การวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์เสริมภูมิคุ้มกันจากจุลินทรีย์เพื่อลดความเสี่ยงโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่= Research and development on immunomodulating products from microorganisms for reduction of colon cancer/ Somporn Moonmangmee [et al.]

โดย: Somporn Moonmangmee
ผู้แต่งร่วม: Somporn Moonmangmee | Duangtip Moonmangmee | Premsuda Saman | Achara Chaiongkarn | Pongsathon Phapugrangkul | Lawan Chatanon | Krittiya Thisayakorn | Sirapan Sukontasing | Wiratchanee Kansandee | Jirarat Phuangnui | Watcharapong Tawiya | Bundit Fungsin | Chantra Poonsiri | สมพร มูลมั่งมี | ดวงทิพย์ มูลมั่งมี | เปรมสุดา สมาน | อัจฉรา ไชยองค์การ | พงศธร ประภักรางกูล | ลาวัลย์ ชะตานนท์ | กฤติยา ทิสยากร | สิรพรรณ สุคนธสิงห์ | วิรัชนีย์ แก่นแสนดี | จิรรัตน์ พวงบุ้ย | วัชรพงษ์ เตวิยะ | บัณฑิต ฝั่งสินธุ์ | ฉันทรา พูนศิริ
BCG: จุลินทรีย์ ชื่อชุด: Res. Proj. no. 57-05, Sub Proj. no. 4; no.1 (Final report)ข้อมูลการพิมพ์: Pathumthani : Thailand Institute of Scientific and Technological Research, 2023 รายละเอียดตัวเล่ม: 68 p. : ill. ; 30 cm.ชื่อเรื่องอื่นๆ: โครงการวิจัยที่ ภ.57-05 การวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อลดความเสี่ยงโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่หัวเรื่อง: Acetic acid bacteria | Exopolysaccharide | มะเร็งลำไส้ใหญ่สารสนเทศออนไลน์: Click here to access Full-text สาระสังเขป: The aims of this study were to isolate and screen the potential acetic acid bacteria (AAB) and lactic acid bacteria (LAB) for exopolysaccharides and exopolysaccharides-protein complex production (EPSs). The EPSs were preliminary bio-assayed and used as a raw material (ingredients) for developing food supplement for health. The experiment was carried out by isolation the bacteria from ripen fruit, flowers, beverages and fermented food containing sugar, alcohol and salt. A total of 50 samples were collected from various sources in Thailand (Northeast, Central, Eastern and Southern). The result showed that a total of 680 isolates were isolated as AAB and 415 isolates were isolated as LAB. The four and five potential isolates of AAB and LAB were found to produce high EPSs, respectively. The crude EPSs was successfully purified by concentrating the culture supernatant by rotary evaporator, and precipitating with ethyl alcohol. Then the EPSs was purified by ion exchange chromatography and gel filtration chromatography. The molecular weight (Mw) of purified EPSs producing from selected AAB was more than 700 kDa consisted of glucose and galactose. While the molecular weight of the purified EPSs producing from selected LAB grown in medium containing sucrose as the carbon source was less than 5 kDa which consisted of galactose, glucose, mannose and fructose, respectively. Determination of prebiotic properties indicating that the EPS produced by AAB and LAB were resisted to gastrointestinal (GI) tract simulate conditions. It was found that EPSs were resisted to acid solution pH 1-5 for 6 h, \mathrm{\alpha}-amylase at pH 4-8 for 6 h and artificial gastric juice in stomach and small intestine for 6 h, respectively. Furthermore, EPSs were also enhanced the growth of probiotic bacteria such as Bifidobacterium sp. and Lactobacillus sp. in vitro. As the results of growth stimulation, the growth of Lactobacillus sp. was better than Bifidobacterium sp. The bioassay with THP-1 macrophages suggested that EPSs tend to stimulate immune system. Effect of EPS on the population dynamnic in volunteer faces was also observed in gut model was studied. The feces sample was collected from healthy volunteer and pooled together prior to use. After adding EPS in the system, the medium was collected at 0, 6, 12, 24 and 48 h. The result showed that the EPS could be