ผลของการเสริมโพรไบโอติกยีสต์ต่อสุขภาพ ผลผลิตน้ำนม คุณภาพน้ำนม และประสิทธิภาพการสืบพันธุ์ในโคนมที่เครียดจากความร้อน = Effect of probiotic yeast supplementation on health, milk production and quality and reproductive performance in heat-stressed dairy cows / Bunlue Kornmatitsuk [et al.]

โดย: Bunlue Kornmatitsuk
ผู้แต่งร่วม: Bunlue Kornmatitsuk | Chowalit Nakthong | Sudsaijai Kornmatitsuk | Surasak Jittakhot | บรรลือ กรมาทิตย์สุข | เชาวลิต นาคทอง | สุดสายใจ กรมาทิตย์สุข | สุรศักดิ์ จิตตะโคตร
BCG: จุลินทรีย์ TRM: นวัตกรรมการเกษตร ชื่อชุด: Res. Proj. no. 65-18, Sub Proj. no. 1; no.1 (Final report)ข้อมูลการพิมพ์: Pathumthani : Thailand Institute of Scientific and Technological Research, 2023 รายละเอียดตัวเล่ม: 36 p. ; ill. ; 30 cm.ชื่อเรื่องอื่นๆ: โครงการวิจัยที่ ภ.65-18 การใช้สารเสริมโพรไบโอติกยีสต์ในอาหารเพื่อสร้างสมดุลสุขภาพ การสืบพันธุ์และผลผลิตในโคนมหัวเรื่อง: โพรไบโอติกยีสต์ | โคนมสาระสังเขป: The study aimed to assess the impact of probiotic yeast (Saccharomyces cerevisiae var. boulardii) supplementation on the general health, fermentation process, nutrient efficiency, milk production, and milk composition of lactating dairy cows under heat stress conditions. In a 3x3 Latin square design, 9 early lactating dairy cows (with >87.5% HF) were divided into 3 groups and supplemented with active dried yeast: 1) Control group (no probiotic yeast supplement), 2) T1 group (12x10^10 CFU/head/day probiotic yeast supplement), and 3) T2 group (24x10^10 CFU/head/day probiotic yeast supplement). The results show that all cows were subjected to heat stress as indicated by the temperature-humidity index. Respiratory rates in both supplement groups showed a tendency to decrease during all periods, with a significant reduction observed at 8:00 am (P < 0.05). No significant differences were observed in body temperature, panting score, hematology, and most biochemical parameters between groups (P > 0.05), except for AST, which tended to decrease in T1 and T2 groups compared to the control group (P = 0.07). No significant differences were found between groups in terms of rumen pH and ammonia nitrogen levels. T2 group showed higher total volatile fatty acid (VFA) levels compared to T1 and the control group, and a significant increase in butyrate and valerate levels with a decreased C2:C3 ratio (P < 0.05). T2 group also had higher dry matter intake and feed efficiency compared to T1 and the control group (P < 0.05). While no supplemental effects were observed on milk yield, there was a significant increase in milk protein and solids not fat percentages and a significant decrease in somatic cell count in the supplemental groups (P < 0.05 and P < 0.001 respectively). Analysis of rumen microbiota showed no significant differences at the phylum level among groups (P > 0.05). In conclusion, probiotic yeast supplementation improved