การวิจัยและพัฒนาการผลิตไบโอไฮโดรเจนจากกากน้ำตาลเพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในระดับขยายขนาด = Research and development on biohydrogen production with molasses for applying in large capacity / Kuntima Krekkeitsakul [et al.]

โดย: Kuntima Krekkeitsakul
ผู้แต่งร่วม: Kuntima Krekkeitsakul | Rujira Jitrwung | Chiraphat Kumpidet | Hiran Jinda | Parinya Thongyindee | กันทิมา เกริกเกียรติสกุล | รุจิรา จิตรหวัง | จิราพัชร คำพิเดช | หิรัญ จินดา | ปริญญา ทองยินดี
ข้อมูลการพิมพ์: Pathumthani : Thailand Institute of Scientific and Technological Research, 2025 รายละเอียดตัวเล่ม: 67 p. : tables, ill. ; 30 cmชื่อเรื่องอื่นๆ: รหัสโครงการ : 6618301140หัวเรื่อง: กากน้ำตาล | ไบโอไฮโดรเจน | ผลิตภัณฑ์พลอยได้สาระสังเขป: This research was tested hydrogen production via biological method from molasses which obtained from sugar industrial. The composition in molasses contains mono and double sugar, as carbon and nitrogen source which was importuned to bacteria growth. Research was focused on bringing molasses to value-add bio-hydrogen by dark fermentative. Typically, biohydrogen consists of half hydrogen and carbon dioxide. Therefore, this research aims to study 1) Appropriate concentration of molasses 2) The amount of chemicals and nutrients which was added in fermentation process to improve hydrogen to carbon dioxide ratio. 3) Expand production capacity from 100 ml in serum bottle to 10-liter bioreactor. Fermentation was carried out by using Enterobacter aerogenes with under pH =7.0, temperature = 37 °C. The adding of calcium oxide, magnesium oxide and potassium hydroxide were investigated in concentration 1, 2, 3, 4 and 5 g/l, respectively. The amounts of micronutrients (nickel chloride and ferrous sulfate) concentrations of 0, 0.1and 0.01 g/l, molasses concentration of 20, 30 and 40 g/l were investigated. Biohydrogen was produced continuously. The results of the study shown that the optimum concentration of molasses was 30 g/l, the highest gas accumulation after 72 hr. was obtained 31.36 liters with the highest hydrogen to carbon dioxide ratio equal to 1.0. The chemical of 4 g/l potassium hydroxide can be reduced carbon dioxide in biohydrogen compared with calcium oxide and calcium oxide. The micronutrients, nickel chloride and ferrous sulfate, was proper at 0.01 g/l. สาระสังเขป: งานวิจัยนี้ได้ทำการทดลองการผลิตไฮโดรเจนด้วยวิธีทางชีวภาพจากกากน้ำตาล ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์พลอยได้จากกระบวนการผลิตน้ำตาลในขั้นสุดท้าย ที่มีองค์ประกอบน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวและคู่สูงทำให้สามารถนำมาใช้เป็นแหล่งคาร์บอนและไนโตรเจนที่สำคัญต่อการเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์ งานวิจัยจึงมุ่งเน้นนำกากน้ำตาลมาเพิ่มมูลค่าโดยการนำมาผลิตเป็นไบโอไฮโดรเจน ด้วยวิธีการหมักแบบไม่ใช้แสง โดยทั่วไปไบโอไฮโดรเจนประกอบด้วยก๊าซไฮโดรเจนและก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในสัดส่วนอย่างละครึ่ง ดังนั้นงานวิจัยจึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ความเข้มข้นของกากน้ำตาลที่เหมาะสม 2) ปริมาณสารเคมีและธาตุอาหารที่เติมในการบวนการหมักเพื่อเพิ่มสัดส่วนไฮโดรเจนต่อคาร์บอนไดออกไซด์ 3) การขยายกำลังการผลิตจากขวดทดลอง 100 มิลลิลิตร ไปสู่เครื่องปฏิกรณ์ชีวภาพขนาด 10 ลิตร โดยดำเนินการหมักด้วยเชื้อเอนเทอโรแบคเตอร์ แอโรจีเนส (บนสภาวะค่าพีเอชเท่ากับ 7.0 อุณหภูมิเท่ากับ 37 องศาเซลเซียส) ปัจจัยที่ศึกษาได้แก่ ปรับปรุงสัดส่วนลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในกระบวนการหมัก ทดสอบปริมาณธาตุอาหารเสริมที่เติมให้แบคทีเรีย ได้แก่ นิกเกิลคลอไรด์และเฟอร์รัสซัลเฟต (ความเข้มข้น 0, 0.1 และ 0.01 กรัมต่อลิตร) ทดสอบปริมาณความเข้มข้นของกากน้ำตาล (ความเข้มข้น 20, 30 และ 40 กรัมต่อลิตร) และทำการเลี้ยงเชื้อแบบต่อเนื่องเพื่อทดสอบเสถียรภาพการผลิตก๊าซไบโอไฮโดรเจน จากผลการศึกษาพบว่าความเข้มข้นของกากน้ำตาลที่เหมาะสมเท่ากับ 30 กรัมต่อลิตร ให้ผลปริมาณก๊าซสะสมสูงที่สุดเท่ากับ 31.36 ลิตร มีอัตราส่วนของก๊าซไฮโดรเจนต่อก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สูงมากที่สุดเท่ากับ 1.0 ที่ระยะเวลาหมัก 72 ชั่วโมง การลดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในไบโอไฮโดรเจนด้วยสารเคมีพบว่าสารโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ที่ความเข้มข้น 4 กรัมต่อลิตร สามารถลดก๊าซคาร์บอน- ไดออกไซด์ได้มากกว่าสารแคลเซียมออกไซด์และแคลเซียมออกไซด์ และปริมาณธาตุอาหารเสริมที่เติมให้แบคทีเรีย พบว่าการเติมสารนิกเกิล คลอไรด์และเฟอร์รัสซัลเฟตที่เหมาะสมเท่ากับ 0.01 กรัมต่อลิตร
    Average rating: 0.0 (0 votes)
ไม่มีรายการทางกายภาพสำหรับระเบียนนี้

There are no comments on this title.

to post a comment.
    Thailand Institute of Scientific and Technological Research
    35 Mu 3 Technopolis, Tambon Khlong Ha, Amphoe Khlong Luang, Pathum Thani 12120
    ☎ 0 2577 9000, 0 2577 9300