การผลิตซีโอไลท์ 3 เอโมเลกุลลาร์ซีฟจากของเหลือทิ้งในกระบวนการเซลลูโลสิกเอทานอลสำหรับกระบวนการผลิตเอทานอลไร้น้ำ = The production of the 3a molecular sieve from cellulosic ethanol production waste for anhydrous ethanol process/ Rewadee Anuwattana [et al.] (CONFIDENTIAL)

โดย: Rewadee Anuwattana
ผู้แต่งร่วม: Rewadee Anuwattana | Patthanant Natpinit | Songkiate Roddang | Vishnu Panphan | Narumon Soparatana | Pattamaphorn Punagngamphan | Supinya Yindee | Worapong Pattayawan | Saroj Klangkongsub | เรวดี อนุวัฒนา | พัทธนันท์ นาถพินิจ | ทรงเกียรติ รอดแดง | วิษณุ ปั้นพันธุ์ | นฤมล โสภารัตน์ | ปัทมาพร พ่วงงามพันธุ์ | สุภิญญา ยินดี | วรพงษ์ พัทยาวรรณ | สาโรจน์ กลางกองสรรพ
ข้อมูลการพิมพ์: Pathumthani : Thailand Institute of Scientific and Technological Research, 2024 รายละเอียดตัวเล่ม: 67 p. : ill., tables ; 30 cm.ชื่อเรื่องอื่นๆ: โครงการวิจัยที่ ภ.59-27 การพัฒนาเทคโนโลยีเชิงพาณิชย์เพื่อการผลิตเซลลูโลสิกเอทานอลจากวัสดุ หัวเรื่อง: ซีโอไลต์ | ไฮโดรเทอร์มอล | เกลือโพแทสเซียมสาระสังเขป: This study aims to synthesis of a 3A zeolite (K-LTA) obtained by a fusion via hydrothermals process compared with the potassium salt exchange process. The bagasse ash Potassium salts and aluminium salts were sources of starting materials for K-A zeolite (3A zeolite) conversion using the alkali fusion hydrothermal process. The Bagasse ash : Potassium salt : Aluminium salt was mixed at the weight ratio of (1 : 1.2, 1 : 3, 1 : 3 : 0.8 and 1 : 3 : 1, respectively) and then fused at 550 °C for 1 hour prior to the hydrothermal treatment. The hydroxide solution was added to the fused material slurry and thoroughly stirred at 105± 3 °C in the stainless-steel reactor. The reaction time was varied from 1 to 6 hours. The exchange process was investigated. Zeolite 4A was stirred with KCl (1, 2 and 3 mol/dm3) for 1 hour. The obtained products were characterized by X-Ray Diffraction. The results showed that the highest yield of 3A zeolite conversion was approximately 98.86% which obtained from the mixtures containing hydroxide solution, stirred for 5 hours. Adsorption of water from liquid phase water-ethanol azeotrope using 3-A zeolite from bagasse ash and 3-A commercial molecular sieve adsorbents were investigated. This study was carried out in order to to increase concentration of alcohol of liquid water-ethanol mixture (azeotrope). The experimentation was conducted comparatively by soaking the adsorbents in azeotrope with mechanical shaking. Inconclusions, adsorptive dehydration of ethanol using 3A zeolite by the fusion via hydrothermal showed the best result.สาระสังเขป: งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาการผลิตซีโอไลต์ชนิด 3A (K-LTA) ซึ่งเตรียมได้จากกระบวนการหลอมร่วมกับไฮโดรเทอร์มอล เปรียบเทียบกับวิธีการเตรียมโดยกระบวนการแลกเปลี่ยนไอออนด้วยสารละลายเกลือโพแทสเซียม สารตั้งต้นเพื่อใช้ในการเตรียมผลิตซีโอไลต์ชนิด 3A (K-A zeolite) โดยกระบวนการหลอมร่วมกับไฮโดรเทอร์มอล ได้แก่ เถ้าชานอ้อย เกลือโพแทสเซียม และเกลืออะลูมิเนียม โดยใช้อัตราส่วนโดยมวลระหว่างเถ้าชานอ้อย : เกลือโพแทสเซียม : เกลืออะลูมิเนียม (1 : 1.2, 1 : 3, 1 : 3 : 0.8 และ 1 : 3 : 1 ตามลำดับ) หลอมที่อุณหภูมิ 550 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 1 ชั่วโมง ก่อนเข้าสู่การทำปฏิกิริยาด้วยไฮโดรเทอร์มอล หลังจากนั้นมีการเติมสารละลายไฮดรอกไซด์ลงในสารละลายที่ได้จากการหลอม โดยการตั้งกวนก่อนเข้าถ่ายลงสู่ถังปฏิกรณ์ที่ทำจากวัสดุประเภทสเตนเลสและปรับอุณหภูมิที่ 105±3 องศาเซลเซียส ระยะเวลา 1-6 ชั่วโมง สำหรับการเตรียมซีโอไลต์ชนิด 3A โดยวิธีการแลกเปลี่ยนไอออนสามารถทำได้โดยการใช้ซีโอไลต์ชนิด 4A จากชานอ้อย ตั้งกวนเพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนกับสารละลายเกลือโพแทสเซียม (1, 2 และ 3 โมล/ลิตร) เป็นระยะเวลา 1 ชั่วโมง ผลิตภัณฑ์ภายหลังจากการเตรียมทั้งสองวิธีถูกวิเคราะห์ชนิดซีโอไลต์โดยเครื่องเอกซ์เรย์ดิฟแฟรกชัน ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่า การเตรียมโดยวิธีการหลอมร่วมกับไฮโดรเทอร์มอล ในอัตราส่วนการหลอมด้วยเถ้าชานอ้อยต่อเกลือโพแทสเซียมต่อเกลืออะลูมิเนียม ในอัตราส่วนโดยมวลเท่ากับ 1 : 3 : 1 และผ่านการกระตุ้นที่ระยะเวลา 5 ชั่วโมง ให้ผลการผลิตซีโอไลต์ชนิด 3A ที่มีค่าความเป็นผลึกสูงสุด เท่ากับร้อยละ 98.86 ในการทดสอบการดูดซับน้ำ-เอทานอล ในเฟสของเหลวที่ได้จากการกลั่น (azeotrope) ด้วยวิธีทางกล โดยใช้สารดูดซับซีโอไลต์ชนิด 3A จากเถ้าชานอ้อยเปรียบเทียบกับซีโอไลต์ชนิด 3A ทางการค้า พบว่าซีโอไลต์ชนิด 3A จากชานอ้อยให้ประสิทธิภาพการกำจัดน้ำดีที่สุด
    Average rating: 0.0 (0 votes)
ไม่มีรายการทางกายภาพสำหรับระเบียนนี้

There are no comments on this title.

to post a comment.

Click on an image to view it in the image viewer

    Thailand Institute of Scientific and Technological Research
    35 Mu 3 Technopolis, Tambon Khlong Ha, Amphoe Khlong Luang, Pathum Thani 12120
    ☎ 0 2577 9000, 0 2577 9300