วิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ชาลำไยเพื่อเสริมภูมิคุ้มกันและการนอนหลับ = Research and development of longan tea for promoting immunological activity and restful sleep / Ubon Rerk-am [et al.] (CONFIDENTIAL)

โดย: Ubon Rerk-am
ผู้แต่งร่วม: Ubon Rerk-am, | Kritiya Tisyakorn | Bantika Kongsombat | Wipaporn Patwej | Sinn Tangstirapakdee | Tuanta Sematong | Chatporn Klaikaew | Chatporn Klaikaew | Rattanasiri Giwanon | Sunisa Phoonsri | Sawai Nakakaew | Wasana Makchom | Sirinat Limbunroung | Sirinan Thubthimthed | อุบล ฤกษ์อ่ำ | กฤติยา ทิสยากร | บัณฑิกา กองสมบัติ | วิภาพร พัฒน์เวช | สิน ตั้งสถิรภักดี | เตือนตา เสมาทอง | ฉัตรพร คล้ายแก้ว | อิศรา กีตา1 | รัตนศิริ จิวานนท์ | สุนิสา พูลศรี | ไสว นาคาแก้ว | วาสนา มากโฉม | สิรินาถ หลิ่มบุญเรือง | ศิรินันท์ ทับทิมเทศ
Language: Thai ชื่อชุด: Res. Proj. no. 58-07, Sub Proj. no. 6; Rep. no.1 (Final report) (CONFIDENTIAL)ข้อมูลการพิมพ์: Pathumthani : Thailand Institute of Scientific and Technological Research, 2022 รายละเอียดตัวเล่ม: 67 p.ชื่อเรื่องอื่นๆ: โครงการวิจัยที่ ภ.58-07 ชุดโครงการพัฒนากระบวนการเก็บเกี่ยว หลังเก็บเกี่ยว และการแปรรูปลำไย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการควบคุมสารตกค้างให้เป็นไปตามมาตรฐาน เพื่อการส่งออกหัวเรื่อง: ชาลำไย | เสริมภูมิคุ้มกัน | การนอนหลับสาระสังเขป: Research and development of tea products was used 95 % ethanol longan peels, seeds and meal polysaccharide extracts as the main active ingredients. Based on the LC/QTOF analysis, the extract of longan peels and seed were contained phenolic compounds as gallic acid, ellagic acid, and corilagin. Flavonoids compounds were found rutin, catechin-(4→8)-catechin, 2,3,5,4'-tetrahydroxystilbene-2-O--D-glucopyranoside, procyanidin A2 and xanthohumol and alkaloids were found fangchinoline. The type of mono sugar were found only glucose and fructose when analysis by using HPLC technique. The quantitative analysis phenolic compounds by using HPLC, the amount of gallic acid, ellagic acid and corilagin in 95 % ethanol peel extracts are 57.70, 91, 1.01 mg/100 g of dry extracts, respectively. Where as in 95 % ethanol peel extracts are 59.70, 238.60 and 10.01 mg/100 g of dry extracts. In the finish product, tea of longan peel extracts are contained gallic acid, ellagic acid and corilagin 2.61, 5.61 and 0.61 mg/100 g of dry weight, while tea of longan seed extracts are contained 3.52, 7.52 and 1.52 mg/100 g of dry weight, respectively. The antioxidant activities were evaluated using DPPH assay, -carotene bleaching assay, ABTS