การวิจัยและพัฒนาแคโรทีนอยด์จากสาหร่ายขนาดเล็กเพื่อเพิ่มการเจริญเติบโตและอัตราการรอดตายของลูกกุ้งขาว = Research and development of carotenoids from microalgae to enhance white shrimp larval growth and survival rate / Sayan Nanchana [et al.]

โดย: Sayan Nanchana
ผู้แต่งร่วม: Sayan Nanchana | Suphansa Khantasopa | Narisara Wongsing | Kaewta Limhang | Narin Chansawang | Nuanjun Jaisai | Pokchut Kusolkumbot | สายัณห์ นันชะนะ | สุพรรษา ขันธโสภา | นาริสรา วงศ์สิงห์ | แก้วตา ลิ่มเฮง | นารินทร์ จันทร์สว่าง | นวลจันทร์ ใจใส | ปกฉัตร กุศลกรรมบถ
BCG: จุลินทรีย์ TRM: อาหาร Language: Thai ชื่อชุด: โครงการวิจัยที่ ภ.64-03/ย.2/รายงานฉบับที่ 1 (ฉบับสมบูรณ์)ข้อมูลการพิมพ์: Pathumthani : Thailand Institute of Scientific and Technological Research, 2565 รายละเอียดตัวเล่ม: 78 p.ชื่อเรื่องอื่นๆ: ข้อมูลอนุสิทธิบัตร : กระบวนกำรผลิตรงควัตถุแคโรทีนอยด์ขั้นตอนเดียวจากสำหร่ายซีลาสตรัม | โครงการวิจัยที่ ภ.64-03 ชุดโครงการเทคโนโลยีสาหร่ายเพื่อเพิ่มมูลคา่ อาหารสัตว์น้ำเศรษฐกิจหัวเรื่อง: กุ้งขาวสารสนเทศออนไลน์: Click here to access Full-text สาระสังเขป: Microalgae is one of the major sources of natural carotenoids production. The unique property of carotenoids is the high quality and quantity of antioxidants that increase the immune system, survival rate, and coloring in aquatic animals. Therefore, carotenoids have gained a lot of attention in the aquaculture feed industry. Most of the carotenoids used today are synthetic carotenoids imported from abroad making shrimp production costs high. The purpose of this research was to increase the potential of producing carotenoids from microalgae by selecting a microalgal strain that produces high concentrations of carotenoids, choosing the most suitable medium to increase biomass production at a low cost, and finding the best stimulation condition to increase carotenoid production. This study also aimed to use the carotenoids produced as raw materials for supplementing the feed products for shrimp larvae to enhance the survival rate and the coloration of the shrimp larvae. It reduces the cost of shrimp production as carotenoids from microalgae were substituted for imported synthetic carotenoids. From the study, the results showed that 1) Coelastrum sp. TISTR 8671 was chosen as a selected strain that could produce high amounts of carotenoids within a short time, produce high biomass and respond well to stress conditions to accelerate the carotenoid production. 2) BG-11 medium containing commercial-grade chemicals and tap water, was a suitable medium for increasing biomass yield with low medium cost. The biomass productivity of Coelastrum sp. TISTR 8671 cultured in this medium was 0.18±0.01 g/L/d and the medium cost was only 39.68 baht/kgDW while cultivating in BG-11 medium using laboratory-grade chemicals as ingredients, the medium cost was as high as 1,428.57 Baht/kgDW. 3) the optimal stimulation condition for increasing the production of carotenoids of Coelastrum sp. TISTR 8671 was only the high intensity of light at 10,000-11,000 Lux. In this condition, Coelastrum sp. TISTR 8671 was able to produce 3.91±0.18 mg/gDW carotenoids over 14 days and up to 4.17±0.09 mg/g