promoted the growth of lactic acid bacteria both Bifidobacterium sp. and Lactobacillus sp. In conclusion, EPSs produced by AAB and LAB had the potential as prebiotic and tended to promote and/ or stimulate the immune system. Therefore, the EPS can be applied as food ingredient for health products development. สาระสังเขป: การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อแยกและคัดเลือกเชื้อแบคทีเรียกลุ่มแอซีติกแอสิดแบคทีเรีย (Acetic acid bacteria: AAB) และกลุ่มแล็กติกแอสิดแบคทีเรีย (Lactic acid bacteria: LAB) ที่มีศักยภาพในการผลิตพอลิแซ็กคาไรด์และ/หรือสารประกอบเชิงซ้อนพอลิแซ็กคาไรด์-โปรตีนชนิดเอ็กโซพอลิแซ็กคาไรด์ (Exopolysaccharide: EPSs) สำหรับการทดสอบฤทธิ์ทางชีวภาพเบื้องต้น (Primary screening) เพื่อใช้เป็นวัตถุดิบ (ingredients) สำหรับการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพื่อสุขภาพ ทำการแยกเชื้อจากผลไม้สุกงอม ดอกไม้ เครื่องดื่ม และอาหารที่ผ่านกระบวนการหมักดองที่มีน้ำตาล แอลกอฮอล์ และเกลือ โดยเก็บตัวอย่างจากแหล่งต่างๆ ของจังหวัดทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ของประเทศไทย จำนวนทั้งสิ้น 50 ตัวอย่าง นำมาทำการแยกบริสุทธิ์เชื้อแบคทีเรียกลุ่มแอซีติกแอสิด (AAB) ได้จำนวน 680 ไอโซเลท และกลุ่มแล็กติกแอสิดแบคทีเรีย (LAB) ได้จำนวน 415 ไอโซเลท จากนั้นนำมาทำการคัดเลือกเชื้อที่มีศักยภาพสูงในการผลิต EPSs พบว่าได้เชื้อ AAB ที่มีศักยภาพสูงจำนวน 4 สายพันธุ์ และได้เชื้อ LAB ที่มีศักยภาพสูงจำนวน 5 สายพันธุ์ จากการทดลองสามารถแยก EPSs บริสุทธิ์ได้ด้วยขั้นตอนดังต่อไปนี้ นำอาหารเลี้ยงเชื้อมาเพิ่มความเข้มข้นด้วยเครื่อง rotary evaporator ทำการตกตะกอนด้วยเอทิลแอลกอฮอล์ จากนั้นผ่านคอลัมน์ ions exchanged chromatography และ คอลัมน์ Gel filtration chromatography โดย EPSs บริสุทธิ์ของเชื้อ AAB สายพันธุ์คัดเลือกมีน้ำหนักโมเลกุล มากกว่า 700 กิโลดาลตัน ประกอบด้วยน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว คือ กลูโคส และ กาแล็กโทส ส่วน EPS บริสุทธิ์ของเชื้อ LAB เมื่อเลี้ยงในอาหารที่มีน้ำตาลซูโครสเป็นแหล่งคาร์บอนมีน้ำหนักโมเลกุลน้อยกว่า 5 กิโลดาลตัน ประกอบด้วยน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว คือ กาแล็กโทส กลูโคส แมนโนส และฟรักโทส ตามลำดับ. จากการทดสอบคุณสมบัติการเป็นสารพรีไบโอติกเบื้องต้น พบว่า EPSS จากเชื้อ AAB และเชื้อ LAB สายพันธุ์คัดเลือกสามารถทนต่อสภาวะจำลองในระบบทางเดินอาหารได้ โดยทนต่อสารละลายกรดที่ pH 1 ถึง 5 เป็นเวลา 6 ชั่วโมง ทนต่อเอนไซม์ \mathrm{\alpha}-amylase ที่ pH 4 ถึง 8 เป็นเวลา 6 ชั่วโมง และสามารถทนต่อการย่อยด้วยน้ำย่อยเทียมในกระเพาะและลำไส้เล็กได้ในเวลา 6 ชั่วโมง ตามลำดับ และยังพบว่า EPSs ดังกล่าวสามารถกระตุ้นการเจริญของเชื้อโพรไบโอติกในหลอดทดลองได้ดีกับกลุ่มเชื้อทดสอบทั้ง Bijfdobacterium sp. และ Lactobacillus sp. ตามลำดับ โดยสามารถกระตุ้นการเจริญของเชื้อกลุ่ม Lactobacillus sp. ได้ดีกว่ากลุ่ม Bjfidobacterium sp. และจากการทดสอบฤทธิ์ทางชีวภาพเบื้องต้นกับเซลล์ทดสอบ (THP-1 macrophages) พบว่า EPSs ทดสอบมีแนวโน้มในการกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน และในการศึกษาผลของ EPSs ต่อการเปลี่ยนแปลงประชากรของเชื้อจากอุจจาระของอาสาสมัครในสภาวะจำลองลำไส้ตอนปลายที่ระยะเวลา 0, 6, 12, 24 และ 48 ชั่วโมง พบว่า EPSs ทดสอบสามารถส่งเสริมการเจริญของเชื้อกลุ่มแล็กติกแอสิดแบคทีเรียได้ดีทั้ง Bifdobacterium sp. และ Lactobacillus sp. จากการศึกษาวิจัยข้างต้นสรุปได้ว่า EPSs ทดสอบจากเชื้อ AAB และ LAB สายพันธุ์คัดเลือกมีคุณสมบัติเป็นสารพรีไบโอติก และมีแนวโน้มในการส่งเสริมและ/หรือกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน ดังนั้น EPSs ทดสอบนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้เป็นวัตถุดิบสำหรับการพัฒนาเป็นผสิตภัณฑ์เสริมอาหารเพื่อสุขภาพต่อไป.
    Average rating: 0.0 (0 votes)
ไม่มีรายการทางกายภาพสำหรับระเบียนนี้

There are no comments on this title.

to post a comment.

Click on an image to view it in the image viewer

    Thailand Institute of Scientific and Technological Research
    35 Mu 3 Technopolis, Tambon Khlong Ha, Amphoe Khlong Luang, Pathum Thani 12120
    ☎ 0 2577 9000, 0 2577 9300