การพัฒนาเทคโนโลยีแปรรูปผลิตผลจากต้นยางพาราเพื่อยกระดับศักยภาพเกษตรกรและผู้ประกอบการยางพารากลุ่มจังหวัดภาคอีสานตอนบน 1 = Development of processing technology from products of natural rubber tree for upgrading natural rubber tree farmer and entrepreneurial potential in the upper north-eastern provincial cluster 1 / Siriporn Larpkiattaworn...[et al.]

โดย: Siriporn Larpkiattaworn
ผู้แต่งร่วม: ิศิริพร ลาภเกียรติถาวร | เจต พานิชภักดี | บวร นฤภัย | สารัตน์ นุชพงษ์ | มาลินี ลี้กระจ่าง | ยุทธนา ฐานมงคล | นรรฏธวรรณ ประสงค์ธรรม | ลลิตา อัตนโถ | อมรรัตน์ สื่อมโนธรรม | ธนิตา สนธิเศวต | อภิชาติ จันสด | นิติพงศ์ โสภณพงศ์พิพัฒน์ | อดิศักดิ์ ปัตติยะ | Siriporn Larpkiattaworn | Jate Panichpakdee | Borwon Narupai | Sarat Nudchapong | Malinee Leekrajang | Lalita Attanatho | Yoothana Thanmongkhon | Natthawan Prasongthum | Amornrat Suemanotham | Thanita Sonthisawate | Apichat Junsod | Adisak Pattiya | Nitipong Soponpongpipat
BCG: สิ่งแวดล้อม TRM: พลังงานและสิ่งแวดล้อม Language: Thai ชื่อชุด: โครงการวิจัยที่ FS.64-02/รายงานฉบับที่ 1 (ฉบับสมบูรณ์)ข้อมูลการพิมพ์: Pathumthani : Thailand Institute of Scientific and Technological Research, 2565 รายละเอียดตัวเล่ม: 241 p.ชื่อเรื่องอื่นๆ: ข้อมูลสิทธิบัตรหัวเรื่อง: ยางพาราสารสนเทศออนไลน์: Click here to access Full-text สาระสังเขป: พบว่าประกอบด้วยกรดไขมันชนิดกรดลิโนโอลิก และกรดโอเลอิก เป็นส่วนใหญ่ และได้เลือก นำมาใช้สำหรับการสังเคราะห์น้ำมันเมล็ดยางพาราอิพ็อกซิไดซ์ สภาวะที่เหมาะสมสำหรับการ เกิดปฏิกิริยาอีพ็อกซิเดชั่น คือ อุณหภูมิ 65 องศาเซลเซียส เวลา 5 ชั่วโมง พบว่ามีค่าอีพ็อกซี่ (Epoxy value) สูงสุด เท่ากับ 7.28 และน้ำมันเมล็ดยางพาราอิพ็อกซิไดซ์ (ERSO) และน้ำมันเมล็ดยางพารา อิพ็อกซิไดซ์ผสม ZnO มีประสิทธิภาพการยับยั้งแบคทีเรียชนิด Escherichia coli ATCC 8739 ที่ ระยะเวลาสัมผัส 24 ชั่วโมง พบว่าเชื้อแบคทีเรียบนพื้นที่แผ่นตัวอย่างควบคุม 1 ตารางเซนติเมตร มี ค่าน้อยกว่า 1 โคโลนี. การปรับปรุงสมบัติด้านการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงชีวมวลให้มีคุณภาพดีขึ้นด้วยกระบวนการ ทอร์ริแฟคชัน เป็นการพัฒนามูลค่าเพิ่มให้กับเศษวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมการแปรรูปไม้ เพื่อให้ เกิดความเหมาะสมในการใช้ประโยชน์เป็นแหล่งพลังงานทดแทนถ่านหินและเชื้อเพลิงฟอสซิล ทั้งนี้ สมบัติด้านการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงชีวมวลทั่วไปยังสามารถถูกปรับปรุงให้มีคุณภาพที่ดีขึ้นได้ เพื่อให้มีค่าความร้อนสูงขึ้น สามารถเก็บรักษาได้นานขึ้น และต้นทุนการขนส่งต่อหน่วยพลังงานลดลง ส่งผลดี ต่อภาคอุตสาหกรรมที่ใช้เชื้อเพลิงชีวมวลเป็นพลังงานทดแทนได้ ในการศึกษานี้ได้ทำการปรับปรุง สมบัติของไม้สับและชีวมวลอัดเม็ดจากไม้ยางพารา ด้วยกระบวนการทอร์ริแฟคชันในระดับ ห้องปฏิบัติการที่อุณหภูมิระหว่าง 200-300 องศาเซลเซียส ระยะเวลาประมาณ 10 - 90 นาที พบว่า การทอร์ริแฟคชันช่วยปรับปรุงสมบัติด้านการเผาไหม้ของชีวมวลให้ดีขึ้น โดยชีวมวลอัดเม็ดและไม้สับ จะมีสมบัติที่ดีขึ้น เมื่อใช้อุณหภูมิดำเนินงานที่ 260 และ 300 องศาเซลเซียส ตามลำดับ ซึ่งให้ผลได้ เชิงพลังงานที่ดี นอกจากนี้ การปรับปรุงคุณภาพของชีวมวลด้วยเครื่องปฏิกรณ์ทอร์ริแฟคชันเชิงสาธิต แบบเคลื่อนที่ ทำงานที่อุณหภูมิประมาณ 260 องศาเซลเซียส ในช่วงเวลา 10 - 30 นาที พบว่า เชื้อเพลิงชีวมวลอัดเม็ดทอร์ริไฟด์มีค่าความร้อนประมาณ 21 เมกะจูลต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้นร้อยละ 18 เทียบกับค่าความร้อนของเชื้อเพลิงอัดเม็ดก่อนกระบวนการ. งานวิจัยนี้เป็นการศึกษากระบวนการไพโรไลซิสแบบเร็วของเศษไม้ยางพาราโดยใช้ตัวเร่ง ปฏิกิริยาร่วมด้วย ผลการศึกษาด้วยเครื่องไพโรไลซิสแก๊สโครมาโทกราฟี/แมสสเปกโทรมิเตอร์พบว่า การใช้ตัวเร่งปฏิกิริยา ZSM-5 มีปริมาณผลได้ของไฮโดรคาร์บอนสูงที่สุด ผลการไพโรไลซิสแบบเร็ว โดยอาศัยเครื่องปฏิกรณ์ฟลูอิไดซ์เบด มีปริมาณผลได้ของไบโอออยล์ร้อยละ 45 เป็นน้ำร้อยละ 33 ถ่าน ร้อยละ 17 และ แก๊สร้อยละ 5 ผลของการใช้ตัวเร่งปฏิกิริยา ZSM-5 