การทดสอบหาสาเหตุของการเกิดกลิ่นอับชื้นจากเชื้อจุลินทรีย์ภายในอุปกรณ์ทำความเย็นรถยนต์= Testing to Determine the cause of damp odor from Microorganisms inside the car cooling devices/ Wanlapa Arunpairoj [et al.] (CONFIDENTIAL)

โดย: Wanlapa Arunpairoj
ผู้แต่งร่วม: Wanlapa Arunpairoj | Pornphot Srisukchayakul | Lawan Chatanon | Susakul Palakawong Na Ayutthaya | Pirawan Srisilp | วัลภา อรุณไพโรจน์ | พรพจน์ ศรีสุขชยะกุล | ลาวัลย์ ชตานนท์ | สุสกุล ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา | พิราวรรณ ศรีศิลป์
ชื่อชุด: Res. Proj. no. 50-39, Sub Proj. no. 1; no.1 (Final report) (CONFIDENTIAL)ข้อมูลการพิมพ์: Pathumthani : Thailand Institute of Scientific and Technological Research, 2023 รายละเอียดตัวเล่ม: 50 p. 30 cm.ชื่อเรื่องอื่นๆ: โครงการวิจัยที่ บ.50-39 การทดสอบหาสาเหตุของการเกิดกลิ่นอับชื้นจากเชื้อจุลินทรีย์ภายในอุปกรณ์ทำความเย็นรถยนต์หัวเรื่อง: จุลินทรีย์สาระสังเขป: From the problem of humid odor inside the car that often occurs, it has created awareness among entrepreneurs in finding the cause and solving the problem. Toyota Motor Thailand Co., Ltd. therefore asked for advice from the Microbial Center. Thailand Institute of Scientific and Technological Research (TISTR) in testing the cause of odor from microorganisms inside automotive cooling equipment. From analyzing the number of microorganisms from samples of 2 types of automotive cooling equipment, namely type 1 that has been used and type 2 that has not been used, it was found that was found that microorganisms were contaminated in both types of automotive cooling equipment by type 1 cooling equipment. The total microorganisms with odor problems were higher than the inactivated type 2, 6.7 x 10 - 1.81 x 10 CFU/Totalvolume and 0.1 x 10 - 1.1 x 10 CFU/Totalvolume. all in order There were a total of 67 species of microorganisms found when taking the microorganisms found on all refrigeration equipment. To test the ability to decompose proteins and fats, it was found that 5 species of microorganisms i.e. Bacillus spp., Pseudomonas sp. and Stenotrophomonas sp. and Trichosporon sp. and Rhodotorula sp. were able to decompose protein and cause odor. also detects that the cooling device is not in use. There are various types of contaminated microorganisms in large and small numbers that differ from each other. This is expected to be a major cause that causes some refrigeration equipment to have a damp odor while others do not have a damp odor after use. สาระสังเขป: จากปัญหากลิ่นอับชื้นภายในรถยนต์ที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งได้สร้างความตระหนักให้กับผู้ประกอบการในการค้นหาสาเหตุเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว บริษัท โตโยต้ามอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด จึงได้ขอคำปรึกษาศูนย์จุลินทรีย์ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ในการทดสอบหาสาเหตุของการเกิดกลิ่นอับชื้นจากเชื้อจุลินทรีย์ภายในอุปกรณ์ทำความเย็นรถยนต์. จากการตรวจวิเคราะห์จำนวนจุลินทรีย์จากตัวอย่างอุปกรณ์ทำความเย็นรถยนต์ 2 ประเภท คือ ประเภทที่ 1 ที่มีการใช้งานแล้ว และประเภทที่ 2 ที่ยังไม่ได้ใช้งาน พบว่ามีจุลินทรีย์ปนเปื้อนบนอุปกรณ์ทำความเย็นรถยนต์ทั้ง 2 ประเภท โดยอุปกรณ์ทำความเย็นประเภทที่ 1 ที่มีปัญหากลิ่นอับชื้นมีจำนวนจุลินทรีย์ทั้งหมดสูงกว่าประเภทที่ 2 ที่ยังไม่ได้ใช้งานโดยนับได้ 6.7 x 10 - 1.81 x 10 โคโลนีต่อปริมาตรทั้งหมด และ 0.1 x 10 - 1.1 x 10 โคโลนีต่อปริมาตรทั้งหมด ตามลำดับ โดยมีจุลินทรีย์ที่พบรวมทั้งสิ้น 67 สายพันธุ์ เมื่อนำจุลินทรีย์ที่ตรวจพบบนอุปกรณ์ทำความเย็นทั้งหมดมาทดสอบความสามารถในการย่อยสลายโปรตีนและไขมันพบว่า จุลินทรีย์ทั้งหมด 5 สกุล ได้แก่ แบคทีเรียในสกุล Bacillus spp., Pseudomonas sp. และ Stenotrophomonas sp. และยีสต์ในสกุล Trichosporon sp. และ Rhodotorula sp. สามารถย่อยสลายโปรตีนแล้วทำให้เกิดกลิ่นอับชื้น นอกจากนี้ยังตรวจพบว่าอุปกรณ์ทำความเย็นที่ยังไม่ใช้งาน มีจุลินทรีย์ปนเปื้อนหลากหลายชนิดในจำนวนที่มากและน้อยแตกต่างกัน ซึ่งคาดว่าจะเป็นต้นเหตุสำคัญที่ทำให้อุปกรณ์ทำความเย็นบางชิ้นเกิดกลิ่นอับชื้นในขณะที่บางชิ้นไม่เกิดกลิ่นอับชื้นหลังจากนำไปใช้งาน.
    Average rating: 0.0 (0 votes)
ไม่มีรายการทางกายภาพสำหรับระเบียนนี้

There are no comments on this title.

to post a comment.

Click on an image to view it in the image viewer

    Thailand Institute of Scientific and Technological Research
    35 Mu 3 Technopolis, Tambon Khlong Ha, Amphoe Khlong Luang, Pathum Thani 12120
    ☎ 0 2577 9000, 0 2577 9300