การวิจัยและพัฒนาการผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ซีลีเนียมสูง= Effect of selenium application on selenium content of jasmine rice (oryza sativa kdml 105)/ Pawaris Tangbavornthamma [et al.] (CONFIDENTIAL)

โดย: Pawaris Tangbavornthamma
ผู้แต่งร่วม: Pawaris Tangbavornthamma | Rochana Tangkoonboribun | Phanupong Khongchiu | Praweena Tangbovornthamma | Anurak Somsai | ปวริศ ตั้งบวรธรรมา | รจนา ตั้งกุลบริบูรณ์ | ภานุพงษ์ คงจิว | ประวีณา ตั้งบวรธรรมา | อนุรักษ์ สมสาย
BCG: เกษตรปลอดภัย TRM: นวัตกรรมการเกษตร ข้อมูลการพิมพ์: Pathumthani : Thailand Institute of Scientific and Technological Research, 2024 รายละเอียดตัวเล่ม: 61 p. : ill., tables ; 30 cm.ชื่อเรื่องอื่นๆ: โครงการวิจัยที่ ภ.62-13 การวิจัยและพัฒนาการผลิตพืชเสริมซีลีเนียมเพื่อสุขภาพ หัวเรื่อง: ซีลีเนียม | ข้าวนาหว่าน | ปุ๋ยสาระสังเขป: This study focused on the ability to absorb selenium (Se) of Thai jasmine rice. The experiment was performed in paddy fields in KaengKhro, Chaiyaphum with both broadcasting and transplanting practices. Se was applied in a dose of 32 mg per Rai when the rice plants were at flag leaf stage for broadcasting method and when seed sowing for transplanting. The results showed that sowing seeds with Se provided a negative effect on seedling growth and consequently on seedlings’ death after transplanting. However, flag leaf stage Se application in the broadcasting method exhibited the growth-promoting effect of rice plants. The grain yield of the latter growing method was 570 kg per Rai with the Se content in grain of 211.9 µg per kg.สาระสังเขป: การศึกษานี้มุ่งเน้นความสามารถในการดูดยึดธาตุซีลีเนียมของข้าวทั้งแบบนาหว่าน และนาโยนที่ให้ปริมาณปุ๋ยเสริมซีลีเนียมที่แตกต่างกัน ซึ่งจากผลการทดลองพบว่าปริมาณซีลีเนียมที่ดูดยึดได้ของข้าวดูดยึดตั้งแต่ระยะแตกกอของต้นข้าว และปริมาณของซีลีเนียมมีผลต่อการเจริญเติบโตของต้นข้าวด้วย โดยผลผลิตข้าวที่สูงทึ่สุดคือตำรับการทดลองที่ 4 นาหว่านใส่ปุ๋ยสูตร 6-3-3 รองพื้นและใส่ปุ๋ยสูตร 3-6-6 ร่วมกับซีลีเนียมที่ระดับ 32 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ที่ระยะ 45 วัน มีน้ำหนักเมล็ดสด น้ำหนักเมล็ดแห้ง น้ำหนัก 100 เมล็ดดี และเปอร์เซ็นต์เมล็ดลีบที่ดีที่สุด คือ 3.24 กิโลกรัม, 2.40 กิโลกรัม, 2.84 กรัม และ 9.4 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ทั้งนี้ตำรับการทดลองดังกล่าวข้างต้นยังเป็นตำรับการทดลองที่มีปริมาณการดูดยึดธาตุซีลีเนียมที่สูงที่สุดอีกด้วย โดยมีปริมาณซีลีเนียมที่ดูดยึดไว้ในระยะกล้าข้าว ซังข้าว ราก และเมล็ด คือ 736.08, 1023.21, 3015.33 และ 211.91 ไมโครกรัม/กิโลกรัมสำหรับข้าวนาหว่าน ซึ่งมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญยิ่งหากเปรียบเทียบกับข้าวนาโยน เนื่องจากต้นกล้าพันธุ์ที่ใช้ในการโยนมีความอ่อนแอ และเจริญ เติบโตได้น้อยกว่านาหว่าน ดังนั้นจึงสามารถสรุปได้ว่านาหว่านใส่ปุ๋ยสูตร 6-3-3 รองพื้นและใส่ปุ๋ยสูตร 3-6-6 ร่วมกับซีลีเนียมที่ระดับ 32 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ที่ระยะ 45 วัน เป็นตำรับการทดลองที่ให้ประสิทธิภาพทั้งเรื่องของผลผลิต และการดูดยึดธาตุซีลีเนียมที่ดีที่สุด เหมาะสำหรับส่งเสริม และศึกษาต่อไป เนื่องจากเกษตรกรส่วนใหญ่ก็ทำนาด้วยลักษณะการหว่านอยู่แล้ว และยังช่วยเสริมในเรื่องของการขาดธาตุซีลีเนียมได้อีกทางหนึ่งด้วย
    Average rating: 0.0 (0 votes)
ไม่มีรายการทางกายภาพสำหรับระเบียนนี้

There are no comments on this title.

to post a comment.

Click on an image to view it in the image viewer

    Thailand Institute of Scientific and Technological Research
    35 Mu 3 Technopolis, Tambon Khlong Ha, Amphoe Khlong Luang, Pathum Thani 12120
    ☎ 0 2577 9000, 0 2577 9300