การพิสูจน์สรรพคุณลดระดับน้ำตาลในเลือด และประเมินความปลอดภัยของสารออกฤทธิ์เชิงหน้าที่จากจุลินทรีย์เป้าหมาย = Evaluation on hypoglecemic activity and safety of bioactive imgredients from targeted microbes / Sarunya Laovitthayanggoon [et al.] (CONFIDENTIAL)

โดย: Sarunya Laovitthayanggoon
ผู้แต่งร่วม: Sarunya Laovitthayanggoon | Prapaipat Klungsupya | Amonrat O'Reilly | Pataranapa Nimtrakul | Supatjaree Ruengsomwong | Tantima Kumlang | Warakorn Songmuang | Nantaporn Pinnak | ศรัญญา เหล่าวิทยางค์กูร | ประไพภัทร คลังทรัพย์ | อมรรัตน์ โอไรลีย์ | ภัทรนภา นิ่มตระกูล | สุภัจรี เรืองสมวงศ์ | ตันติมา กำลัง | วรากร สองเมือง | นันทพร ปิ่นนาค
ข้อมูลการพิมพ์: Pathumthani : Thailand Institute of Scientific and Technological Research, 2024 รายละเอียดตัวเล่ม: 127 p. : tables, ill. ; 30 cmชื่อเรื่องอื่นๆ: รหัสโครงการ : 6618202157หัวเรื่อง: โรคเบาหวาน | ฮอร์โมนอินซูลิน | โพรไบโอติกสาระสังเขป: Diabetes mellitus (DM) occurs when the body has high blood sugar (glucose) level caused by metabolic disorders of carbohydrate, lipid and protein. The main mechanism is caused by insufficient production of the hormone insulin from pancreas or abnormal insulin function. Diabetic patients do not produce enough insulin to move the glucose into the cells. If the cells stop responding normally to insulin (called insulin resistance), the resulting high levels of sugar in the blood Research on “Evaluation on hypoglycemic activity and safety of bioactive ingredients from targeted microbes” is the seventh of thirteen sub-programs under the core programme named: National bio-based innovation in the production of functional active ingredients for health food and beauty industries for the population in the 21st century, implemented during 2021-2023. The objective of this sub-program was to study the biological activity of various functional active compounds from microorganisms and functional active substances such as vitamins and polysaccharides from the jelly and gilled mushrooms. The samples used in this study were 14 probiotic strains named SUP1 to SUP14 (strain details inside) from TISTR's Probiotic Bank and three mushroom extracts including Ganoderma lucidum, Pleurotus eryngii and Lentinula edodesgii from the Expert center of innovative agriculture (InnoAg). This sub-research project was conducted under both in vitro and in vivo conditions The in vitro efficacy test was performed primarily by chemical by inducing cell cultures with the chemical streptozotocin (STZ). STZ is a glucosamine–nitrosourea compound derived from Streptomyces achromogene. STZ damages pancreatic β cells, resulting in hyperinsulinemia and hyperglycemia. This study investigated the protective effect of SUP1-SUP14 which are Thai human probiotics (TISTR strains) and mushroom extracts against STZ-induced toxicity in pancreatic beta () cell line (RIN-5F). The results shown that co-treatment of RIN-5F cells with various doses (107 to 109 CFU/ml) of SUP1 to SUP14 was able to significantly (p<0.05) reduce the cytotoxicity induced by STZ. However, this activity was not observed in SUP8. In case of mushrooms, Eryngii extract (0.05-0.50 mg/ml concentration) and Linzhi extract (0.05-0.10 mg/ml concentration) attenuated STZ (5 mM)-induced cellular toxicity, whereas the Shiitake mushroom had inefficience Among these test substances, probiotics Lacticaseibacillus paracasei (SUP3), Limosilactobacillus reuteri (SUP4) and