การวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์นำส่งยาต้านการอักเสบในช่องปากจากสารสกัด และสารบริสุทธิ์ออกฤทธิ์จากสมุนไพรโดยใช้เทคโนโลยีวัสดุ= Research and development of drug delivery product for oral anti-inflammation from medicinal plant extract and its active pure compound using material technology/ Khanittha Chawananorasest [et al.] (CONFIDENTIAL)

โดย: Khanittha Chawananorasest
ผู้แต่งร่วม: Khanittha Chawananorasest | Patsuda Saengtongdee | Jate Panichpakdee | Wipaporn Phatvej | Tuanta Sematong | Amonrat Khayungarnnawee | Pattarawadee Kengkwasingh | Praphakorn Kaemchantuek | Anchisa Promta | Boonrukas Gussayakorn | Sawai Nakakaew | Sirinan Thubthimthed | ขนิษฐา ชวนะนรเศรษฐ์ | ภัทรสุดา แสงทองดี | เจต พานิชภักดี | วิภาพร พัฒน์เวช | เตือนตา เสมาทอง | อมรรัตน์ ขยันการนาวี | ภัทรวดี เก่งกว่าสิงห์ | ประภากร แค่มจันทึก | อัญชิสา พรมทา | บุญรักษา กัสยากร | ไสว นาคาแก้ว | ศิรินันท์ ทับทิมเทศ
BCG: สารสกัด TRM: สุขภาพ กลุ่มสมุนไพร ชื่อชุด: Res. Proj. no. 58-24, Sub Proj. no. 5; no.1 (Final report) (CONFIDENTIAL)ข้อมูลการพิมพ์: Pathumthani : Thailand Institute of Scientific and Technological Research, 2023 รายละเอียดตัวเล่ม: 162 p. : ill. ; 30 cm.ชื่อเรื่องอื่นๆ: โครงการวิจัยที่ ภ.58-24 การวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์นำส่งยาต้านการอักเสบในช่องปากจากสารสกัดและสารบริสุทธิ์ออกฤทธิ์จากสมุนไพรโดยใช้เทคโนโลยีวัสดุหัวเรื่อง: ยาต้านการอักเสบ | สมุนไพร | เทคโนโลยีวัสดุสาระสังเขป: Tamarind seed polysaccharides (TSP) was extracted from Tamarindus indica seed from the ripen fruits, biopolymer using for nanofibers , food and pharmaceutical industries according to its viscosity, mucoadhesive, and biocompatibility properties which can be developed for oral drug delivery system. In this research and development has used tamarind seed from 4 sources such as Nai Vinai farm (A) grown in Petchaboon province, tamarind seed waste from tamarind food juice industry for export (B), tamarind powder from Ichihara company limited (C) and tamarind seed sweet "Si Thong" variety, bought from Talad Thai market (D). TSP extraction procedure started from slurry prepared from soaked with water for overnight and then centrifuged speed at 6,000 rpm. For 20 minutes, following by precipitated the supernatant by 95%ethanol with continuously stir. Separated the white appearing gel from the solvent, dried in oven at 50 0C and grounded, yielding (A), (B), (C), (D); 31.55%, 26.95%, 17.30%, and 53.20% respectively. The TSP Chemical analysis by NMR, FT-IR, X- ray, TSP sugar constituents by HPLC, resulted in glucose, galactose, xylose and fructose. The active ingredients were extracted from Kaempferia parviflora