การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์เภสัชโภชนภัณฑ์เพื่อชะลอการเสื่อมของเซลล์ผิวหนังสำหรับผู้สูงอายุจากสารรงควัตถุในพืชสมุนไพร = Research and development of innovation nutraceutical product for anti-skin aging of elderly from pigments in herbal plants / Pattravee Thong-on [et al.] (CONFIDENTIAL)

โดย: Pattravee Thong-on
ผู้แต่งร่วม: Pattravee Thong-on | Sitthiphong Soradech | Thanchanok Muangman | Krongkan Kingkaew | Pattarawadee Kengkwasingh | Somkamol Intawong | Sareeya Reungpatthanaphong | Sirinan Thubthimthed | Khaunnapa Panapong | Panitta Tinnagonwong | ภัทราวีร์ ทองอ่อน | สิทธิพงศ์ สรเดช | ธัญชนก เมืองมั่น | กรองกาญจน์ กิ่งแก้ว | ภัทรวดี เก่งกว่าสิงห์ | สมกมล อินทวงค์ | สรียา เรืองพัฒนพงศ์ | ศิรินันท์ ทับทิมเทศ | ขวัญนภา ปานะพงษ์ | พณิตตา ทินกรวงศ์
BCG: สมุนไพร TRM: ผลิตภัณฑ์สุขภาพ (Health products) ชื่อชุด: Res. Proj. no. 65-04, Sub Proj. no. 3; no.1 (Final report) (CONFIDENTIAL)ข้อมูลการพิมพ์: Pathumthani : Thailand Institute of Scientific and Technological Research, 2023 รายละเอียดตัวเล่ม: 114 p. : tables, ill. ; 30 cm.ชื่อเรื่องอื่นๆ: โครงการวิจัยที่ ภ.65-04 การพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์เภสัชโภชนภัณฑ์เสริมสุขภาพและชะลอวัยสำหรับผู้สูงอายุจากสารรงควัตถุในพืชสมุนไพรสู่ประเทศไทย 4.0หัวเรื่อง: เมลอน | สารต้านอนุมูลอิสระ | เอนไซม์สาระสังเขป: The free radical theory of aging posits that excessive cellular damage from free radicals over time increases the risk of illness and incapacity. Antioxidant enzymes serve as the first line of defense, while non-enzyme antioxidants like vitamins E and C, as well as bioactive polyphenols found in fruits and veggies, help combat the damage and promote wellness. Hence, a diet rich in antioxidants may benefit health. The goal of this study was to find the phenolic content and antioxidant activity of methanolic extracts from different parts of Thai melon, cantaloupe, and green netted melon (Cucumis melo L.). The highest extract yield came from the flesh of all three varieties, while the seed had the lowest yield. The Thai melon peel extract had the highest total phenolic content and strongest antioxidant activity among all extracts. The results showed that the Thai melon peel extract has high phenolic content and strong antioxidant activity, including inhibition of prostaglandin E2 release, inhibition of senescent cells, and anti-photo damage activity in fibroblast cells. Ferulic acid was identified as a key phenolic compound present in the extract. These findings suggest that the Thai melon peel could be a valuable source of antioxidants for use in the food industry. Ferulic acid (FA) is a natural antioxidant with antimicrobial and anticancer properties. However, its use is limited by its poor in water. To enhance its solubility, solid dispersions in water-soluble carriers are being researched, potentially leading to improved bioavailability for hydrophobic drugssolubility. In this study, FA was improved in solubility by making solid dispersions with PVP K30 through the spray-drying method using a Büchi B-90 nano spray dryer. The solid dispersions showed improved physical properties and were found to be in the amorphous form through analysis techniques such as DSC, XRD, FTIR, and SEM. The in vitro intestinal permeability of FA was increased by the solid dispersion. FA solid dispersion was also successfully packaged in sachets and showed no toxicity after 28 days of oral administration.