พัฒนาฐานข้อมูลของสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ของมะม่วงหิมพานต์ในจังหวัดตัวแทนเขตภาคเหนือ = The database development of cashew nut geographic indication in northern provinces / Jaruwan Sitdhipol [et al.]

โดย: Jaruwan Sitdhipol
ผู้แต่งร่วม: Jaruwan Sitdhipol | Kanidta Niwasabutra | Siritham Singhtho | Rachain Visutthipat | Punnathorn Taveeteptaikul | Natnirin Booranasakawee | Nowwapan Donrung | Smarn Gerdpratum | Neungnut Chaiyawan | Wanvipha Chuenchom | Vorawan Keeratimaneekorn | จารุวรรณ สิทธิพล | ขนิษฐา นิวาศะบุตร | ศิริธรรม สิงห์โต | ราเชนทร์ วิสุทธิแพทย์ | ปัณณธร ทวีเทพไทกุล | ณัฐณิรินทร์ บูรณะสระกวี | เนาวพันธ์ ดลรุ้ง | สมาน เกิดประทุม | หนึ่งนุช ไชยวรรณ์ | วรรณวิภา ชื่นชม | วรวรรณ กีรติมณีกร
BCG: เกษตรปลอดภัย TRM: นวัตกรรมการเกษตร ข้อมูลการพิมพ์: Pathumthani : Thailand Institute of Scientific and Technological Research, 2025 รายละเอียดตัวเล่ม: 137 p. : tables, ill. ; 30 cm.ชื่อเรื่องอื่นๆ: รหัสโครงการ : 6618103064หัวเรื่อง: มะม่วงหิมพานต์ | ฐานข้อมูล | สิ่งบ่งชีทางภูมิศาสตร์สาระสังเขป: Development of a database of geographical indications of cashew nut in the representative province of the northern region, the objective is to collect data on cashew nut species and cultivation in various districts of Uttaradit Province including the molecular level. The geographical indications including developing a database according to international standards is necessary for registration of geographical indications and protection of cashew rights in Uttaradit Province. Conducting field visits to survey and collect agricultural data such as soil analysis data, water data resources, rainfall, climate, plant disease and pest data, then collect cashew samples in Tha Pla District, Uttaradit Province and the other provinces. For the results of soil analysis in the cashew planting area found that all 5 soil samples had low fertility conditions and is very acidic, the pH ranged from 3.82 to 5.42, the total nitrogen content ranged from 0.17 to 0.20 percent, the total phosphorus ranged from 0.04 to 0.15 percent, and the total potassium content ranged from 0.04 to 0.14 percent. The most common species that farmers grow are popular with all 3 species, namely Sisaket 60-1, Sisaket 60-2 and Srivichai 25, with the most common species being Sisaket 60-1. DNA samples were extracted in the leaves for DNA pattern and seeds were extracted for amino acid profile and fatty acid profile, while the fruit was extracted for sugar. Analysis of fatty acid and amino acid content in cashew nuts can be used to differentiate cashews between cashews from Uttaradit Province and cashews from other areas. The analysis of electronic nose in terms of odor is another tool that can be used to tell the difference between cashews from Uttaradit province and cashews from other areas as well. As for the analysis of electronic tongue in terms of taste, it was found that could not tell the difference from Uttaradit and other provinces primers were designed to look at the differences in the pattern DNA. Various RAPD primer techniques were used and found that RAPD technique gave similar pattern bands, while ISSR technique in some primers could tell the difference of pattern DNA in different areas. The results were analyzed using the program R and found that eleven primers were able to separate cashew from the northern