dry weight when stimulated for 21 days. The dried biomass was analyzed for carotenoids, heavy metal, and microbial contamination before testing on shrimp larvae. It was found that the concentration of carotenoids was 2.27 mg/gDW. For heavy metal and microbial contamination, the results revealed that the amount of them did not exceed the standards of the Animal Feed Quality Control Act 2015. Therefore, carotenoids produced from microalgae could be used to test the shrimp feed in shrimp larvae. Effects of supplemented feed with carotenoids from microalgae were used to enhance the growth and survival rate of white shrimp (Litopenaeus vannamei) larvale. The white shrimp were fed diets containing extract carotenoids from microalgae with concentrations of 0, 100, 150 and 200 mg/kg and shrimp were fed with feed four times daily for rearing 45 days. Random shrimp was measured by using a chromameter with the system CIE L* a* b* (miniscan EZ) after rearing finished. The results showed average body weight, growth rate, survival rate and feed conversion ratio of shrimp were not significantly different (P>0.05) in control and all treatment groups. The color a abdomen of white shrimp values with L*-lightness control and the white shrimp feed diets containing extract carotenoids from microalgae with concentrations of 100 mg/kg were significant differences (P<0.05) between shrimp feed diets containing extract carotenoids from microalgae with concentrations of 150 and 200 mg/kg. Moreover, the effects of different kinds of extract carotenoids from microalgae with concentrations of 100, 150 and 200 mg/kg. were significant differences (P<0.05) between control groups. In conclusion, the extract from carotenoids from microalgae with concentrations of 200 mg/kg. for rearing at 45 days was increased the a*-redness and b*-yellowness in white shrimp.สาระสังเขป: สาหร่ายขนาดเล็กเป็นแหล่งแคโรทีนอยด์ที่สำคัญแหล่งหนึ่ง ด้วยคุณสมบัติเฉพาะตัวของ แคโรทีนอยด์ ในการเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีประสิทธิภาพสูง ส่งเสริมระบบภูมิคุ้มกัน เพิ่มอัตรา การรอด และเพิ่มสีในสัตว์นํ้า สารแคโรทีนอยด์จึงมีบทบาทสำคัญในอุตสาหกรรมการผลิตอาหารสัตว์ นํ้า แคโรทีนอยด์ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันเป็นแคโรทีนอยด์สังเคราะห์ที่นำเข้าจากต่างประเทศ ส่งผลให้ การผลิตกุ้งมีต้นทุนสูง วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้ คือ เพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิตแคโรทีนอยด์จาก สาหร่ายขนาดเล็ก โดยการคัดเลือกสายพันธุ์ที่ประสิทธิภาพในการผลิตแคโรทีนอยด์ คัดเลือกสูตร อาหารที่เหมาะสมต่อการเพิ่มผลผลิตชีวมวลที่มีต้นทุนอาหารตํ่า คัดเลือกสภาวะกระตุ้นที่เหมาะสม ต่อการเพิ่มปริมาณการผลิตแคโรทีนอยด์ เพื่อนำมาเป็นวัตถุดิบใช้สำหรับเสริมผลิตภัณฑ์อาหารกุ้งวัย อ่อนเพื่อเพิ่มอัตราการรอดชีวิต และการสร้างสีของลูกกุ้งวัยอ่อน นอกจากนี้ยังช่วยลดต้นทุนใน กระบวนการผลิตกุ้งเชิงพาณิชย์เพราะแคโรทีนอยด์จากสาหร่ายใช้ทดแทนการนำเข้าสารแคโรทีนอยด์ สังเคราะห์จากต่างประเทศได้ จากผลการศึกษาพบว่า 1) Coelastrum sp. TISTR 8671 เป็น สาหร่ายสายพันธุ์คัดเลือกที่ถูกคัดเลือกมาศึกษาในงานวิจัยนี้ โดยคัดเลือกมาจากสาหร่ายสีเขียว 20 สายพันธุ์ ด้วยคุณสมบัติที่มีการผลิตแคโรทีนอยด์ในปริมาณสูงภายในระยะเวลาอันสั้น