สาระสังเขป: ทฤษฎีหลักที่ทำให้เกิดการสูงอายุ ได้แก่ ทฤษฎีอนุมูลอิสระ ซึ่งเกิดจากการสะสมของความเสียหายของเซลล์เนื่องจากอนุมูลอิสระนําไปสู่ความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของโรคต่างๆ ซึ่งสารที่มีคุณสมบัติช่วยป้องกันการเกิดการสูงอายุของเซลล์ คือ สารต้านอนุมูลอิสระซึ่งแบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ได้แก่ กลุ่มที่เป็นเอนไซม์ (Enzymatic antioxidants) และกลุ่มที่ไม่ใช่เอนไซม์ (Nonenzymatic antioxidants) เช่น พอลิฟีนอล แคโรทีนอยด์ บีตาแคโรทีน ไลโคปีน วิตามินอี (Tocopherol) วิตามินซี (Ascorbate) และกลูตาไทโอน (Glutathione) เป็นต้น ซึ่งพบได้มากในผักและผลไม้ วัตถุประสงค์ในงานวิจัยนี้ พืชสายพันธุ์เมลอน (Cucumis melo L.) จำนวน 3 ชนิด ได้แก่ แคนตาลูป เมลอน และแตงไทย ได้ถูกนำมาสกัดโดยเอทานอล 95 เปอร์เซ็นต์ และวิเคราะห์หาปริมาณฟินอลิกทั้งหมด และฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ จากส่วนของเปลือก เนื้อ และเมล็ด จากการสกัดพบว่าส่วนของเนื้อมีเปอร์เซ็นต์ของผลผลิตมากที่สุดทั้ง 3 สายพันธุ์ ในขณะที่เมล็ดมีเปอร์เซ็นต์ของผลผลิตน้อยที่สุด โดยที่เปลือกของแตงไทยมีปริมาณฟินอลิกรวมสูงที่สุด และมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระสูงที่สุดในทุกวิธีทดสอบ และยังพบว่ามีฤทธิ์ในการยับยั้งสารสื่ออักเสบ โพรสตาแกลนดินอี 2 ฤทธิ์ต้านการเสื่อมของเซลล์ ฤทธิ์ต้านความเสียหายของเซลล์จากรังสียูวีเอ เมื่อทดสอบด้วยเซลล์ผิวหนังมนุษย์ไฟโบรบลาสต์ นอกจากนี้เมื่อนำสารสกัดเปลือกแตงไทยไปวิเคราะห์ปริมาณสารสำคัญด้วยเทคนิคโครมาโทกราฟีของเหลวแรงดันสูง (HPLC) พบสารกรดเฟอรูลิก ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มฟินอลิกซึ่งเป็นสารที่มีฤทธิ์ต้านการเกิดอนุมูลอิสระที่ดี นอกจากนี้กรดเฟอรูลิกยังมีฤทธิ์ต้านจุลชีพและต้านมะเร็ง แต่ยังมีการประยุกต์ใช้จำกัดเนื่องจากละลายน้ำได้น้อย การพัฒนาตำรับโซลิดดิสเพอร์ชัน เป็นตำรับที่ได้รับความสนใจ เนื่องจากสามารถเพิ่มค่าการละลายของตัวยาที่ไม่ชอบน้ำ และอาจส่งผลในการเพิ่มชีวประสิทธิผลของตัวยา ในงานวิจัยนี้จึงได้เตรียมกรดเฟอรูลิกให้อยู่ในรูปแบบโซลิดดิสเพอร์ชันโดยทำให้แห้งด้วยเครื่องพ่นฝอยขนาดนาโน รุ่นบูชิ-90 และมีตัวพาชนิด พีวีพี-เค30 เป็นส่วนประกอบ จากการทดลองพบว่าตำรับโซลิดดิสเพอร์ชันช่วยให้กรดเฟอรูลิกมีค่าการละลายเพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับตำรับที่มีการผสมกันทางกายภาพ เมื่อวิเคราะห์สมบัติเชิงความร้อน องค์ประกอบโครงสร้างสารอินทรีย์ ความเป็นผลึกด้วยเทคนิคการเลี้ยวเบนรังสีเอ็กซ์ และโครงสร้างระดับจุลภาค พบว่ากรดเฟอ-รูลิกในตำรับโซลิดดิสเพอร์ชันมีการจัดเรียงตัวเป็นรูปแบบ อสัณฐานซึ่งส่งผลให้มีค่าการละลายที่ดี เมื่อทดสอบการซึมผ่านในเซลล์ลำไส้พบว่ามีการซึมผ่านเพิ่มมากขึ้น เมื่อนำไปเตรียมเป็นผลิตภัณฑ์เภสัชโภชนภัณฑ์โดยใส่ซองสำหรับชงดื่ม พบว่ามีคุณสมบัติที่ดี มีรสชาติที่น่าพึงพอใจ มีความคงตัวที่ดี และมีความปลอดภัย.
    Average rating: 0.0 (0 votes)
ไม่มีรายการทางกายภาพสำหรับระเบียนนี้

There are no comments on this title.

to post a comment.

Click on an image to view it in the image viewer

    Thailand Institute of Scientific and Technological Research
    35 Mu 3 Technopolis, Tambon Khlong Ha, Amphoe Khlong Luang, Pathum Thani 12120
    ☎ 0 2577 9000, 0 2577 9300