การวิจัยและพัฒนาไบโอพลาสติกจากแป้งสำหรับผลิตภัณฑ์ใช้กับอาหารที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม = Research and development of bioplastic from starch for eco-friendly cutlery / Arisa Jaiyu [et al.] (CONFIDENTIAL)

โดย: Arisa Jaiyu
ผู้แต่งร่วม: Arisa Jaiyu | Julaluk Phunnoi | Passakorn Sueprasit | Borwon Narupai | Nipapon Navongsa | อาริสา ใจอยู่ | จุฬาลักษณ์ พันธ์น้อย | ภาสกร สืบประสิทธิ์ | บวร นฤภัย | นิภาพร ยะวงษา
ข้อมูลการพิมพ์: Pathumthani : Thailand Institute of Scientific and Technological Research, 2024 รายละเอียดตัวเล่ม: 67 p. : tables, ill. ; 30 cm.ชื่อเรื่องอื่นๆ: รหัสโครงการ : 6618302080หัวเรื่อง: PLA | ไบโอพลาสติก | แป้งสาระสังเขป: The environmental challenges posed by non-degradable plastic waste, particularly from single-use food service containers and cutlery, have become increasingly severe. Thermoplastic starch (TPS) and polylactic acid (PLA) offer potential solutions as biodegradable polymers derived from renewable resources. However, blending these polymers, especially at high starch contents, presents miscibility challenges. This study addresses this issue by incorporating vinyl acetate/ethylene copolymer (VAE) as an additive and compatibilizer to enhance the compatibility of the TPS/PLA bioplastic composite Characterization of the TPS/PLA bioplastic composite, with and without VAE, was conducted using Differential Scanning Calorimetry (DSC), Thermogravimetric Analysis (TGA), Fourier Transform Infrared Spectroscopy (FTIR), X-ray Diffraction (XRD), and Melt Flow Rate (MFR). The results indicate that the presence of VAE significantly influences the properties of the TPS/PLA blend, acting as both a compatibilizer and plasticizer Beyond laboratory experimentation, the findings were extrapolated to the semi-industrial level for the preparation of TPS and bioplastic composites, with subsequent molding into specimens and cutlery. The composite bioplastics, produced through injection molding, demonstrated excellent moldability and exhibited favorable mechanical properties suitable for cutlery applications. Furthermore, the use of macromolecular substances as compatibility agents enhances product safety by mitigating the risk of additive contamination. This research contributes to the development of environmentally friendly alternatives to non-degradable plastics, addressing compatibility challenges and promoting the practical application of TPS/PLA bioplastic composites in the production of cutlery and similar productsสาระสังเขป: ปัญหาขยะพลาสติกที่ไม่สามารถย่อยสลายได้เป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมรุนแรงที่สุดปัญหาหนึ่ง โดยเฉพาะขยะพลาสติกจากผลิตภัณฑ์ใช้กับอาหารและช้อนส้อมแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง แป้งเทอร์โม-พลาสติก (ทีพีเอส) และพอลิแล็กติกแอซิด (พีแอลเอ) เป็นพอลิเมอร์ที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพซึ่งผลิตจากทรัพยากรหมุนเวียน มีการศึกษาการผสมกันของทีพีเอสและพีแอลเอพอลิเมอร์อย่างกว้างขวางเนื่องจากต้นทุนต่ำของทีพีเอสและคุณสมบัติเชิงกลของพีแอลเอ อย่างไรก็ตาม การเอาชนะปัญหาการเข้ากันไม่ได้ของทีพีเอส/พีแอลเอ ที่ปริมาณแป้งสูงยังคงเป็นเรื่องที่ท้าทาย เพื่อเอาชนะความเข้ากันไม่ได้ระหว่างเม็ดแป้งที่ชอบน้ำและความไม่ชอบน้ำของพีแอลเอ ในโครงการวิจัยนี้จึงเลือกใช้ไวนิล แอซีเทต/เอทิลีน โคพอลิเมอร์ (วีเออี) เป็นสารเติมแต่งและตัวปรับความเข้ากันได้เพื่อปรับปรุงความเข้ากันได้ พลาสติกชีวภาพคอมโพสิตของทีพีเอส/พีแอลเอ ที่ไม่มีและมีวีเออีถูกวิเคราะห์ด้วย ดิฟเฟอเรนเชียลสแกนนิงแคลอรีเมทรี (ดีเอสซี), การวิเคราะห์เทอร์โมกราวิเมตริก (ทีจีเอ), ฟูเรียร์ทรานส์ฟอร์มอินฟราเรดสเปกโทรสโกปี (เอฟทีไออาร์), เครื่องวิเคราะห์การเลี้ยวเบนของรังสีเอ็กซ์ (เอ็กอาร์ดี) และอัตราการหลอมไหล (เอ็มเอฟอาร์ ) จากผลการทดลองสามารถสรุปได้ว่าวีเออีส่งผลต่อคุณสมบัติของพลาสติกชีวภาพคอมโพสิตทีพีเอส/พีแอลเอ โดยวีเออีสามารถทำหน้าที่เป็นสารเสริมสภาพการเข้ากันได้ และพลาสติไซเซอร์ในทีพีเอส/พีแอลเอ พลาสติกชีวภาพคอมโพสิต จากผลการทดลองนี้ในระดับห้องปฏิบัติการได้นำไปขยายผลในการเตรียมทีพีเอสและพลาสติกชีวภาพคอมโพสิตในระดับกึ่งอุตสาหกรรม และทดลองขึ้นรูปตัวอย่างในลักษณะของชิ้นงานทดสอบและชิ้นงานตัวอย่างที่ใช้กับอาหาร พบว่าพลาสติกชีวภาพคอมโพสิตที่ได้จากโครงการนี้สามารถขึ้นรูปได้อย่างสมบูรณ์ด้วยเทคนิคการฉีดได้และมีคุณสมบัติทางกลที่ดีที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับผลิตภัณฑ์ที่ใช้กับอาหารได้ นอกจากนี้สารเสริมสภาพการเข้ากันได้ที่เลือกใช้สารโมเลกุลขนาดใหญ่ทำให้มีความปลอดภัยมากขึ้นจากปัญหาการปนเปื้อนของสารเติมแต่งที่ใช้ในผลิตภัณฑ์
    Average rating: 0.0 (0 votes)
ไม่มีรายการทางกายภาพสำหรับระเบียนนี้

There are no comments on this title.

to post a comment.
Share
    Thailand Institute of Scientific and Technological Research
    35 Mu 3 Technopolis, Tambon Khlong Ha, Amphoe Khlong Luang, Pathum Thani 12120
    ☎ 0 2577 9000, 0 2577 9300