วิจัยเเละพัฒนาสารออกฤทธิ์เชิงหน้ำที่ในกลุ่มโพลีเเซคคาไรด์จากเห็ดที่ผลิตทางการค้าในระดับกึ่งอุตสาหกรรม = Research and development of active ingredients process from some important economical mushroom for functional food industries / Khanittha Chawananorasest [et al.]

โดย: Khanittha Chawananorasest
ผู้แต่งร่วม: Khanittha Chawananorasest | Tanapak Inyod | Pattrawadee Kengkwasigh | Sarunya Laovitthayanggoon | Runchana Fank | Kittirat Prangchan | Sirinan Thubthimthed | ขนิษฐา ชวนะนรเศรษฐ์ | ธนภักษ์ อินยอด | ภัทรวดี เก่งกว่าสิงห์ | ศรัญญา เหล่าวิทยางค์กูล | รัญชนา ฟังค์ | กิตติรัตน์ ปรางค์จันทร์ | ศิรินันท์ ทับทิมเทศ
ชื่อชุด: Res. Proj. no. 65-14, Sub Proj. no. 1; no. 1 (Final report)ข้อมูลการพิมพ์: Pathumthani : Thailand Institute of Scientific and Technological Research, 2024 รายละเอียดตัวเล่ม: 178 p. : tables, ill. ; 30 cm.ชื่อเรื่องอื่นๆ: โครงการวิจัยที่ ภ.65-14 โครงการวิจัยและพัฒนาขบวนการผลิตสารออกฤทธิ์เชิงหน้าที่จากเห็ดเศรษฐกิจเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมอาหารเชิงหน้าที่หัวเรื่อง: เห็ดนางรมเทา | นางฟ้าภูฐานดำ | เห็ดนางรมฮังการี | เห็ดหลินจือสารสนเทศออนไลน์: Click here to access Full-text สาระสังเขป: Mushrooms have been valued as edible and medical resources. This project aimed to evaluate of four mushrooms such as Pleurotus ostreatus (Fr.) Kummer, Pleurotus opuntiae (Dur.& Lev.) Sacc., Pleurotus sajor-caju (Fr.) Sing, and Ganoderma lucidum (Curtis) for amino acids, two extraction methods, antioxidant activity, total phenolic content, 1H NMR analysis and in vitro immunostimulant activity, compared the cultivation between TISTR and Nakhon Prathom area. The results showed that glutamic acid and aspartic acid were abundant amino acids, while alanine, leucine, lysine, arginine, serine, phenyl alanine and threonine were found varied in those mushrooms. The most common amino acids found in P. sajor-caju were found in lower amounts in G. lucidum. There amino acids content was contrast with the antioxidant activity and total phenolic content. Meanwhile the 1H NMR chemical shifts illustrated signals of a mixture of polysaccharides resonated at δ 3.0-4.0 ppm, and fatty acids at δ 0.70-2.30 ppm of the A extract as well as the two signals of anomeric protons α-glucan and β-glucan of the B extract appeared at δ 5.36 ppm and 4.47 ppm, respectively. The bioassay in vitro immunostimulant activity of all mushroom extracts showed good immunostimulant booster at concentration of 0.5 mg/mL. It was found that the A and B extracts of G. lucidum were the most potent immunostimulant activity followed by the A extract of P. sajor-caju, and they had higher activity than β-glucan standard with % phagocytic activity of 187.12±2.17, 166.23±0.56, 155.00±2.93, respectively. Future works will focus on their in vivo immunostimulant activity, healthy drinks and nutraceutical product development.