กระบวนการผลิตเส้นใยจากวัสดุเหลือทิ้งอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมัน = The production process of fiber from residue palm oil industry/ Busarin Noikaew [et al.]

โดย: Busarin Noikaew
ผู้แต่งร่วม: Busarin Noikaew | Sureeporn Kumneadklang | Parawee Pumwongpitak | Laksana Wangmooklang | Saengdoen Daungdaw | Siriporn Larpkiattaworn | บุศรินทร์ น้อยแก้ว | สุรีย์พร กำเนิดกลาง | ปารวีร์ ภูมิวงศ์พิทักษ์ | ลักษณา หวังหมู่กลาง | แสงเดือน ดวงดาว | ศิริพร ลาภเกียรติถาวร
BCG: สิ่งแวดล้อม TRM: พลังงานและสิ่งแวดล้อม ชื่อชุด: Res. Proj. no. 65-27, Sub Proj. no. 1; no.1 (Final report)ข้อมูลการพิมพ์: Pathumthani : Thailand Institute of Scientific and Technological Research, 2023 รายละเอียดตัวเล่ม: 85 p. : ill. ; 30 cm.ชื่อเรื่องอื่นๆ: โครงการวิจัยที่ ภ.65-27 โครงการการพัฒนาเทคโนโลยีการแปรรูปเส้นใยปาล์มเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มจากวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันในพื้นที่จังหวัดกระบี่หัวเรื่อง: วัสดุเหลือทิ้ง | ปาล์มน้ำมันสารสนเทศออนไลน์: Click here to access Full-text สาระสังเขป: The project focusing on the production process of fiber from residue palm oil industry is currently being developed to create value-added products from oil palm and biofuel industries, aiming to enhance sustainable competitiveness plans. The utilization of agricultural residue from oil palm fiber has gained significant attention due to its suitability for various applications. Oil palm natural fibers are eco-friendly materials that can be transformed into low to high-value products, aligning with the Bio-Circular-Green Economy (BCG) model. Therefore, this research aims to evaluate the quality of oil palm fiber obtained from different parts, including the oil palm trunk, oil palm frond, empty fruit bunch, cortex, leaf, and mesocarp.To obtain the raw materials, a 5% alkaline treatment was applied to extract the fibers. Subsequently, the TAPPI test method was employed to analyze the chemical components of lignocellulosic materials (such as cellulose, hemicellulose, and lignin), extractive content, and ash content, creating a chemical components database. Additionally, the quality of the oil palm pulps was enhanced through maleated coupling. The morphological characteristics of the oil palm pulp and cellulose fibers were then compared to those of different parts using an optical microscope with a software analyzer. The crystallinity of the oil palm fiber was assessed using X-Ray Diffraction (XRD), while thermal analysis was performed using the Thermal Gravimetric Analysis (TGA) technique. Fourier Transform Infrared (FTIR) analysis was utilized to examine the chemical structural elements, and water absorption properties were also determined. The results indicate that the various parts of oil palm fiber exhibit distinct characteristics. Consequently, these fiber characteristic findings can be utilized to enhance the strength of different oil palm pulps by blending fibers from different parts or by combining them with other natural fibers. The resulting composite materials can then be evaluated using tensile index and tear index measurements. These outcomes hold potential for further development and utilization of the composite material in various applications. สาระสังเขป: โครงการกระบวนการผลิตเส้นใยจากวัสดุเหลือทิ้งอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมัน เป็นโครงการย่อยภายใต้แผนงาน การพัฒนาผลิตภัณฑ์มูลค่าเพิ่มของอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันและพลังงานชีวภาพเพื่อยกระดับความสามารถการแข่งขันอย่างยั่งยืน ซึ่งเป็นแนวทางในการนำวัสดุเหลือทิ้งเส้นใยปาล์มน้ำมันจากอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมัน และวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร มาใช้ให้เกิดประโยชน์และเพิ่มมูลค่า นำไปสู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สอดคล้องกับโมเดลเศรษฐกิจการพัฒนาที่ยั่งยืน ด้านเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว ดังนั้น งานวิจัยนี้ได้ศึกษาวิจัยคุณสมบัติของเส้นใยปาล์มน้ำมัน จากส่วนต่างๆ ของลำต้นปาล์ม ได้แก่ ลำต้น ทาง ผล เปลือก ใบ และทะลาย ด้วยการนำวัตถุดิบตั้งต้นปาล์มน้ำมัน มาปรับสภาพด้วยสารละลายเบส ความเข้มข้น 5 เปอร์เซ็นต์ หลังจากนั้น จะนำเยื่อที่ได้ไปสกัดหาองค์ประกอบทางเคมี ได้แก่ เซลลูโลส เฮมิเซลลูโลส ลิกนิน สารแทรก และเถ้า เพื่อนำมาเป็นฐานข้อมูลองค์ประกอบทางเคมีจากส่วนต่างๆ ของเส้นใยปาล์ม พร้อมทั้งนำเยื่อมาผ่านการปรับปรุงคุณภาพด้วยสารคู่ควบมาเลอีเทด โดยเส้นใยจะถูกนำมาวิเคราะห์คุณสมบัติทางกายภาพ ลักษณะโครงสร้างผลึก คุณสมบัติทางด้านความร้อน โครงสร้างเคมี และการดูดซึมน้ำ พบว่า เส้นใยจากส่วนต่างๆ ของลำต้นปาล์ม จะมีคุณสมบัติที่แตกต่างกัน ซึ่งเหมาะกับการนำไปประยุกต์ใช้งานที่หลากหลาย เมื่อได้คุณสมบัติต่างๆ ของเส้นใยจากส่วนต่างๆ ของลำต้นปาล์มน้ำมันแล้ว จะนำไปสู่การพัฒนาปรับปรุงคุณภาพ ด้วยการผสมเยื่อจากส่วนต่างๆ ของลำต้นปาล์มร่วมกัน หรือการผสมเยื่อปาล์มร่วมกับเยื่อพืชธรรมชาติชนิดอื่นๆ แล้วนำแผ่นเยื่อที่ได้ไปทดสอบคุณสมบัติทางกล ด้วยการวัดค่าดัชนีความต้านทานแรงดึง และดัชนีความต้านทานแรงฉีกขาด ทำให้สามารถปรับปรุงคุณภาพเยื่อจากปาล์มน้ำมันได้ทุกส่วน ซึ่งเหมาะกับการนำไปพัฒนาต่อยอดเป็นวัสดุคอมโพสิตต่อไป
    Average rating: 0.0 (0 votes)
ไม่มีรายการทางกายภาพสำหรับระเบียนนี้

There are no comments on this title.

to post a comment.

Click on an image to view it in the image viewer

    Thailand Institute of Scientific and Technological Research
    35 Mu 3 Technopolis, Tambon Khlong Ha, Amphoe Khlong Luang, Pathum Thani 12120
    ☎ 0 2577 9000, 0 2577 9300