the general health conditions, rumen fermentation, nutrient efficiency, milk composition, and milk somatic cell count in early lactating dairy cows during heat stressสาระสังเขป: โครงการวิจัยมีจุดประสงค์ เพื่อศึกษาผลของการเสริมโพรไบโอติกยีสต์ Saccharomyces cerevisiae var. boulardii (active dry yeast) ต่อสุขภาพสัตว์ กระบวนการหมัก ประสิทธิภาพการใช้อาหาร ผลผลิตน้ำนม และคุณภาพน้ำนม ในแม่โครีดนมที่มีภาวะเครียดจากความร้อน โดยได้ทำการทดสอบในแม่โคพันธุ์ลูกผสมโฮลสไตน์ฟรี่เชี่ยน (>87.5%) จำนวน 9 ตัว ตามรูปแบบ 3 x 3 Latin square design ออกเป็น 3 กลุ่มการทดลอง เท่าๆ กัน โดยแต่ละกลุ่มจะได้รับการให้อาหารแบบสุ่ม 3 รูปแบบ และสลับกันให้ได้รับอาหารทดลองจนครบ 3 ระยะการทดลอง (ช่วงระยะการทดลองละ 21 วัน) ดังนี้ 1) กลุ่มควบคุม) - ไม่ได้เสริมโพรไบโอติกยีสต์ 2) กลุ่มทดลองที่ 1 (T1) - เสริมโพรไบโอติกยีสต์ 12 x 10^10 โคโลนี/ตัว/วัน และ 3) กลุ่มทดลองที่ 2 (T2) - เสริมโพรไบโอติกยีสต์ 24 x 10^10 โคโลนี/ตัว/วัน จากผลการทดลองแม่โคทั้งหมดอยู่ในในภาวะเครียดจากความร้อนตลอดช่วงระยะการทดลอง โดยกลุ่มที่ได้รับการเสริมโพรไบโอติกยีสต์ พบว่ามีอัตราการหายใจลดลง (8:00 น., P < 0.05) ขณะที่อุณหภูมิร่างกาย คะแนนการหอบหายใจ ค่าโลหิตวิทยา และค่าชีวเคมีในเลือดส่วนใหญ่ไม่แตกต่างกันระหว่างกลุ่มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P > 0.05) ยกเว้นค่า AST มีแนวโน้มลดลงในกลุ่ม T1 และ T2 (P = 0.07) เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม ส่วนค่าความเป็นกรด-เบส และ ammonia nitrogen ในกระเพาะหมัก พบว่าไม่แตกต่างกันระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ส่วนค่ากรดไขมันระเหยได้ในกระเพาะหมัก พบว่าค่า Total VFAs ในกลุ่ม T2 มีค่าสูงกว่าในกลุ่ม T1 และกลุ่มควบคุม ขณะที่ในกลุ่มที่ได้รับโพรไบโอติกยีสต์มีค่า butyrate และ valerate เพิ่มขึ้น และค่า C2:C3 ratio ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม (P < 0.05) และจากการวัดปริมาณการกินได้และประสิทธิภาพการใช้อาหาร พบว่ากลุ่ม T2 สูงกว่ากลุ่ม T1 และกลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < 0.05) ขณะที่ปริมาณน้ำนมรายวันพบว่าไม่แตกต่างกันระหว่างกลุ่ม แต่ร้อยละของโปรตีนและของแข็งรวมที่ไม่ใช่ไขมัน มีความแตกต่างระหว่างกลุ่มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < 0.05) เช่นเดียวกับค่าเซลล์โซมาติก พบว่าลดลงในทั้งสองกลุ่มที่ได้รับการเสริมโพรไบโอติกยีสต์ (P < 0.001) สำหรับผลการวิเคราะห์ชนิดและปริมาณของจุลชีพในกระเพาะหมักในระดับไฟลัม พบว่าไม่มีความแตกต่างระหว่างกลุ่มอย่างมีนัยสำคัญ (P > 0.05) ดังนั้น จากผลวิจัยนี้จึงสรุปได้ว่าการเสริมโพรไบโอติกยีสต์เป็นผลดีทั้งต่อการเสริมสุขภาพ กระบวนการหมัก ประสิทธิภาพการใช้อาหาร องค์ประกอบในน้ำนม และค่าเซลล์โซมาติก ในแม่โครีดนมที่อยู่ภายใต้ภาวะเครียดจากความร้อน.
    Average rating: 0.0 (0 votes)
ไม่มีรายการทางกายภาพสำหรับระเบียนนี้

There are no comments on this title.

to post a comment.

Click on an image to view it in the image viewer

    Thailand Institute of Scientific and Technological Research
    35 Mu 3 Technopolis, Tambon Khlong Ha, Amphoe Khlong Luang, Pathum Thani 12120
    ☎ 0 2577 9000, 0 2577 9300