การวิจัยและพัฒนาการสร้างต้นแบบการเพาะเห็ดพื้นเมืองในแปลงวนเกษตรแบบไม่อาศัยโรงเรือน (เห็ดตับเต่าขาว และเห็ดร่างแห) เพื่อลดสภาวะโลกร้อนและพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนอย่างยั่งยืนอย่างยั่งยืน = Research and development on creating a model of native mushroom cultivation in agroforest without greenhouse (macrocybe crassa and phallus atrovolvatus) to reduce global warming and develop sustainable community economy / Tanapak Inyod [et al.]

โดย: Tanapak Inyod
ผู้แต่งร่วม: Tanapak Inyod | Thanapat Termarom | Piyada Eamprasong | Thanakorn Lattirasuvan | ธนภักษ์ อินยอด | ธนภัทร เติมอารมย์ | ปิยะดา เอี่ยมประสงค์ | ธนากร ลัทธิ์ถีระสุวรรณ
BCG: เกษตรปลอดภัย TRM: นวัตกรรมการเกษตร IoF: เกษตรและอาหาร ข้อมูลการพิมพ์: Pathumthani : Thailand Institute of Scientific and Technological Research, 2025 รายละเอียดตัวเล่ม: 101 p. : tables, ill. ; 30 cmชื่อเรื่องอื่นๆ: รหัสโครงการ : 6618104010หัวเรื่อง: เห็ดพื้นเมือง | วนเกษตรแบบไม่อาศัยโรงเรือน | เห็ดตับเต่าขาว | เห็ดร่างแห | เกษตรและอาหารสาระสังเขป: Research and development on creating a model of native mushroom cultivation in agroforest without greenhouse (Macrocybe crassa and Phallus atrovolvatus) to reduce global warming and develop sustainable community economy. In 2023, this project focuses on research and development of local mushroom (P. atrovolvatus) production technology and creates a model farmer for non-greenhouse production of local mushrooms in agroforest. The study was carried out on the willingness of the area for identifying the species to confirm the mushroom species based on biomolecular techniques, investigating the suitable substrate and formulation for the production of mushroom inoculum, studying the appropriate factors for the growth of P. atrovolvatus mushroom mycelium, studying the materials and the appropriate ratio of substrates for mushroom spawns production and mushroom production in experimental agroforest to create a model of native mushroom cultivation in agroforest without greenhouse. Moreover, a study of carbon storage of seedlings planted in the model plot for building a native mushroom forest plantation. From the study of the readiness of the area, 4 prototype plots can be selected in the area of Ban Pang Mon, Ainalai sub-district, Wiangsa district, Nan province. At the same time, species classification was carried out to confirm the types of mushrooms based on their biomolecular characteristics. It was found that the P. atrovolvatus voucher nucleotide sequences MEL: 2382871 with 98.82 percent similarity. After that, the appropriate medium for the growth of mushroom mycelium and inoculum production were studied. It was found that P. atrovolvatus mycelium had good growth in Malt Extract Agar (MEA) culture medium with good density of mycelium. The optimal material and ratio for inoculum production was formula 