การวิจัยและพัฒนาสารพรีไบโอติกเพื่อส่งเสริมสุขภาพโค = Research and development of prebiotic for cattle / Premsuda Saman [et al.]

โดย: Premsuda Saman
ผู้แต่งร่วม: Premsuda Saman | Nutsara Yongkit | Achara Chaiongkarn | Somporn Moonmangmee | เปรมสุดา สมาน | นุษรา ยงกิจ | อัจฉรา ไชยองค์การ | สมพร มูลมั่งมี
ข้อมูลการพิมพ์: Pathumthani : Thailand Institute of Scientific and Technological Research, 2025 รายละเอียดตัวเล่ม: 51 p. : tables, ill. ; 30 cmชื่อเรื่องอื่นๆ: รหัสโครงการ : 6618301031หัวเรื่อง: แล็กติกแอซิดแบคทีเรีย | พรีไบโอติก | โคสาระสังเขป: Thirty fecal samples of cattle were collected from cattle farm in Northeastern region of Thailand. Lactic acid bacteria (LAB) were isolated using MRS agar under appropriated conditions. A total of 366 isolated LAB was selected and tested further based on probiotic characteristics such as hemolysis activity, antimicrobial activity, bacterial culture under various stress conditions (osmotic pressure, bile salt, temperature and pH), exopolysaccharide production, hydrolysis enzyme production (protease, amylase, lipase and cellulose), gas production and antibiotic susceptibility against specific pathogens. Twenty-seven potential isolates were collected and identified based on morphology, biochemical characteristics and confirmed by using the 16S rRNA sequence. Results showed that the potential probiotic LAB were Lactobacillus farciminis, Lactobacillus acidophilus and Pediococcus pentosaceus. These LAB were monitored their growth on various carbohydrate substrates including prebiotic such as glucose, polydextrin, inulin, maltodextrin, sucralose, trehalose, konjac powder, isomalto-oligosaccharides (IMO) and fructo-oligosaccharide (FOS). Results showed that all LAB grew well on the medium containing trehalose, FOS and IMO while they presented less growth on the medium containing polydextrin, inulin, maltodextrin, sucralose and konjac powder. Thus, trehalose, FOS and IMO were selected to evaluate the prebiotic activity. The results showed that IMO represented the highest prebiotic activity score when using three different bacterial fermentation followed by trehalose and FOS, respectively. IMO and the selected LAB were also tested further in the cattle gut model to monitor their effects on microbiome and short-chain fatty acid production. Results showed that IMO could enhance the amount of Firmicutes in the gut model. However, the best performance was found on the treatment combining IMO and three-selected LAB. This treatment presented the highest level of Firmicutes along with the lowest level of Proteobacteria. Besides, the amount of beneficial short-chain fatty acids increased throughout the fermentation process. Among three substances (IMO, trehalose and FOS), IMO was selected as the best protective agent of probiotic cell in Freeze- drying process. From these results obtained, it could be suggested that IMO was a potential prebiotic which could be applied in synbiotic product. สาระสังเขป: ทำการแยกแล็กติกแอซิดแบคทีเรียจากมูลโคจำนวน 30 ตัวอย่าง ในพื้นที่ภาคอีสานของประเทศไทย สามารถแยกเชื้อได้ทั้งหมด 366 ไอโซเลต หลังจากนั้นนำแล็กติกแอซิดแบคทีเรียที่แยกได้มาทดสอบคุณสมบัติความเป็นโพรไบโอติก โดยทำการทดสอบคุณสมบัติเบื้องต้น เช่น การย่อยสลายเม็ดเลือดแดง การยับยั้งเชื้อก่อโรค การทนต่อปริมาณโซเดียมคลอไรด์และเกลือน้ำดี การทนต่ออุณหภูมิและสภาวะกรด-เบสต่างๆ การผลิต Exopolysaccharide การสร้างเอนไซม์ protease amylase lipase และ cellulose การสร้างแก๊ส และความไวต่อยาปฏิชีวนะ ซึ่งจากการทดสอบดังกล่าว สามารถคัดเลือกแล็กติกแอซิดแบคทีเรียที่มีคุณสมบัติที่ดีได้ 27 ไอโซเลต เมื่อนำมาจัดจำแนกชนิดและสายพันธุ์แล็กติกแอซิดแบคทีเรียทางสัณฐานวิทยา ทางชีวเคมี และการวิเคราะห์ลำดับเบส พบว่าสามารถจัดจำแนกได้ 3 สายพันธุ์ ได้แก่ Lactobacillus farciminis, Lactobacillus acidophilus และ Pediococcus pentosaceus หลังจากนั้น ทำการประเมินการเจริญของเชื้อแบคทีเรียทั้ง 3 สายพันธุ์ ในอาหารทดสอบที่มีแหล่งคาร์โบไฮเดรตแตกต่างกัน ได้แก่ glucose polydextrin inulin maltodextrin sucralose trehalose konjac powder isomalto-oligosaccharides (IMO) และ fructo-oligosaccharide (FOS) ผลการทดลองพบว่า L. farciminis, L. acidophilus และ P. pentosaceus สามารถเจริญได้ดีในอาหารที่มี trehalose FOS และ IMO จึงได้ทำการศึกษากิจกรรมพรีไบโอติกของ trehalose FOS และ IMO กับแล็กติกแอซิดแบคทีเรียที่คัดเลือกได้ เปรียบเทียบกับการเจริญของ E. coli ซึ่งจากผลการทดลองพบว่า IMO สามารถส่งเสริมการเจริญของแล็กติกแอซิดแบคทีเรียทั้ง 3 สายพันธุ์ และมีค่ากิจกรรมพรีไบโอติกสูงที่สุด เมื่อทดสอบในระบบแบบจำลองลำไส้โคเพื่อประเมินประสิทธิภาพของสาร IMO และเชื้อที่คัดเลือกได้ 3 สายพันธุ์ ผลการทดลองพบว่า IMO สามารถช่วยเพิ่มปริมาณแบคทีเรีย Firmicutes ได้ดี และชุดทดลองที่มี IMO ผสมร่วมกับแล็กติกแอซิดแบคทีเรีย 3 สายพันธุ์ จะทำให้ปริมาณ Firmicutes เพิ่มขึ้นรวดเร็วและ Proteobacteria ลดลงอย่างชัดเจน รวมทั้งสามารถเพิ่มปริมาณกรดไขมันสายสั้นตลอดกระบวนการหมัก นอกจากนี้ IMO สามารถใช้เป็นสารปกป้องเซลล์ในการเก็บรักษาเชื้อแบบแห้ง-แข็ง (Freeze- drying) และพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ซินไบโอติกอย่างเหมาะสม
    Average rating: 0.0 (0 votes)
ไม่มีรายการทางกายภาพสำหรับระเบียนนี้

There are no comments on this title.

to post a comment.
    Thailand Institute of Scientific and Technological Research
    35 Mu 3 Technopolis, Tambon Khlong Ha, Amphoe Khlong Luang, Pathum Thani 12120
    ☎ 0 2577 9000, 0 2577 9300