การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวกล้วยหอมทองและห้องบ่มควบคุมโดยระบบ Visual Control = Research and development posthsrvest technology of banana cv. hom thong and curing chamber visual control systems / Chitta Sartpetch [et al.] (CONFIDENTIAL)

โดย: Chitta Sartpetch
ผู้แต่งร่วม: Chitta Sartpetch | Rujira Deewatthanawong | Mayura Lanchai | Sopida Sriwilaiwan | Apinya Wisutiamonkul | Walaiporn Hemso | Natsacha Inchoorun | Manasnanta Thaikamon | Saichon Rittikraithirathorn | จิตตา สาตร์เพ็ชร์ | รุจิรา ดีวัฒนวงค์ | มยุรา ล้านไชย | โสภิดา ศรีวิลัยวรรณ | อภิญา วิสุทธิอมรกุล | วลัยพร เหมโส | ณัฐศชา อินชูรัญ | มนัสนันท์ ไทยกมล | สายชล ฤทธิไกรถิรธร
BCG: อาหาร TRM: อาหาร Language: Thai ชื่อชุด: Res. Proj. no. 64-10, Sub Proj. no. 2; no.1 (Final report) (CONFIDENTIAL)ข้อมูลการพิมพ์: Pathumthani : Thailand Institute of Scientific and Technological Research, 2022 รายละเอียดตัวเล่ม: 93 p.ชื่อเรื่องอื่นๆ: ข้อมูลอนุสิทธิบัตร : ห้องบ่มผลไม้ด้วยก๊าซเอทิลีนโดยระบบวิชชัวคอนโทล (visual control) | โครงการวิจัยที่ ภ.64-10/ย.2การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์จากกล้วยหอมทองเพื่อตอบสนองต่อการทำเกษตรแปลงใหญ่ โครงการย่อยที 2การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวกล้วยหอมทอง และห้องบ่มควบคุมโดยระบบ visual controlรายงานฉบับสมบูรณ์ที่ 1 (ฉบับสมบูรณ์) การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวกล้วยหอมทอง และห้องบ่มควบคุมโดยระบบ Visual Controlหัวเรื่อง: เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว | กล้วยหอมทองสาระสังเขป: Banana cv. Hom thong is a tropical fruit which has climacteric fruit character. Its respiration rate is increasing according to its maturity and even more when it turns to ripening stage. The high respiration rate affects the shelf life of climacteric fruit. The ethylene gas impacts physiological and chemical mechanisms in climacteric fruits. Ethylene production is the main reason for short shelf life. Therefore, the aim of this research project is to apply activated carbon powder to paper which is used in banana packaging for absorbing the banana hormone. The formulation of activated carbon powder was investigated in a range of concentrations, including 0, 10, 20 and 30% of dry banana fiber weight. The results presented that banana sheath paper containing 30% of activated carbon could be the most prolonged 'Hom Thong' banana that was stored at a temperature of 25 °C and 70±5 % RH for 12 days. In addition, a virtual system prototype was conducted in this study for a unique ripening pattern. The incubation time was compared between 12 and 24 hours after feeding the ethylene gas. The concentration of this gas which was used in this study was 100 ppm. The result showed that the suitable time for inhibition was 12 hours according to acceptance of the consumer including quality and storage of produce after curing and store at temperature of 25°C for 4 days before saleสาระสังเขป: กล้วยหอมทองเป็นผลไม้เขตร้อนที่มีรูปแบบการหายใจแบบ climacteric fruit โดยมีอัตรา การหายใจเพิ่มขึ้นตามอายุผล และมีมากยิ่งขึ้นเมื่อเข้าสู่กระบวนการสุก ส่งผลให้มีอายุการเก็บรักษา สั้น จากการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาและเคมีภายในของผลิตผลหลังการเก็บเกี่ยว นำไปสู่ การเสื่อมสภาพของผลิตผล ดังนั้นการวิจัยครั้งนี้จึงมีแนวคิดในการนำผงถ่านกัมมันต์เติมลงใน กระดาษจากกาบกล้วยเพื่อผลิตเป็นบรรจุภัณฑ์ที่มีความสามารถในการดูดซับฮอร์โมนพืชที่มีฤทธิ์ใน การกระตุ้นกระบวนการสุก ได้แก่ เอทิลีน โดยเติมผงถ่านกัมมันต์ที่ระดับความเข้มข้น 0, 10, 20 และ 30 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนักของเยื่อแห้งจากกาบกล้วย พบว่ากระดาษจากกาบกล้วยผสมถ่านกัมมันต์ ที่ความเข้มข้น 30 เปอร์เซ็นต์สามารถยืดอายุการเก็บรักษากล้วยหอมทองได้นานที่สุด ซึ่งสามารถ เก็บรักษาได้นาน 12 วัน ที่อุณหภูมิ 25±2 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70±5 เปอร์เซ็นต์ นอกจากนี้ได้ทำการทดลองบ่มกล้วยหอมทองโดยห้องบ่มต้นแบบระบบ visual control ซึ่งสามารถจัดการผลผลิตกล้วยหอมทองให้มีระยะเวลาและคุณภาพในกระบวนการสุก สอดคล้องกับ การวางจำหน่ายได้ ทั้งนี้การทดลองเปรียบเทียบคุณภาพและระยะเวลาการเก็บรักษาของกล้วยหอม ทองภายหลังจากการบ่มด้วยก๊าซเอทิลีนที่ระดับความเข้มข้น 100 ppm ระยะเวลา 12 และ 24 ชั่วโมง พบว่าการบ่มกล้วยหอมทองที่ระยะเวลา 12 ชั่วโมง ให้คุณภาพการยอมรับ รวมถึงคุณภาพ ของผลผลิต และระยะเวลาในการเก็บรักษาหลังจากผ่านการบ่มที่อุณหภูมิ 25±2 องศาเซลเซียส เป็น ระยะเวลา 4 วัน เพื่อรอจำหน่ายดีที่สุด. ------------------------------------------------- 1ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมเกษตรสร้างสรรค์, สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) 2ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมอาหารเพื่อสุขภาพ, สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) 3 กองบริหารธุรกิจนวัตกรรม, สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) 4ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมหุ่นยนต์และเครื่องจักรกลอัตโนมัติ, สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)
    Average rating: 0.0 (0 votes)
ไม่มีรายการทางกายภาพสำหรับระเบียนนี้

There are no comments on this title.

to post a comment.

Click on an image to view it in the image viewer

    Thailand Institute of Scientific and Technological Research
    35 Mu 3 Technopolis, Tambon Khlong Ha, Amphoe Khlong Luang, Pathum Thani 12120
    ☎ 0 2577 9000, 0 2577 9300