8 consisting of dried Lingzhi mushroom+Malt extract 5%+Peptone 5%. The mycelium had the best growth rate of 0.38±0.10 cm per day. The average growth time of the inoculant bottle was 29 days. Types and suitable ratios for mushroom spawns’ preparation was formula 5 consisting of sawdust 92%+ fine bran 5%+ lime 0.8%+ Epsom salt 0.2%+ gypsum 2%. The mycelium had the highest growth rate of 0.808 cm per day. The mushroom spawns with the appropriate formula to be planted in the model plots to produce in natural agroforestry conditions. There were 4 prototype farmers and 4 rai of prototype plots for growing trellis in forest gardens or agroforestry plots that were planted together with horticultural crops such as bananas, fruit trees such as mangoes, longans, wild plants such as Yang Na trees, Iron Wood, as well as medicinal plants such as Malacea Tree, Tea plant. In this project, the technology of native mushroom cultivation in agroforestry plots without greenhouses was transferred to farmers in the targeted areas. There were 32 farmers interested in participating. In addition, carbon storage of seedlings planted in the prototype plot of native mushroom forest plantation was studied. After planting for 12 months, the trees had a carbon storage of 1.72 tonnes, or a carbon dioxide absorption of 6.31 kgCO2e. For assessing the economic, social and environmental impacts of the modeling of mushroom plantation forest plantations on farmers and communities. It was found that the happiness mass created during technology transfer at the highest level was 28 samples out of 32 random samples, equal to 87.50%. In terms of environmental impact, there is an increase in green area from the total number of 400 trees planted in 4 rai of land planted with local mushroom cultivation without greenhouses. From the forecast of the break-even point from the sale of mushroom production compared to the investment in research. It was found that there was a break-even point from the first year.สาระสังเขป: การวิจัยและพัฒนาการสร้างต้นแบบการเพาะเห็ดพื้นเมืองในแปลงวนเกษตรแบบไม่อาศัยโรงเรือน (เห็ดตับเต่าขาว และเห็ดร่างแห) เพื่อลดสภาวะโลกร้อนและพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนอย่างยั่งยืน โดยในปีงบประมาณ 2566 มีวัตถุประสงค์เพื่อวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตเห็ดพื้นเมือง (เห็ดร่างแห) และสร้างเกษตรกรต้นแบบสำหรับการการผลิตเห็ดพื้นเมืองแบบไม่อาศัยโรงเรือนแบบแปลงวนเกษตร โดยมีการศึกษาความพร้อมของพื้นที่ การจำแนกชนิดเพื่อยืนยันชนิดของเห็ดด้วยเทคนิคทางชีวโมเลกุล ศึกษาปัจจัยที่เหมาะสมต่อการเจริญของเส้นใยเห็ดร่างแห ศึกษาวัสดุเพาะและสูตรที่เหมาะสมสำหรับการผลิตหัวเชื้อขยายเห็ด ศึกษาวัสดุเพาะและสูตรที่เหมาะสมในการทำก้อนเชื้อเห็ด การผลิตดอกเห็ดในสภาพแปลงทดลองเพื่อสร้างแปลงต้นแบบการเพาะเห็ดร่างแหในแปลงวนเกษตรแบบไม่อาศัยโรงเรือน การศึกษาการกักเก็บคาร์บอนของกล้าไม้ที่ปลูกในพื้นที่แปลงต้นแบบการสร้างสวนป่าสวนเห็ดพื้นเมือง (เห็ดตับเต่าขาว เห็ดร่างแห) จากการศึกษาความพร้อมของพื้นที่สามารถคัดเลือกแปลงต้นแบบได้ 4 แปลงพื้นที่ บ้านปางมอญ ต.