เจริญเติบโตได้ ดี ผลผลิตชีวมวลสูง และตอบสนองต่อภาวะกระตุ้นเพื่อการเพิ่มปริมาณการผลิตแคโรทีนอยด์ได้เป็น อย่างดี 2) สูตร BG-11 โดยใช้สารเคมีเกรดการค้าร่วมกับนํ้าประปาในการเตรียมอาหารเป็นสูตร อาหารคัดเลือกที่เหมาะสมต่อการเพิ่มผลผลิตชีวมวลและมีต้นทุนอาหารตํ่า โดยให้ผลผลิตชีวมวล 0.18 ± 0.01 กรัมต่อลิตรต่อวัน ด้วยต้นทุนอาหาร 0.1 บาทต่อลิตร (39.68 บาทต่อกิโลกรัมสาหร่าย แห้ง) ในขณะที่ใช้สารเคมีเกรดวิเคราะห์จะให้ผลผลิตชีวมวล 0.15 ± 0.01 กรัมต่อลิตรต่อวัน ด้วย ต้นทุนอาหาร 3 บาทต่อลิตร (1,428.57 บาทต่อกิโลกรัมสาหร่ายแห้ง) 3) สภาวะกระตุ้นที่เหมาะสม ต่อการเพิ่มปริมาณการผลิตแคโรทีนอยด์ของ Coelastrum sp. TISTR 8671 คือการให้แสงที่ความ เข้มแสง 10,000-11,000 ลักซ์เพียงอย่างเดียว Coelastrum sp. TISTR 8671 สามารถผลิตแคโรที- นอยด์ได้ 3.91 ± 0.18 มิลลิกรัมต่อกรัมนํ้าหนักแห้ง ในเวลา 14 วัน และสูงขึ้นถึง 4.17 ± 0.09 มิลลิกรัมต่อกรัมนํ้าหนักแห้ง เมื่อกระตุ้นเป็นเวลา 21 วัน ผลการวิเคราะห์ชีวมวลแห้งของสาหร่าย Coelastrum sp. TISTR 8671 ที่เพาะเลี้ยงภายใต้สภาวะคัดเลือกที่เหมาะก่อนที่จะนำไปทดสอบกับ กุ้งขาว พบว่ามีแคโรทีนอยด์ 2.27 มิลลิกรัมต่อกรัมแห้ง การปนเปื้อนโลหะหนักและจุลินทรีย์ พบว่า ไม่เกินเกณฑ์มาตรฐานพระราชบัญญัติควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ พ.ศ. 2558 ดังนั้นแคโรทีนอยด์จาก สาหร่ายขนาดเล็กสามารถนำไปทดสอบประสิทธิภาพในอาหารกุ้งให้กับลูกกุ้งขาวได้. การศึกษาผลของการใช้สารแคโรทีนอยด์จากสาหร่ายขนาดเล็กที่มีต่อการเจริญเติบโตและ อัตราการรอดตายของลูกกุ้ง มี 4 ชุดการทดลอง คือ เลี้ยงกุ้งโดยให้อาหารเม็ดสำเร็จรูปเพียงอย่าง เดียว (กลุ่มควบคุม) ให้อาหารกุ้งผสมสารแคโรทีนอยด์จากสาหร่ายขนาดเล็กที่ระดับความเข้มข้น 100, 150 และ 200 มิลลิกรัมต่ออาหาร 1 กิโลกรัม ให้อาหารกุ้งวันละ 4 มื้อ เลี้ยงนาน 45 วัน สุ่มวัด สีกุ้งด้วยเครื่องวัดสีรุ่น Miniscan EZ โดยวัดค่าความสว่าง (L*) ความเป็นสีแดง (a*) และความเป็นสี เหลือง (b*) ผลการศึกษาพบว่ากุ้งขาวมีนํ้าหนักต่อตัวเฉลี่ย อัตราการเจริญเติบโตต่อวัน อัตราการรอด ตาย และอัตราการแลกเนื้อของกุ้งขาวในกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองไม่มีความแตกต่างกันอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติ (P>0.05) ส่วนค่าความสว่าง (L*) สีกุ้งกลุ่มควบคุมกับกลุ่มทดลองที่ผสมอาหาร สำเร็จรูปกับสาหร่ายแคโรทีนอยด์ขนาดเล็กในปริมาณ 100 มิลลิกรัมต่ออาหาร 1 กิโลกรัม มีค่าความ สว่าง (L*) แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) กับกลุ่มทดลองที่ผสมสำเร็จรูปกับสาหร่าย แคโรทีนอยด์ขนาดเล็กในปริมาณ 150 และ 200 มิลลิกรัมต่ออาหาร 1 กิโลกรัม กุ้งขาวกลุ่มที่ได้รับ อาหารเม็ดสำเร็จรูปผสมกับสาหร่ายแคโรทีนอยด์ขนาดเล็กในทุกกลุ่มการทดลอง พบว่ามีค่าความเป็น สีแดง (a*) แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) กับกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้เสริมสาหร่ายแคโร- ทีนอยด์ขนาดเล็กในอาหารเม็ดสำเร็จรูป จากการศึกษาในครั้งนี้พบว่าความเข้มข้นที่เหมาะสมของสาร แคโรทีนอยด์จากสาหร่ายขนาดเล็กที่ใช้ผสมในอาหารสำเร็จรูปให้กุ้งอยู่ที่ระดับความเข้มข้น 200 มิลลิกรัมต่ออาหาร 1 กิโลกรัม.
    Average rating: 0.0 (0 votes)
ไม่มีรายการทางกายภาพสำหรับระเบียนนี้

There are no comments on this title.

to post a comment.

Click on an image to view it in the image viewer

    Thailand Institute of Scientific and Technological Research
    35 Mu 3 Technopolis, Tambon Khlong Ha, Amphoe Khlong Luang, Pathum Thani 12120
    ☎ 0 2577 9000, 0 2577 9300