region from the eastern region Isan and the south and not gave the same pattern. The results obtained will be further analyzed using the program. From the obtained data, fatty acid profile, amino acid profile, electronic nose analysis and RAPD and ISSR techniques using specific primers can be used as a database necessary for registration of geographical indications and protection of cashew nuts in the region, Uttaradit Provinceสาระสังเขป: การพัฒนาฐานข้อมูลของสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ของมะม่วงหิมพานต์ในจังหวัดตัวแทนเขตภาคเหนือ มีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมข้อมูลสายพันธุ์มะม่วงหิมพานต์ และข้อมูลเชิงพื้นที่ ที่ใช้เพาะปลูกในอำเภอต่างๆ ของจังหวัดอุตรดิตถ์ รวมถึงองค์ประกอบในระดับโมเลกุล เพื่อใช้เป็นข้อมูลสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ รวมถึงพัฒนาฐานข้อมูลตามมาตรฐานสากล ที่จำเป็นสำหรับการจดทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์และคุ้มครองสิทธิ์ของมะม่วง หิมพานต์ในจังหวัดอุตรดิตถ์ ซึ่งมีการดำเนินงานลงพื้นที่เพื่อสำรวจและเก็บข้อมูลเขตกรรม เช่น ข้อมูลค่าวิเคราะห์ดิน ข้อมูลแหล่งน้ำ ปริมาณน้ำฝน สภาพภูมิอากาศ ข้อมูลโรคพืช และศัตรูพืช สำหรับผลการวิเคราะห์ดินในพื้นที่ปลูกมะม่วงหิมพานต์ พบว่าดินทั้ง 5 แหล่ง มีสภาพความอุดมสมบูรณ์ต่ำ และมีสภาพเป็นกรดจัด โดยมีค่าความเป็นกรด-ด่าง อยู่ในช่วง 3.82 ถึง 5.42 ปริมาณไนโตรเจนทั้งหมดอยู่ในช่วงร้อยละ 0.17 ถึง 0.20 ปริมาณฟอสฟอรัสทั้งหมดอยู่ในช่วงร้อยละ 0.04 ถึง 0.15 และปริมาณโพแทสเซียมทั้งหมดอยู่ในช่วงร้อยละ 0.04 ถึง 0.14 โดยสายพันธุ์ที่พบส่วนมากที่เกษตรกรนิยมปลูกมีทั้งหมด 3 สายพันธุ์ คือ ศรีสะเกษ 60-1 ศรีสะเกษ 60-2 และศรีวิชัย 25 โดยพันธุ์ที่พบมากที่สุดคือ ศรีสะเกษ 60-1 จากนั้นจึงรวบรวมข้อมูลและเก็บตัวอย่างพันธุ์มะม่วงหิมพานต์ใน อ.ท่าปลา จ.อุตรดิตถ์ และจังหวัดอื่นๆ แล้วนำมาวิเคราะห์ DNA pattern (ในส่วนใบ) องค์ประกอบของกรดไขมัน (fatty acid profile) และกรดแอมิโน (amino acid) ในส่วนของเมล็ด รวมถึงองค์ประกอบน้ำตาล (sugar profile) ในส่วนของผลเทียมโดยการวิเคราะห์ปริมาณกรดไขมัน และกรดแอมิโน รวมถึงการวิเคราะห์ค่าความอร่อยในรูปกลิ่นในเมล็ดมะม่วงหิมพานต์สามารถใช้เป็นเครื่องมือบอกความแตกต่างของเมล็ดมะม่วงหิมพานต์จากจังหวัดอุตรดิตถ์กับเมล็ดมะม่วงหิมพานต์จากพื้นที่จังหวัดอื่นได้ ส่วนการวิเคราะห์ค่าความอร่อยในรูปรสพบว่าไม่สามารถบอกความแตกต่างของเมล็ดมะม่วงจากอุตรดิตถ์กับพื้นที่จังหวัดอื่นๆ ได้ สำหรับการออกแบบไพรเมอร์ เพื่อใช้ในการแยกความแตกต่างของ pattern DNA ที่เกิดขึ้น ซึ่งผลการวิเคราะห์โดยใช้เทคนิค Random Amplified Polymorphic DNA (RAPD) พบว่าเทคนิค RAPD ให้ pattern ที่มีความคล้ายคลึงกันและไม่สามารถบอกความแตกต่างของเมล็ดมะม่วงจากอุตรดิตถ์กับแหล่งอื่นได้ และเทคนิค Inter Simple Sequence Repeat (ISSR) ในบางไพรเมอร์สามารถบอกความแตกต่างของ pattern ในพื้นที่ที่ต่างกันได้ โดยเมื่อแปรผลวิเคราะห์ที่ได้โดยใช้โปรแกรม R พบว่า ไพรเมอร์จำนวน 11 คู่ มีความสามารถในการแยกชนิดของมะม่วงหิมพานต์จากภาคเหนือออกจากภาคตะวันออก อีสานและใต้ได้ ซึ่งจากข้อมูลที่ได้สามารถใช้กรดไขมัน และกรดแอมิโน การวิเคราะห์ค่าความอร่อยในรูปกลิ่น และเทคนิค RAPD และ ISSR โดยใช้ไพรเมอร์จำเพาะในการใช้เป็นฐานข้อมูลสำหรับการจดทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์และคุ้มครองสิทธิ์ของมะม่วงหิมพานต์ในจังหวัดอุตรดิตถ์
    Average rating: 0.0 (0 votes)
ไม่มีรายการทางกายภาพสำหรับระเบียนนี้

There are no comments on this title.

to post a comment.
    Thailand Institute of Scientific and Technological Research
    35 Mu 3 Technopolis, Tambon Khlong Ha, Amphoe Khlong Luang, Pathum Thani 12120
    ☎ 0 2577 9000, 0 2577 9300