อ่ายนาไลย อ.เวียงสา จ.น่าน ในขณะเดียวกันได้ทำการจัดจำแนกชนิดเพื่อยืนยันชนิดของเห็ดร่างแหด้วยเทคนิคทางชีวโมเลกุล พบว่าตัวอย่างเห็ดร่างแหมีความเหมือนกับลำดับนิวคลิโอไทด์ของ Phallus atrovolvatus voucher MEL:2382871 โดยมีความเหมือนกันที่ 98.82% จากนั้นทำการศึกษาชนิดอาหารที่เหมาะสมต่อการเจริญของเส้นใยเห็ดและการเลี้ยงผลิตหัวเชื้อขยาย พบว่าโดยเส้นใยเห็ดร่างแห มีการเจริญเติบโตดีในอาหารเลี้ยงชนิด Malt Extract Agar (MEA) มีอัตราการเจริญ 0.30±0.10 เซนติเมตร/วัน เส้นใยเจริญหนาแน่นดี วัสดุเพาะและอัตราส่วนที่เหมาะสมสำหรับการผลิตหัวเชื้อขยายเห็ดร่างแห คือ สูตรที่ 8 ประกอบด้วยดอกเห็ดหลินจือ + Malt extract 5% + Peptone 5% เส้นใยเห็ดร่างแหมีอัตราการเจริญดีที่สุดเท่ากับ 0.38±0.10 เซนติเมตร/วัน เวลาที่ใช้ในการเจริญเต็มขวดหัวเชื้อเฉลี่ย 29 วัน ชนิดและอัตราส่วนที่เหมาะสมสำหรับเตรียมก้อนเชื้อเห็ด คือ สูตรที่ 5 ประกอบด้วย ขี้เลื่อย 92%+รำละเอียด 5%+ ปูนขาว 0.8%+ดีเกลือ 0.2%+ยิปซัม 2% เส้นใยมีอัตราเจริญเติบโตเฉลี่ยต่อวันสูงที่สุด คือ 0.808 เซนติเมตร/วัน จากนั้นผลิตก้อนเห็ดร่างแหจากสูตรที่เหมาะสมและนำไปเปิดดอกเพื่อสร้างแปลงต้นแบบในการเพาะในสภาพแปลงธรรมชาติแบบวนเกษตร เกิดเกษตรกรต้นแบบจำนวน 4 คน และแปลงต้นแบบ 4 ไร่ ในการเพาะเห็ดร่างแหในสวนป่าหรือแปลงวนเกษตรที่มีการปลูกร่วมกับพืชสวน เช่น ต้นกล้วย ไม้ผล เช่น มะม่วง ลำไย ไม้ป่า เช่น ต้นยางนา ตะเคียนทอง รวมทั้งพืชสมุนไพร เช่น มะขามป้อม เมี่ยง ในโครงการนี้ได้ถ่ายทอดเทคโนโลยีการเพาะเห็ดพื้นเมือง (เห็ดร่างแห/เห็ดเยื่อไผ่) แบบไม่อาศัยโรงเรือนให้กับเกษตรในพื้นที่เป้าหมาย มีเกษตรกรที่ร่วมรับการอบรมจำนวน 32 ราย นอกจากนี้ได้ศึกษาการกักเก็บคาร์บอนของกล้าไม้ที่ปลูกในพื้นที่แปลงต้นแบบการสร้างสวนป่าสวนเห็ดพื้นเมือง (เห็ดตับเต่าขาว เห็ดร่างแห) โดยพบว่าการกักเก็บคาร์บอนของกล้าไม้ทั้ง 5 ชนิด ในแปลงต้นแบบ หลังปลูกเป็นเวลา 12 เดือน ต้นไม้มีการกักเก็บคาร์บอนเท่ากับ 1.72 ตัน หรือคิดเป็นปริมาณการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เท่ากับ 6.31 กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า สำหรับการประเมินผลกระทบด้านเศรษฐศาสตร์ สังคม และสิ่งแวดล้อมจากการสร้างต้นแบบการทำสวนป่าสวนเห็ดที่เกิดขึ้นแก่เกษตรกรและชุมชนมีการสร้างมวลความสุขที่เกิดขึ้นในระหว่างการได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีในระดับมากที่สุดจำนวน 28 ตัวอย่าง จากการสุ่มตัวอย่าง 32 ตัวอย่าง เท่ากับ 87.50% ในด้านสิ่งแวดล้อม มีพื้นที่สีเขียวเพิ่มขึ้นจากจำนวนต้นไม้ทั้งหมด 400 ต้น ที่ปลูกในพื้นที่ 4 ไร่ ที่ปลูกร่วมกับการเพาะเห็ดพื้นบ้านแบบไม่อาศัยโรงเรือน จากการพยากรณ์จุดคุ้มทุนจากการขายผลผลิตเห็ดเมื่อเทียบกับเงินลงทุนในการวิจัย พบว่ามีจุดคุ้มทุนตั้งแต่ปีแรก
    Average rating: 0.0 (0 votes)
ไม่มีรายการทางกายภาพสำหรับระเบียนนี้

There are no comments on this title.

to post a comment.
    Thailand Institute of Scientific and Technological Research
    35 Mu 3 Technopolis, Tambon Khlong Ha, Amphoe Khlong Luang, Pathum Thani 12120
    ☎ 0 2577 9000, 0 2577 9300