Bifidobacterium pseudolongum (SUP14) and Eringii mushroom extract were selected for further biological experiments in animal model (in vivo). The confirmative test was performed in animals using an oral glucose tolerance test (OGTT), in which acute hyperglycemia was induced by a high-sugar feeding method. The mechanism of OGTT is to examine the response of the hormone insulin to blood glucose levels by measuring the body's ability to use sugar (glucose). The results indicated that probiotic SUP14 at 109 CFU/ml and Eringi mushroom extract at a dose of 800 mg/kg body weight had effectiveness in reducing blood sugar levels significantly (p<0.05) when compared to normal rats within 30 min after treatment Moreover, a rat model of diabetes induced by administration of streptozotocin (STZ). Which selectively destroys pancreatic beta cells (-cells) to study its hypoglycemic effect in experimental animals. It was found that diabetic rats administrated orally with probiotics SUP3, SUP4 and SUP14 and Eryngii mushroom extract for 3, 7 and 10 days, showed lowering blood glucose levels when compared to diabetic rats but there was no statistically significant difference. This clearly suggested that probiotics Lacticaseibacillus paracasei (SUP3), Limosilactobacillus reuteri (SUP4), and Bifidobacterium pseudolongum (SUP14) as well as Eringii mushroom extract. As a consequence, there is no tendency of reduction of blood sugar level from probiotics and mushroom extract. Results from in vivo or animal studies are inconsistent with preliminary in vitro studies. It may be due to physical and physiological factors of animals which are far different from cell cultures. However, this research is a preliminary study on the hypoglycemic effect of probiotics and the mushroom extracts in diabetic rats. There should be more or additional studies such as using different experimental models, increasing the trial period, changing in concentrations of probiotic or mushroom extract, increasing the number of experimental groups, increasing insulin levels in the animals of control group in order to gain the most accuracy and correct results. สาระสังเขป: โรคเบาหวานคือการที่ร่างกายมีภาวะน้ำตาลในเลือดสูง เกิดจากความผิดปกติของกระบวนการเมแทบอลิซึม (ทั้งคาร์โบไฮเดรต ไขมัน และโปรตีน) กลไกสำคัญเกิดจากความบกพร่องของการหลั่งฮอร์โมนอินซูลิน (insulin) จากตับอ่อน หรือการทำงานของอินซูลินผิดปกติ ผู้ป่วยโรคเบาหวานจะมีอินซูลินไม่เพียงพอที่จะเคลื่อนกลูโคสเข้าสู่เซลล์ หรือการที่เซลล์ไม่ตอบสนองการทำงานของอินซูลินได้อย่างสมบูรณ์ ส่งผลให้มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น งานวิจัย “การพิสูจน์สรรพคุณลดระดับน้ำตาลในเลือด และประเมินความปลอดภัยของสารออกฤทธิ์เชิงหน้าที่จากจุลินทรีย์เป้าหมาย” เป็นแผนงานย่อยลำดับที่ 7 ในจำนวน 13 แผนงานย่อยที่อยู่ภายใต้แผนงานหลักคือ “นวัตกรรมอุตสาหกรรมฐานชีวภาพของประเทศในการผลิตสารออกฤทธิ์เชิงหน้าที่สำหรับอุตสาหกรรมอาหารสุขภาพและความงามเพื่อประชากรในศตวรรษที่ 21” ที่ดำเนินการระหว่างปีงบประมาณ 2564-2566 ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาฤทธิ์ทางชีวภาพของสารออกฤทธิ์เชิงหน้าที่ชนิดต่างๆ จากจุลินทรีย์ และ สารออกฤทธิ์เชิงหน้าที่ประเภทวิตามินและโพลีแซคคาไรด์จากเห็ดหูหนูและเห็ดมีครีบ ซึ่งภายในโครงการได้มีการใช้โพรไบโอติก 14 สายพันธุ์ (ได้แก่ SUP 1 ถึง SUP 14: รายละเอียดสายพันธุ์อยู่ด้านใน) จากธนาคารโพรไบโอติกของ วว. และสารสกัดเห็ดหลินจือ (Ganoderma lucidum) เห็ดเออรินจิ (Pleurotus eryngii) และ เห็ดหอม (Lentinula edodesgii) จาก จากศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมเกษตรสร้างสรรค์ (ศนก.) ซึ่ง แผนงานวิจัยย่อยนี้ได้ดำเนินการทดสอบภายใต้สภาวะในหลอดทดลอง (in vitro) และในสัตว์ทดลอง (in vivo) การทดสอบด้านประสิทธิภาพในหลอดทดลองดำเนินการทดสอบเบื้องต้นโดยการเหนี่ยวนำเซลล์เพาะเลี้ยงด้วยสารเคมีคือสเตรปโทโซโทซิน (Streptozotocin: STZ) ซึ่งเป็นสารประกอบกลูโคซามีน-ไนโตรซูเรียที่ได้จากเชื้อแบคทีเรีย Streptomyces achromogenes โดย STZ ทำลายเซลล์ตับอ่อนชนิดเบต้าเซลล์ (-cells) ซึ่งเป็นแหล่งผลิตอินซูลิน ส่งผลให้เกิดภาวะขาดอินซูลินและเกิดน้ำตาลในเลือดสูง การศึกษานี้ศึกษาฤทธิ์การป้องกันของโพรไบโอติกสายพันธุ์ วว. ที่ค้นพบและจำแนกได้ในประเทศไทย และสารสกัดจากเห็ดที่ผลิตโดย วว. ต่อความเป็นพิษที่เกิดจาก STZ ในเซลล์ไลน์ตับอ่อนชนิดเบต้า (RIN-5F) ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าการเพาะเลี้ยงร่วมกันของเซลล์ไลน์ RIN-5F กับตัวอย่างโพรไบโอติก SUP 1 ถึง SUP 14 สามารถลดความเป็นพิษต่อเซลล์ที่เกิดจาก STZ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เช่นเดียวกับ เปรียบเทียบผลของสารสกัดเห็ด 3 ชนิด พบว่าสารสกัดเห็ดหลินจือและสารสกัดเห็ดเออรินจิสามารถปกป้องความเป็นพิษจากสาร STZ ได้สูงสุดที่ความเข้มข้นระหว่าง 0.05-0.10 และ0.05-0.10 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร ตามลำดับ ในขณะที่สารสกัดเห็ดหอมไม่มีคุณสมบัติดังกล่าว ดังนั้น จึงคัดเลือกจุลินทรีย์โพรไบโอติก3 สายพันธุ์ ได้แก่ (Lacticaseibacillus paracasei : SUP3), Limosilactobacillus reuteri : SUP4) และ Bifidobacterium pseudolongum : SUP14) และสารสกัดเห็ดเออรินจิ เพื่อทำการทดสอบยืนยันผลต่อในสัตว์ทดลองโดยใช้การทดสอบวิธี oral glucose tolerance test (OGTT) โดยเป็นการเหนี่ยวนำให้มีภาวะน้ำตาลในเลือดสูงเฉียบพลันโดยวิธีการกรอกน้ำตาลในปริมาณสูง ซึ่งกลไกของการทดสอบดังกล่าวคือเป็นการตรวจสอบการตอบสนองของฮอร์โมนอินซูลินต่อระดับน้ำตาลในเลือด โดยวัดความสามารถของร่างกายในการใช้น้ำตาล ผลการทดลองพบว่าจุลินทรีย์ชนิด SUP 14 ที่ปริมาณ 109 โคโลนี และสารสกัดเห็ดเออรินจิขนาด 800 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมน้ำหนักตัว มีประสิทธิภาพในการลดระดับน้ำตาลอย่างมีนัยสำคัญ เมื่อเปรียบเทียบกับหนูกลุ่มปกติ ภายในเวลา 30 นาทีแรกภายหลังได้รับน้ำตาลปริมาณสูง และเมื่อทำการทดลองต่อเนื่องในรูปแบบการทดสอบ streptozotocin induced diabetic rats เพื่อศึกษาฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลในเลือดในสัตว์ทดลอง โดยการเหนี่ยวนำให้เกิดน้ำตาลในเลือดสูง ด้วยสาร STZ พบว่าหนูกลุ่มที่ได้รับจุลินทรีย์โพรไบโอติก และสารสกัดเห็ดเออรินจิ เป็นเวลา 3, 7 และ 10 วัน สามารถทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดตํ่าลง แต่ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ทำให้ไม่เห็นแนวโน้มการลดลงของระดับน้ำตาลในเลือดของโพรไบโอติก SUP 14 และสารสกัดเห็ดเออรินจิ โดยผลจากการศึกษาในสัตว์ทดลองไม่สอดคล้องกับการศึกษาเบื้องต้นในหลอดทดลอง เนื่องจากปัจจัยทางกายภาพและสรีรวิทยาของสัตว์ทดลอง แต่อย่างไรก็ตามการวิจัยครั้งนี้เป็นเพียงการศึกษาเบื้องต้นเกี่ยวกับฤทธิ์การลดระดับน้ำตาลในเลือดของหนูที่เป็นเบาหวานของโพรไบโอติก SUP 14 และสารสกัดเห็ดเออรินจิ จึงน่าจะมีการศึกษาเพิ่มเติมมากขึ้น เช่น การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการทดลอง การเพิ่มระยะเวลาการทดลอง เปลี่ยนแปลงระดับความเข้มข้น ของโพรไบโอติก หรือสารสกัดเห็ด หรือเพิ่มจำนวนกลุ่มการทดลอง เพิ่มระดับอินซูลินในกลุ่มควบคุม เพื่อที่จะได้ผลที่ถูกต้องและแม่นยำมากที่สุด
    Average rating: 0.0 (0 votes)
ไม่มีรายการทางกายภาพสำหรับระเบียนนี้

There are no comments on this title.

to post a comment.
    Thailand Institute of Scientific and Technological Research
    35 Mu 3 Technopolis, Tambon Khlong Ha, Amphoe Khlong Luang, Pathum Thani 12120
    ☎ 0 2577 9000, 0 2577 9300