สาระสังเขป: เห็ดเป็นแหล่งที่มีประโยชน์ทั้งในด้านของอาหารและประโยชน์ในทางยา โครงการนี้ได้มีการสกัดเห็ดเดี่ยว 4 ชนิดได้แก่ เห็ดนางรมเทา, นางฟ้าภูฐานดำ, เห็ดนางรมฮังการี, เห็ดหลินจือโดยคัดเลือกจาก 2 แหล่งการเพาะเห็ดคือหน่วยงานศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมเกษตรสร้างสรรค์ (ศนก.) และจากแหล่งเพาะเห็ดในเชิงพานิชย์ ในจังหวัด นครปฐม โดยได้วิเคราะห์ปริมาณของกรดอะมิโน18ชนิดของผงเห็ดแห้ง และมีการสกัด 2 วิธีคือการสกัดสารในกลุ่มโพลิแซคคาไรด์และกลุ่มสารเบต้า-กลูแคน,การทดสอบการต้านออกซิเดชั่น, การวิเคราะห์ปริมาณสารในกลุ่มฟีโนลิกทั้งหมด, วิเคราะห์โครงสร้างทางเคมีของทั้งสองกลุ่มสารโดยใช้เทคนิก 1H NMR, การทดสอบการเสริมภูมิคุ้มกันในระดับเซลล์และในสัตว์ทดลองโดยเปรียบเทียบจากเห็ดทั้งสองแหล่ง ผลการวิเคราะห์กรดอะมิโนพบว่ามีกรดอะมิโนที่มีปริมาณสูงในเห็ดทุกชนิด อาทิ กรดกลูตามิกและกรดแอสพาติก ส่วน อะลานีน, ลิวซีน, ไลซีน, อาร์จินีน, เซอร์รีน, ฟีนิลอะลานีนและธรีโอนีน พบในปริมาณที่แตกต่างกันไป และพบว่าเห็ดหลินจือมีปริมาณกรดกลูตามิกและแอสพาติกสูงที่สุด ปริมาณกรดอะมิโนไม่ได้มรความผันแปรตามการต้านออกซิเดชั่นและปริมาณฟีโนลิกทั้งหมด ส่วนผลการวิเคราะห์ด้วย 1H NMR พบองค์ประกอบทางเคมีของโพลิแซคคาไรด์และกรดไขมันที่เคมิคัล ชิฟท์ 3.00-4.00 ppm. และ 0.70-2.30 ppm. ตามลำดับ ส่วนเบต้า-กลูแคนมีสัญญาณ 2 ชนิดของ อะโนเมอริกโปรตอนของแอลฟ่า-กลูแคนและเบต้า-กลูแคนที่เคมิคัล ชิฟท์ 5.36 ppm.และ 4.47 ppm. ตามลำดับ ผลการทดสอบการเสริมภูมิคุ้มกันของสารสกัดเห็ดพบว่าที่ความเข้มข้น 0.5ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร สารสกัดโพลิแซคคาไรด์และเบต้า-กลูแคนของเห็ดหลินจือมีฤทธิ์เสริมภูมิคุ้มกันสูงที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับสารสกัดเห็ดทุกชนิดและสูงกว่ายา มาตรฐานไดโคลฟีเนคและแอลพีเอสและพบว่าสารสกัดในกลุ่มโพลิแซคคาไรด์มีการเสริมภูมิคุ้มกันสูงกว่ากลุ่มสารเบต้า-กลูแคน พบการเสริมภูมิคุ้มกันจากเห็ดหลินจือมากกว่าเห็ดนางฟ้าภูฐาน โดยมีค่าเปอร์เซ็นการเกิดปฏิกิริยาฟาโกไซติกตามลำดับดังนี้ 187.12±2.17, 166.23±0.56และ155.00±2.93 ส่วนผลการทดสอบการเสริมภูมิคุ้มกันในสัตว์ทดลองอยู่ระหว่างดำเนินการ ผลผลิตของโครงการนี้ ผลงานตีพิมพ์ฉบับเต็มในระดับนานาชาติ 4 ฉบับ, การนำเสนอผลงานในระดับนานาชาติแบบปากเปล่า 1 ผลงาน, การนำเสนอแบบโปสเตอร์ในระดับนานาชาติ 2 ผลงาน, ผลงานอนุสิทธิบัตร 1 ผลงาน, ผลิตภัณฑ์ 1 ผลิตภัณฑ์ คาดว่าจะได้สิทธิบัตรและผลิตภัณฑ์อาหารหรือเสริมอาหารอย่างละ 1 ผลงานจากผลการทดสอบในสัตว์ทดลองที่จักแล้วเสร็จในเดือนสิงหาคม 2565 นี้ โครงการนี้เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพผู้สูงวัยในการเสริมภูมิคุ้มกันรวมถึงผู้รักสุขภาพ มีผลกระทบที่ดีต่อประเทศในอนาคตในด้านสังคม เศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม ส่งเสริม Biocircular Circular Green (BCG) Economy
    Average rating: 0.0 (0 votes)
ไม่มีรายการทางกายภาพสำหรับระเบียนนี้

There are no comments on this title.

to post a comment.

Click on an image to view it in the image viewer

    Thailand Institute of Scientific and Technological Research
    35 Mu 3 Technopolis, Tambon Khlong Ha, Amphoe Khlong Luang, Pathum Thani 12120
    ☎ 0 2577 9000, 0 2577 9300