การวิจัยและพัฒนาการผลิตสารเพปไทด์ที่มีฤทธิ์ทางชีวภาพจากกากถั่วเหลืองสำหรับเป็นอาหารเสริมลูกสุกร = Research and development of bioactive peptides from soybean meal as feed supplement for piglet / Jaruwan Sidthipol [et al.] (CONFIDENTIAL)

โดย: Jaruwan Sidthipol
ผู้แต่งร่วม: Jaruwan Sidthipol | Wanvipa Chuenchom | Kamonsri Nuankham | Neungnut Chaiyawan | Kanidta Niwasabutra | Sareeya Reungpatthanaphong | Monchanok Bumrungchai | Pattarawadee Kengkwasingh | Somporn Moonmungmee | Watcharee Kunyalung | Nomchit Kaewthai Andrei | จารุวรรณ สิทธิพล | วรรณวิภา ชื่นชม กมลศรี นวลคำ | หนึ่งนุช ไชยวรรณ์ | ขนิษฐา นิวาศะบุตร | สรียา เรืองพัฒนพงศ์ | มนชนก บำรุงชัย | ภัทราวดี เก่งกว่าสิงห์ | สมพร มูลมั่งมี | วัชรี กัลยาลัง | น้อมจิตต์ แก้วไทย อันเดร
BCG: จุลินทรีย์ ชื่อชุด: Res. Proj. No.65-15, Sub Proj. no.3 (Final report) (CONFIDENTIAL)ข้อมูลการพิมพ์: Pathumthani : Thailand Institute of Scientific and Technological Research, 2024 รายละเอียดตัวเล่ม: 92 p. : ill., tables ; 30 cm.ชื่อเรื่องอื่นๆ: โครงการวิจัยที่ ภ.65-15 การใช้เทคโนโลยีชีวภาพเพื่อการพัฒนานวัตกรรมสารเสริมสุขภาพสัตว์หัวเรื่อง: กากถั่วเหลือง | เพปไทด์ | ลูกสุกรสาระสังเขป: The objective of this research was to determine the optimal method for digesting soybean meal and evaluate the biological properties of the digestible substances, including antimicrobial and antioxidant activities, as well as their ability to stimulate macrophage binding or phagocytic activity and promote growth in piglets. The study revealed that soybean meal derived from the soybean oil industry, when digested or fermented by Bacillus subtilis TISTR2664 in the solid state, exhibited the most favorable effects. To assess cytotoxicity, RAW264.7 cells were subjected to a cytotoxicity assay using the MTT technique, with samples tested at concentrations ranging from 0 to 25 mg/mL. Results indicated no cytotoxicity, as RAW264.7 cells exhibited more than 70% viability, and higher substance concentrations correlated with increased phagocytic activity. The highest phagocytic activity (93.27±0.50%) was observed at a concentration of 12.5 mg/mL, which was significantly higher than that of the positive control (p<0.01). Nitric oxide production at 48.53±0.35 µM differed significantly from the negative control at all tested sample concentrations (p<0.01). Additionally, the digested samples of B. subtilis TISTR2664 were found to reduce Tumor Necrosis Factor alpha (TNF-α) production in RAW264.7 cells compared to controls. Peptide type analysis using Liquid Chromatography-Mass Spectrometer (LC-Q-TOF-MS/MS) and bioinformatics-based prediction of biological properties were conducted on the samples prior to testing them in piglets. The microbial-digested samples exhibited ten biological properties, including anticancer, antifungal, antihypertensive, antimicrobial, anti-parasitic, anti-proinflammatory, antivirus, cell-communicating, drug-delivering, and tumor-homing properties. To evaluate the effects on piglets, 20 weaned Duroc x Large White-Landrace crossbred piglets were divided into two groups: an experimental group and a control group. The piglets were tested over a period of 20 days, with soybean meal fermented with B. subtilis TISTR2664 added to the experimental group's feed at a rate of 2 g/kg. The study found that the experimental group exhibited significantly improved feed intake and daily growth rate compared to the control group. Analysis of visceral weight and small intestine morphology showed a tendency for increased spleen weight in the experimental group (p=0.089), while other values did not differ significantly between the two groups. Immune response analysis revealed no statistical differences between the groups at 0, 14, and 28 days of the experiment. In conclusion, the study suggests that bioactive peptides derived from fermented soybean meal can positively impact piglet productivity. Peptide composition analysis, coupled with the prediction of biological properties, can guide further research and utilization of soybean meal as a health supplement, thereby adding economic value in the future.