มีผลได้ของไบโอออยล์แบ่ง ออกเป็นเฟสหนักร้อยละ 5.5 และเฟสเบาร้อยละ 3.5 ส่วนผลได้ของถ่านเป็นร้อยละ 17 ผลของการ ไพโรไลซิสแบบเร็วโดยใช้ตัวเร่งปฏิกิริยา ZSM-5 ด้วยเครื่องไพโรไลซีสแก๊สโครมาโทกราฟี/ แมสสเปกโทรมิเตอร์พบว่าผลได้ของไบโอออยล์เกิดขึ้นได้มากกว่า ทั้งนี้ ความแตกต่างของผลได้ ระหว่างการใช้เครื่องไพโรไลซิสแก๊สโครมาโทกราฟี/แมสสเปกโทรมิเตอร์นั้นจะบอกเพียงผลลัพธ์เชิง คุณภาพ แต่การไพโรไลซิสด้วยเครื่องปฏิกรณ์ฟลูอิไดซ์เบดจะให้ผลได้ทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ. สาระสังเขป: The composition of TH251-RSO Rubber Seed Oil was analyzed using Gas Chromatography, which mainly comprises the fatty acids linoleic acid and oleic acid. TH251-RSO Rubber Seed Oil was selected for synthesis as the epoxidized rubber seed oil. The optimum epoxidation reaction conditions in this study were found at 65°C and a reaction time of 5 hours, which obtained the maximum epoxy value of 7.28. The epoxidized rubber seed oil (ERSO) and the epoxidized rubber seed oil with ZnO were effective in inhibiting Escherichia coli ATCC 8739. At 24 h exposure time, bacteria on the area control sample sheet of 1 cm was less than 1 colony. Improvement of combustible properties of biomass using torrefaction process is a valued creation of waste biomass leftover from the wood processing industry in order to utilize as a renewable energy resource replacing coal and fossil fuel. The traditional solid biofuel could be improved for higher quality and longer shelf life which was effectively supported on the energy unit cost of handling and transportation in any industry. The study on enhancement of fuel properties of wood chip and wood pellet using torrefired process in a laboratory scale setup was investigated at different temperatures (200-300o C) and residence time (10-90 minutes). The results presented that torrefaction could upgrade the fuel quality of biomass. Torrefied wood pellets at 260o C showed the optimal condition to obtain such a product, while the property of wood chips was good enough when operating temperature of 300o C was applied. Torrefaction process using a demonstration unit was also studied at a temperature of 260o C with 10-30 minutes of reaction. The results revealed that the calorific value of torrefied pellet was approximately 21 MJ/kg, an increase of about 18% from the original wood pellet. This research was a study of the fast pyrolysis process of rubber wood using a catalyst. Pyrolysis carried out in Pyrolysis Gas Chromatography with Mass Spectrometry (Py-GC/MS) found that the use of ZSM-5 catalyst in pyrolysis tests could achieve a maximum yield of hydrocarbons. The results of conventional fast pyrolysis in a fluidized bed reactor has a maximum yield of 45% of the bio-oil product, separated into aqueous phase 33%, char 17% and 5% of flue gas. The results of catalytic pyrolysis using ZSM-5 was given the bio-oil yield as heavy and light phases of 5.5% and 3.5%, respectively. However, the experimental results with a catalyst in a fluidized bed pyrolyzer showed a lower bio-oil yield compared to that of a Py-GC/MS. However, the result obtained from the Py-GC/MS was only qualitative but the results obtained from fluidized beds could yield both quantitative and qualitative outputs.
    Average rating: 0.0 (0 votes)
ไม่มีรายการทางกายภาพสำหรับระเบียนนี้

There are no comments on this title.

to post a comment.

Click on an image to view it in the image viewer

    Thailand Institute of Scientific and Technological Research
    35 Mu 3 Technopolis, Tambon Khlong Ha, Amphoe Khlong Luang, Pathum Thani 12120
    ☎ 0 2577 9000, 0 2577 9300