิธีที่ 2 ประกอบด้วย ขั้นตอนทำปฏิกิริยา 2 ครั้ง โดยเป็นปฏิกิริยา ไฮโดรไลซิสของกรดไขมันปาล์มภายใต้สภาวะควบคุมที่อุณหภูมิและความดันสูง เพื่อท าให้ไตรกลี- เซอไรด์ที่ปนอยู่ในกรดไขมันปาล์ม แตกตัวเป็นกรดไขมันอิสระโดยสมบูรณ์ก่อน แล้วจึงทำปฏิกิริยา เอสเทอริฟิเคชันระหว่างกรดไขมันอิสระกับเมทานอล และตัวเร่งปฏิกิริยากรดซัลฟิวริกต่ออีกครั้ง ใน อัตราส่วนที่เหมาะสม จึงได้ไบโอดีเซลที่สมบูรณ์ แต่เนื่องจากต้องใช้เครื่องปฏิกรณ์ความดันสูงจึงน่าจะ เหมาะสมกับการผลิตในระดับอุตสาหกรรมมากกว่าระดับชุมชน.
    Average rating: 0.0 (0 votes)
ไม่มีรายการทางกายภาพสำหรับระเบียนนี้

There are no comments on this title.

to post a comment.
    Thailand Institute of Scientific and Technological Research
    35 Mu 3 Technopolis, Tambon Khlong Ha, Amphoe Khlong Luang, Pathum Thani 12120
    ☎ 0 2577 9000, 0 2577 9300