การพัฒนาเทคโนโลยีในการเพิ่มปริมาณสารสื่อประสาทในผักและผลไม้ = Development of technologies to enhance levels of neurotransmitters in vegetables and fruits / Rujira Deewatthanawong [et al.] (CONFIDENTIAL)

โดย: Rujira Deewatthanawong
ผู้แต่งร่วม: Rujira Deewatthanawong | Supavadee, Chanapan | Sopida Sriwilaiwan | Borworn Tontiworachai | Papitchaya Kongchinda | Chutima Satjeenpong | Pornjarus Singhavorachai | Maneerat Meeploy | รุจิรา ดีวัฒนวงศ์ | สุภาวดี ชนะพาล | โสภิดา ศรีวิลัยวรรณ | บวร ตันติวรชัย | ปพิชญา กองจินดา | ชุติมา สารทจีนพงษ์ | พรจรัส สิงหวรชัย | มณีรัตน์ มีพลอย
BCG: เกษตรปลอดภัย TRM: นวัตกรรมการเกษตร ข้อมูลการพิมพ์: Pathumthani : Thailand Institute of Scientific and Technological Research, 2024 รายละเอียดตัวเล่ม: 54 p. : ill., tables ; 30 cm.ชื่อเรื่องอื่นๆ: โครงการวิจัยที่ ภ.57-02 วิจัยและพัฒนาสารสื่อประสาทในผักและผลไม้ เพื่อใช้ในผลิตภัณฑ์สำหรับผู้มีอาการนอนไม่หลับ หัวเรื่อง: สารกาบา | สารสื่อประสาท | ผัก | ผลไม้สาระสังเขป: Gamma-aminobutyric acid (GABA) is an inhibitory neurotransmitter found in nearly all organisms. The concentration of this neurotransmitter in plants varies and depends on many factors including genetics and environmental conditions. The objective of this project was to study factors affecting GABA concentrations in fruits and vegetables. Our studies showed variations in GABA concentrations of different plant species, varieties/cultivars, and maturity stages. Preharvest cultivation practices and treatments also affected the levels of GABA in fruits and vegetables. After harvest, postharvest treatments including low temperature storage, modified atmosphere storage, and postharvest treatment of selected solutions could maintain and increase GABA levels in fruits and vegetables during storage. In addition, stability of plant based GABA to high temperature was tested and development of technologies to enhance levels of GABA for food product was conducted. The results suggest that GABA concentrations of fruit juice could be enhanced by incubation with glutamic acid at 37 oC for 2 hours and powder of fruit-derived GABA could be obtained by spray drying method. We conclude that GABA concentrations depend on species, cultivar, agricultural practices and are also affected by postharvest conditions. Plant based GABA derived from fruits and vegetables could be a new source of natural GABA and an alternative to synthetic GABA.สาระสังเขป: สารกาบาเป็นสารสื่อประสาทประเภทยับยั้งในระบบประสาทส่วนกลางที่พบในสิ่งมีชีวิตเกือบทุกชนิด ปริมาณของสารสื่อประสาทชนิดนี้แตกต่างกันขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการรวมทั้งทั้งปัจจัยด้านพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้คือการศึกษาปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงปริมาณสารกาบาในผักและผลไม้ จากผลงานวิจัยพบว่า ปริมาณสารกาบาจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับชนิดพืช ชนิดสายพันธุ์ ระยะการสุกแก่ ระบบการปลูกพืชก่อนการเก็บเกี่ยว ภายหลังการเก็บเกี่ยว เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวส่งผลต่อปริมาณสารกาบาเช่นกัน เช่น การเก็บรักษาที่อุณหภูมิต่ำ การดัดแปลงสภาพบรรยากาศ และการใช้สารละลายบางชนิดหลังการเก็บเกี่ยว ซึ่งนอกจากช่วยรักษาคุณภาพและระดับสารกาบาในผักและผลไม้ไม่ให้ลดลงแล้ว ยังมีผลในการเพิ่มปริมาณสารกาบาระหว่างการเก็บรักษาอีกด้วย นอกจากนี้ ยังมีการทดสอบความคงตัวของสารกาบาที่ได้จากผักและผลไม้ต่ออุณหภูมิสูง และการพัฒนาเทคโนโลยีในการเพิ่มปริมาณสารกาบาสำหรับนำไปใช้ในการแปรรูปอาหาร จากการทดลองพบว่าการเติมกรดกลูตามิกในน้ำคั้นผลไม้และทำการบ่มที่อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 2 ชั่วโมง สามารถเพิ่มปริมาณสารกาบาในน้ำคั้นผลไม้ได้ และสารกาบาจากน้ำผลไม้สามารถทำให้เป็นผงได้ด้วยการทำแห้งแบบพ่นฝอย จากการวิจัยนี้สรุปได้ว่าปริมาณสารกาบาในผักและผลไม้ขึ้นอยู่กับชนิดพืช สายพันธุ์ เทคนิคการปลูกพืช และปัจจัยหลังการเก็บเกี่ยว สารกาบาจากผักและผลไม้จึงเป็นแหล่งสารกาบาจากธรรมชาติแหล่งใหม่สำหรับผู้บริโภค และเป็นทางเลือกสำหรับผู้บริโภคที่ต้องการหลีกเลี่ยงสารกาบาชนิดสังเคราะห์
    Average rating: 0.0 (0 votes)
ไม่มีรายการทางกายภาพสำหรับระเบียนนี้

There are no comments on this title.

to post a comment.

Click on an image to view it in the image viewer

    Thailand Institute of Scientific and Technological Research
    35 Mu 3 Technopolis, Tambon Khlong Ha, Amphoe Khlong Luang, Pathum Thani 12120
    ☎ 0 2577 9000, 0 2577 9300