Scavenging Assay, Nitric Oxide Scavenging Assay, Xanthine Oxidase Inhibition Assay and Singlet Oxygenl scavenging 1O2 assay. The low IC50 value of 95 % ethanol longan peel and seed extracts were showed strong activities in range 0.1-2.0 g/ml, similarities to 2 Trolox, gallic acid and quercetin. At the concentration of 100 g/ml, the percentage of inhibition of collagenase activity was more than 50 % which higher than oleanoic acid with 33.71% inhibitory activity, while the Anti-elastase activity were more than 35, which were close to the standard oleanoic acid, which inhibited 38.17%. Moreover, the extracts had high potential to inhibitory activity against tyrosinase with an IC50 of 28.24-56.03 when comparing to arbutin, it's has an IC50 of 1.54.สาระสังเขป: การวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ชาจากสารสกัดจากลำไยใช้สารสกัด 95 เอทานอลจากเปลือก และเมล็ดของลำไย และสารสกัดพอลิแซ็กคาไรด์ที่แยกจากส่วนของเนื้อลำไยเป็นสารออกฤทธิ์หลักเพื่อใช้เป็นผลิตภัณฑ์ชาบำรุงสุขภาพ จากผลการทดสอบวิเคราะห์องค์ประกอบด้วยเครื่อง LC/QTOF พบว่าสารสกัดจากเปลือกและเมล็ดลำไยประกอบด้วยสารในกลุ่มฟีนอลิก gallic acid, ellagic acid, และ corilagin และสารในกลุ่มฟลาโวนอยด์ ได้แก่ rutin, catechin-(4→8)-catechin, 2,3,5,4'-tetrahydroxystilbene-2-O--D-glucopyranoside, procyanidin A2 และ xanthohumol และสารในกลุ่มอัลคาลอยด์คือ fangchinoline และเมื่อวิเคราะห์ปริมาณด้วยเครื่อง HPLC สารสกัดจากเปลือกเมื่อสกัดด้วย 95 เปอร์เซ็นต์เอทานอล มีปริมาณของ gallic acid, ellagic acid และ corilagin 57.70, 91, 1.01 มิลลิกรัม/100 กรัมสารสกัด ตามลำดับ ในขณะที่ สารสกัดเมล็ดลำไยสกัดด้วย 95 เปอร์เซ็นต์เอทานอล มีปริมาณของ gallic acid, ellagic acid และ corilagin 59.70, 238.60 และ 10.01 มิลลิกรัม/100 กรัม ตามลำดับ ในผลิตภัณฑ์ชาชงเปลือกลำไย ปริมาณของ gallic acid, ellagic acid และ corilagin 2.61, 5.61 และ 0.61 มิลลิกรัม/100 กรัม และในผลิตภัณฑ์ชาชงเมล็ดลำไย ปริมาณของ gallic acid, ellagic acid และ corilagin 3.52, 7.52 และ 1.52 มิลลิกรัม/100 กรัม และเมื่อนำสารสกัดไปทำการวิเคราะห์ชนิดของน้ำตาลพบว่ามีเพียง glucose และ fructose และเมื่อนำสารสกัดไปทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี DPPH assay และ -carotene bleaching assay, ABTS Scavenging Assay, Nitric Oxide Scavenging Assay, Xanthine Oxidase Inhibition Assay และ Singlet Oxygenl scavenging 1O2 assay สารสกัด 95 เปอร์เซ็นต์เอทานอลจากเปลือกลำไยและเมล็ดลำไยเมื่อทำการสกัดด้วย มีประสิทธิภาพในการยับยั้งอนุมูลอิสระ ได้สูงมาก โดยมีค่า IC50 0.1-2.0 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร ใกล้เคียงกับสารมาตรฐาน Trolox, gallic acid และ quercetin นอกจากนี้ยังมีฤทธิ์ anti-collagenase โดยทีความเข้มข้น 100 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร มีเปอร์เซ็นต์ของการยับยั้งมากกว่า 50 มีค่าที่สูงกว่า สารมาตรฐาน oleanoic acid ที่มีฤทธิ์ยับยั้ง 33.71 เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่ฤทธิ์ anti-elastase ทีความเข้มข้น 100 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร มีเปอร์เซ็นต์ของการยับยั้งมากกว่า 35 ซึ่งมีค่าที่ใกล้เคียงกับ สารมาตรฐาน oleanoic acid ที่มีฤทธิ์ยับยั้ง 38.17 เปอร์เซ็นต์ และมีฤทธิ์ในการยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนส ที่สูง โดยมีค่า IC50 28.24-56.03 มีค่าต่ำกว่าสารมาตรฐาน arbutin มีค่า IC50 1.54 แสดงให้เห็นว่าสารสกัดจากเปลือกลำไย และเมล็ดลำไยมีศักยภาพที่จะนำมาใช้เป็นสารออกฤทธิ์ในผลิตภัณฑ์ในกลุ่มอาหารเพื่อสุขภาพชลอความแก่ บำรุงข้อต่อเส้นเอ็น และในกลุ่มเครื่องสำอางเพื่อลดฝ้าและลดและชลอการเกิดริ้วรอยได้ และเมื่อนำสารสกัดพอลิแซ็กคาไรด์ที่แยกจากเนื้อของลำไย และสารสกัด 95 เปอร์เซ็นต์เอทานอล จากเปลือกลำไยไปทำการทดสอบฤทธิ์กระตุ้นการนอนหลับและการคลายกังวลพบว่าสารสกัด 95 เปอร์เซ็นต์ เอทานอลจากเปลือกลำไยมีแนวโน้มในการกระตุ้นให้นอนหลับ และคลายกังวล แต่มีช่วงการหลับที่ไม่นาน ในขณะที่ สารสกัดพอลิแซ็กคาไรด์ให้ผลในทางตรงข้าม คือเพิ่มความตื่นตัว และหนูเดินบน rota rod ได้นานขึ้นให้ผลไปในทิศทางเดียวกับสารมาตรฐานคาเฟอีนเมื่อทำการทดสอบในหนูแรท และเมื่อนำไปทดสอบฤทธิ์ในการกระตุ้นภูมิคุ้มกันพบว่า สารสกัดเนื้อและเปลือกลำไยมีผลในการเพิ่มจำนวนเม็ดเลือดขาว และเม็ดเลือดขาวชนิด Lymphocyte เมื่อเทียบกับสารมาตรฐาน Levamisole ซึ่งเป็นสารที่มีผลในการกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย โดยพบว่าที่ความเข้มข้น ทั้งในส่วนของสารสกัดพอลิแซ็กคาไรด์จากเนื้อและสารสกัดเปลือกลำไย 95 เปอร์เซ็นต์เอทานอล ที่ปริมาณการป้อน 20 มิลลิกรัม/กิโลกรัม และ 100 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ให้ผลในทิศทางเดียวกันคือ ทำให้มีการกระตุ้นให้หนูแรทมีการสร้างเม็ดเลือดขาว และเม็ดเลือดขาวชนิด Lymphocyte เพิ่มขึ้นมากกว่ากลุ่มควบคุมและในสารมาตรฐาน ซึ่งสามารถสรุปได้ว่าสารสกัดพอลิแซ็กคาไรด์จากเนื้อและ 95 เปอร์เซ็นต์เอทานอล สาระสังเขป: เปลือกลำไยมีผลกระตุ้นระบบภูมิคุ้มในหนูแรทหลังจากป้อนนาน 15 วัน และที่ปริมาณการป้อน 500 มิลลิกรัม/กิโลกรัม นาน 15 วัน พบว่าหนูทุกตัวไม่ตายยังมีสภาพสมบูรณ์ แสดงว่าสารสกัดทั้งสองชนิดมีความลอดภัยที่จะนำไปใช้เป็นสารออกฤทธิ์ในผลิตภัณฑ์ชาชงเพื่อบำรุงสุขภาพ.
    Average rating: 0.0 (0 votes)
ไม่มีรายการทางกายภาพสำหรับระเบียนนี้

There are no comments on this title.

to post a comment.
    Thailand Institute of Scientific and Technological Research
    35 Mu 3 Technopolis, Tambon Khlong Ha, Amphoe Khlong Luang, Pathum Thani 12120
    ☎ 0 2577 9000, 0 2577 9300