rhizome, the freeze-dry curcuma aromatica rhizome extract, piper betel extract and eugenol for the pharmaceutical evaluation for inti-inflammation and cytotoxicity in U-937 (Human monocyte cell line, CRL-1593.2) exhibited that eugenol and freeze-dry extract of Curcuma aromatica decreased the inflammation 1.25 and 1.08 times of Lypopolysaccharide (LPS), respectively. The TSP film products have prepared from eugenol and freeze-dry extract of Curcuma aromatica and the products have evaluated for anti-inflammation in mouse (RAW 2647) compared to commercial product, Canker cover, supplied in European countries, and illustrated the TSP product with eugenol active ingredient gave the best result for decreasing nitric oxide quantity and better than standard Dicofenac and Canker cover; 18.72 µg/mM, 26.36 µg/mM and 30.09 µg/mM, respectively and the freeze-dry curcuma aromatica rhizome extract was the weakest activity at 33.15 µg/mM. In addition, the product TSP film with eugenol decreased protein pro-inflammation cytokine tumor necrosis factor (TNF-α) better than Dicofenac and Canker cover product; 1200 pg/mL, 1317 pg/mL and 1400 pg/mL, respectively. The TSP film product prepared with freeze-dry Curcuma aromatica showed better activity (1308 pg/mL) than Dicofenac and Canker cover product. Acute oral toxicity evaluation found TSP material; all herbal extracts and TSP film products were safe. The electrospinning of nanofiber mats product with eugenol active ingredient was developed from TSP in the difference ratios of polyethylene glycol (PEG) for oral anti-inflammation. Besides, the TSP materials, the herbal extracts and the products were test and evaluation of stability test, swelling index, mucoadhesive, drug release and more application such as facial hydrogel mask, facial serum, toothpaste and skin mucoadhesive patch by using TSP as the main ingredient for the future uses.สาระสังเขป: Tamarind seed polysaccharides (TSP) สกัดได้จากเมล็ดในของมะขาม (Tamarindus indica Linn.) เป็นพอลิเมอร์จากธรรมชาติที่ใช้ในอุตสาหกรรมเส้นใย อาหารและเภสัช เนื่องจากมีความหนืดสูง มีคุณสมบัติยึดติดและมีความเข้ากันได้ดีกับเนื่อเยื่อจึงนำไปพัฒนาในด้านการปลดปล่อยยา ในช่องปากได้ ในงานวิจัยนี้ทำการสกัด TSP จากวัตถุดิบเมล็ดมะขามจาก 4 แหล่งคือ เมล็ดมะขามจากไร่นายวินัย (A) จังหวัดเพชรบูรณ์, เมล็ดมะขามเหลือทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรมส่งออกน้ำมะขามเปรี้ยว (B), แป้งเมล็ดมะขามจากโรงงานอุตสาหกรรมอิชิฮารา (ประเทศไทย) จำกัด (C) และเมล็ดมะขามหวานพันธุ์สีทอง แหล่งจำหน่ายจากตลาดไท (D) โดยมีกรรมวิธีเตรียมแป้งเมล็ดมะขาม วิธีการสกัด TSP จากแป้งเมล็ดมะขามโดยทำให้เป็น slurry ด้วยน้ำ ตั้งทิ้งไว้ 1 คืน จากนั้นหมุนเหวี่ยงที่ 6,000 