การใช้ประโยชน์จุลินทรีย์โพรไบโอติกและสารออกฤทธิ์เชิงหน้าที่เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตของโคเนื้อโคนม = Prebiotic and probiotic utilization for increasing of productive and health performance in beef and dairy cattle / Kalaya Boonyanuwat [et al.]

โดย: Kalaya Boonyanuwat
ผู้แต่งร่วม: Kalaya Boonyanuwat | Anusorn Thinowong | Charurak Hongket | Kanthida Jaidee | Jaruwan Sitdhipol | กัลยา บุญญานุวัตร | อนุสรณ์ ธิโนวงค์ | ชารุรักษ์ หงส์เกตุ | กานต์ธิดา ใจดี | จารุวรรณ สิทธิพล
ชื่อชุด: Res. Proj. no. 65-17, Sub Proj. no. 3; no. 1 (Final report)ข้อมูลการพิมพ์: Pathumthani : Thailand Institute of Scientific and Technological Research, 2024 รายละเอียดตัวเล่ม: 38 p. : tables, ill. ; 30 cm.ชื่อเรื่องอื่นๆ: โครงการวิจัยที่ ภ.65-17 การใช้ประโยชน์จุลินทรีย์โพรไบโอติกและสารออกฤทธิ์เชิงหน้าที่เพื่อส่งเสริมสุขภาพและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสัตว์เศรษฐกิจหัวเรื่อง: โพรไบโอติก | โคเนื้อโคนม | โคขุนสาระสังเขป: Prebiotic and probiotic utilization for increasing of productive and health performance in beef and dairy cattle was aimed to produce corn silage using probiotics to increase productivity of beef and dairy cattle in Sakon Nakhon province during April 2022-March 2023. The 3 trials were conducted: 1) Development of corn silage using probiotics to enhance digestibility and growth performance in feedlot beef cattle of farmers in the Pon Yang Kham Livestock Breeding Cooperative NSC Ltd. The RCBD trial consisted of 2 treatments (1 control, no probiotic corn silage and 2 probiotic corn silage) using farm as block. Farmers participated in this trial. There were 2 groups at 400-600 kg and in the last 3 months before sending to the slaughterhouse. Data collecting were body weight, ADG, carcass percentage and corn silage quality. 2) Development of corn silage using probiotics to enhance digestibility and milk production performance in dairy cows at Sakon Nakhon Livestock Research and Breeding Center. The CRD trial consisted of 2 treatments (same as trial 1), 5 cattle in each treatment. Data collecting were 4% FCM/day, corn silage quality and ammonia emission. and 3) the development of ready-to-use microorganism probiotics for silage production. The results showed that Trial 1 in both phases, the corn silage with probiotics group had a higher ADG than corn silage without probiotics (400-600 kg 0.91+0.19 vs 0.80+0.19 kg/head/day p<0.05, last 3 months 1.07+0.16 vs 0.93+0.18 p<0.05). The ammonia emission of probiotic group was lower. In trial 2, corn silage with probiotics gave higher in 4% FCM/head/day, %fat than corn silage without probiotics (4% FCM 10.97+2.67 vs 10.31+2.41 kg/head/day p<0.05, %fat 4.28+0.34 vs 3.94+0.47 % p<0.01). It resulted lower ammonia emission than corn silage without probiotics. (5.60+2.49 vs 6.80+2.14 ppm. P<0.01). Development of ready-to-use microbial products for silage production it has been developed as a liquid and powder. Farmers are interested in almost all powder. Because it is more convenient to use. The results from corn silage with probiotics