สาระสังเขป: งานวิจัยนี้คือเพื่อศึกษาวิธีการที่เหมาะสมในการย่อยกากถั่วเหลืองและคุณสมบัติทางชีวภาพของสารเพปไทด์ที่ย่อยได้ในการต้านจุลินทรีย์ การต้านอนุมูลอิสระ การกระตุ้นการจับกินของเซลล์มาโครฟาจหรือการเกิดกิจกรรมฟาโกไซติก การสร้างไนตริกออกไซด์ และผลของการใช้สารที่ย่อยได้จากกากถั่วเหลืองในลูกสุกร พบว่าการย่อยหรือหมักกากถั่วเหลืองด้วยเชื้อจุลินทรีย์ Bacillus subtilis TISTR2664 แบบสภาวะของแข็งให้ผลดีที่สุด โดยพิจารณาจากการทดสอบความเป็นพิษต่อเซลล์ RAW264.7 ด้วยเทคนิค MTT (3-[4, 5-dimethylthiazolyl-2]-2, 5-diphenyltetrazolium bromide) พบว่าตัวอย่างทดสอบที่ความเข้มข้น 0-25 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร ไม่มีความเป็นพิษโดยเซลล์มีชีวิตมากกว่า 70 เปอร์เซ็นต์ ตัวอย่างมีฤทธิ์ในการกระตุ้นกิจกรรมฟาโกไซติกได้สูงขึ้นเมื่อความเข้มข้นของสารสูงขึ้น และที่ความเข้มข้น 12.5 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร มีฤทธิ์กระตุ้นกิจกรรมฟาโกไซติกได้สูงสุดที่ 93.27± 0.50 เปอร์เซ็นต์ โดยให้ผลของกิจกรรมฟาโกไซติกสูงกว่าสารละลายควบคุมเชิงบวก ในทุกความเข้มข้นที่ทำการทดสอบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.01) พร้อมกับสร้างไนตริกออกไซด์ได้ 48.53± 0.35 ไมโครโมลาร์ โดยค่าสูงกว่าสารควบคุมเชิงลบในทุกระดับความเข้มข้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.01) สำหรับการตรวจสอบการสร้างไซโตไคน์ชนิด Tumor Necrosis Factor alpha (TNF- α) ของกากถั่วเหลืองที่ย่อยด้วย B. subtilis TISTR2664 แบบสภาวะของแข็ง ที่ความเข้มข้น 12.5 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร พบว่ามีแนวโน้มที่จะช่วยลดการสร้าง TNF- α ในเซลล์ RAW264.7 เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม โดยมีความแตกต่างอย่างไม่มีนัยสำคัญ และจากการวิเคราะห์ชนิดของเพปไทด์ด้วยวิธี Liquid Chromatography-Mass Spectrometer (LC-Q-TOF-MS/MS) และการทำนายคุณสมบัติทางชีวภาพด้วยโปรแกรมชีวสารสนเทศในตัวอย่างก่อนนำไปทดสอบในลูกสุกรพบว่า ตัวอย่างที่ย่อยด้วยเชื้อจุลินทรีย์ดังกล่าวมีคุณสมบัติทางชีวภาพ 10 คุณสมบัติ ได้แก่ Anticancer Antifungi Antihypertensive Antimicrobe Anti-parasite Anti-proinflammatory Antivirus Cell communicating Drug delivering และ Tumor homing โดยเมื่อทดสอบผลการใช้กากถั่วหลืองที่ผ่านการย่อยด้วย B. subtilis TISTR2664 ชนิดหยาบ ซึ่งผ่านการวิเคราะห์แล้วว่ามีส่วนประกอบของเพปไทด์ที่มีฤทธิ์ทางชีวภาพในลูกสุกรพันธุ์ผสมสายระหว่างดูร็อค x ลาร์จไวท์-แลนด์เรซที่หย่านมแล้วจำนวน 20 ตัว แบ่งออก 2 กลุ่มคือ กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ทำการทดลองเป็นเวลา 20 วัน โดยกากถั่วเหลืองที่ผ่านการย่อยด้วย B. subtilis TISTR2664 ถูกเสริมให้ลูกสุกรช่วงอนุบาลในอัตรา 2 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมอาหารปกติ พบว่ามีผลช่วยให้ลูกสุกรในกลุ่มทดลองกินอาหารได้มากกว่าสุกรในกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผลของการศึกษาน้ำหนักของอวัยวะภายในและสัณฐานของลำไส้เล็กของลูกสุกรพบว่าม้ามลูกสุกรกลุ่มทดลองที่มีแนวโน้มที่มีน้ำหนักมากกว่าสุกรในกลุ่มควบคุม (p=0.089) ส่วนค่าอื่นๆ ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญของสุกรทั้ง 2 กลุ่ม ส่วนผลของการตอบสนองทางภูมิคุ้มกัน พบว่าไม่แตกต่างทางสถิติในทั้ง 2 กลุ่มการทดลองและทุกช่วงเวลา 0 14 และ 28 วันของการทดลอง ผลการศึกษาพบว่าสารเพปไทด์ที่มีฤทธิ์ทางชีวภาพในกากถั่วเหลืองที่หมักหรือย่อยด้วย B. สาระสังเขป: subtilis TISTR2664 มีผลส่งเสริมประสิทธิภาพการผลิตในสุกรช่วงอนุบาล โดยกระตุ้นให้สุกร มีการกินอาหารที่เพิ่มขึ้น และส่งผลต่ออัตราการเจริญเติมโตเฉลี่ยต่อวันในสุกรซึ่งจะทำให้สุกรอนุบาลโตเร็วขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับสุกรกลุ่มที่ไม่ได้รับการเสริมสารดังกล่าว อย่างไรก็ตามสารเพปไทด์ไม่มีผลต่อการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันของสุกร และการเปลี่ยนแปลงของน้ำหนักอวัยวะภายในรวมถึงสัณฐานของลำไส้เล็กของระหว่างสุกรในกลุ่มควบคุมกับกลุ่มทดลอง ผลการศึกษานี้บ่งชี้ว่ากากถั่วเหลืองหมักมีคุณสมบัติในการส่งเสริมการเจริญเติบโตของลูกสุกรรวมทั้งข้อมูลจากการศึกษาส่วนประกอบของเพปไทด์และการทำนายคุณสมบัติทางชีวภาพจะเป็นแนวทางวิจัยพัฒนาต่อเพื่อการนำไปใช้ประโยชน์เป็นสารเสริมสุขภาพและเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจต่อไป
    Average rating: 0.0 (0 votes)
ไม่มีรายการทางกายภาพสำหรับระเบียนนี้

There are no comments on this title.

to post a comment.

Click on an image to view it in the image viewer

    Thailand Institute of Scientific and Technological Research
    35 Mu 3 Technopolis, Tambon Khlong Ha, Amphoe Khlong Luang, Pathum Thani 12120
    ☎ 0 2577 9000, 0 2577 9300