รอบ/นาที เป็นเวลา 20 นาที ตกตะกอน supernatant ด้วยเอทานอล 95 เปอร์เซ็นต์ โดยคนอย่างต่อเนื่องในระหว่างตกตะกอน แยกส่วนตะกอนวุ้นขาวที่เกิดขึ้น อบให้แห้งที่อุณหภูมิ 50 องศาเซลเซียส บดละเอียดหลังจากแห้ง ได้เปอร์เซ็นต์ผลผลิต (A), (B), (C) และ (D) ตามลำดับ ดังนี้ 31.55, 17.39, 53.65 และ 53.20 เปอร์เซ็นต์ วิเคราะห์ผง TSP ด้วยเทคนิคทาง NMR, FT-IR, SEM และ X-ray วิเคราะห์องค์ประกอบของน้ำตาลใน TSP ด้วยวิธี HPLC มีองค์ประกอบหลักเป็นน้ำตาลกลูโคส, กาแล็กโทส, ไซโลส และฟรักโทส โดยมีสารสกัดจากกระชายดำ ว่านนางคำฟรีซดราย สารสกัดใบพลู และ Eugenol เป็นสารสำคัญออกฤทธิ์ ในการทดสอบฤทธิ์ต้านอักเสบและความเป็นพิษในเซลล์มนุษย์ U-937 (Human monocyte cell line, CRL-1593.2) พบว่า Eugenol และสารสกัดว่านนางคำฟรีซดราย สามารถลดการอักเสบได้เมื่อกระตุ้นการอักเสบด้วยไลโปพอลิแซ็กคาไรด์ (LPS) จึงเตรียมเป็นผลิตภัณฑ์แผ่นฟิล์ม TSP ผสม eugenol และผลิตภัณฑ์แผ่นฟิล์ม TSP ผสมสารสกัดว่านนางคำฟรีซดราย นำไปทดสอบฤทธิ์ต้านการอักเสบในเซลล์หนูmouse (RAW 2647) เปรียบเทียบกับผลิตภัณฑ์ทางการค้า Canker cover ที่จำหน่ายในประเทศแถบยุโรปพบว่า ผลิตภัณฑ์แผ่นฟิล์มที่มียูจีนอลเป็นสารสำคัญมีฤทธิ์ลดปริมาณ nitric oxide ได้ดีกว่า สารมาตรฐาน Dicofenac และผลิตภัณฑ์ Canker cover ตามลำดับดังนี้ 18.72, 26.36, 30.09 และสารสกัดว่านนางคำ 33.15 ไมโครกรัม/มิลลิโมลาร์ มีฤทธิ์น้อยกว่า Canker cover และผลิตภัณฑ์แผ่นฟิล์มที่มียูจีนอลเป็นสารสำคัญมีฤทธิ์ลดปริมาณโปรตีนชนิด pro-inflammation cytokine tumor necrosis factor (TNF-α) ได้ดีกว่าสารมาตรฐาน Dicofenac และผลิตภัณฑ์ Canker cover ตามลำดับ ดังนี้ 1,200, 1,317 และ 1,400 พิโคกรัม/มิลลิลิตร ตามลำดับ ส่วนผลิตภัณฑ์แผ่นฟิล์มผสมสารสกัดว่านนางคำ (1308 พิโคกรัม/มิลลิลิตร) มีฤทธิ์ดีกว่า Dicofenac และผลิตภัณฑ์ canker cover แต่ฤทธิ์น้อยกว่าแผ่นฟิล์มที่มียูจีนอล จากการทดสอบความเป็นพิษของวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์ทั้งสองชนิดพบว่ามีความปลอดภัย นอกจากนี้ได้ทำการทดลองขึ้นรูปเส้นใยของผลิตภัณฑ์ที่มียูจีนอลเป็นองค์ประกอบโดยใช้เทคโนโลยีวัสดุ Electrospinning ในอัตราส่วนที่แตกต่างกันกับ polyethylene glycol (PEG) เพื่อขึ้นรูป nano-fiber mats เพื่อใช้เป็นวัสดุปิดแผลลดการอักเสบของแผลในช่องปาก นอกจากนี้วัตถุดิบสารตั้งต้นและผลิตภัณฑ์ได้มีการทดสอบทางเคมี ความคงตัว swelling index Mucoadhesive Drug release นอกจากนี้มีการประยุกต์ใช้ TSP ได้หลายรูปแบบ เช่น พัฒนาเป็น Hydrogel mask serum บำรุงผิวหน้า ยาสีฟัน และแผ่นแปะผิวภายนอก โดยมี TSP ingredients เพื่อเป็นแนวทางการนำไปใช้ในอนาคตต่อไป.
    Average rating: 0.0 (0 votes)
ไม่มีรายการทางกายภาพสำหรับระเบียนนี้

There are no comments on this title.

to post a comment.

Click on an image to view it in the image viewer

    Thailand Institute of Scientific and Technological Research
    35 Mu 3 Technopolis, Tambon Khlong Ha, Amphoe Khlong Luang, Pathum Thani 12120
    ☎ 0 2577 9000, 0 2577 9300