treatment had better productivity and friendly environment. Therefore, encouraging farmers to use corn silage with probiotics in dairy and beef cattle will increase productivity and friendly environment. สาระสังเขป: การใช้ประโยชน์จุลินทรีย์โพรไบโอติกและสารออกฤทธิ์เชิงหน้าที่ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตโคเนื้อโคนม มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตของโคนมและโคขุน จังหวัดสกลนคร ระหว่างเมษายน 2565-มีนาคม 2566 การศึกษามี 3 การทดลอง คือ 1) การพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารหยาบหมักต้นแบบเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการย่อยได้ และสมรรถภาพการเจริญเติบโตในโคขุน ในฟาร์มโคขุนลูกผสมของเกษตรกรสมาชิก สหกรณ์การเลี้ยงปศุสัตว์ กรป. กลาง โพนยางคำ จำกัด ใช้แผนทดลองแบบ RCBD (Randomized Completely Block Design) มีฟาร์มเกษตรกรเป็น block และเกษตรกรมีส่วนร่วม ทดลองในโคขุนน้ำหนักตัว 400-600 กิโลกรัม และ 3 เดือนสุดท้ายก่อนส่งโรงฆ่าสัตว์ มี 2 ทรีตเมนต์ (ทรีตเมนต์ 1 กลุ่มควบคุมให้ข้าวโพดหมักโดยไม่ใช้โพรไบโอติก และทรีตเมนต์ 2 ให้ข้าวโพดหมักด้วยโพรไบโอติก) โดยเก็บข้อมูลน้ำหนักตัว อัตราการเจริญเติบโต คุณภาพซาก คุณภาพข้าวโพดหมัก และปริมาณแอมโมเนีย 2) การพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารหยาบหมักต้นแบบเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการย่อยได้ และสมรรถภาพการผลิตน้ำนมในโคนม ที่ศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์สกลนคร แผนทดลองแบบ CRD (Completely Random Design) มี 2 ทรีตเมนต์ (เหมือนกับการทดลองที่ 1 ทรีตเมนต์ละ 5 ตัว เก็บข้อมูลปริมาณน้ำนมต่อวัน คุณภาพน้ำนม คุณภาพข้าวโพดหมัก และปริมาณแอมโมเนีย และ 3) การพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์จุลินทรีย์สำเร็จรูปพร้อมใช้สำหรับการทำหญ้าหมัก จากการศึกษาพบว่า การทดลองที่ 1 โคทั้ง 2 ระยะ กลุ่มที่กินข้าวโพดหมักด้วยโพรไบโอติกมีอัตราการเจริญเติบโตต่อวันสูงกว่ากลุ่มที่ไม่ใช้โพรไบโอติก (ระยะ 400-600 กิโลกรัม 0.910+0.19 และ 0.80+0.19 กิโลกรัม/ตัว/วัน p<0.05, ระยะ 3 เดือนสุดท้าย 1.07+0.16 และ 0.93+0.18 กิโลกรัม/ตัว/วัน p<0.05) ส่วนปริมาณแอมโมเนีย พบว่าในกลุ่มที่ใช้โพรไบโอติกปล่อยแอมโมเนียในปริมาณที่ต่ำกว่า สำหรับการทดลองที่ 2 การใช้โพรไบโอติกในการทำข้าวโพดหมัก มีผลทำให้ร้อยละ 4 Fat corrected milk (FCM)/ตัว/วัน ร้อยละไขมันนมสูงกว่าการไม่ใช้โพรไบโอติก ร้อยละ 4 FCM ต่อวัน เฉลี่ย 10.97+2.67 และ 10.31+2.41 กิโลกรัม p<0.05, ร้อยละไขมันนม 4.28+0.34 และร้อยละ 3.94+0.47 p<0.01) ปริมาณแอมโมเนียต่ำกว่าการไม่ใช้โพรไบโอติก (5.60+2.49 และ 6.80+2.14 ppm. p<0.01) การพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์จุลินทรีย์สำเร็จรูปพร้อมใช้สำหรับการทำหญ้าหมัก เป็นแบบของเหลวและผงบรรจุซอง เกษตรกรสนใจแบบผงบรรจุซองเกือบทั้งหมด เพราะสะดวกในการใช้มากกว่า จะเห็นได้ว่าการทำข้าวโพดหมักโดยใช้โพรไบโอติกทำให้ประสิทธิภาพการผลิตทั้งโคเนื้อและโคนมดีกว่า ดังนั้นการส่งเสริมให้เกษตรกรใช้โพรไบโอติกในการหมักข้าวโพดจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
    Average rating: 0.0 (0 votes)
ไม่มีรายการทางกายภาพสำหรับระเบียนนี้

There are no comments on this title.

to post a comment.
    Thailand Institute of Scientific and Technological Research
    35 Mu 3 Technopolis, Tambon Khlong Ha, Amphoe Khlong Luang, Pathum Thani 12120
    ☎ 0 2577 9000, 0 2577 9300