การพัฒนากระบวนการผลิตฟิล์มยับยั้งการเจริญจุลินทรีย = Development of antimicrobial film processing / Pattra Maneesin [et al.] (CONFIDENTIAL)

โดย: Pattra Maneesin
ผู้แต่งร่วม: Pattra Maneesin | Phusita Wannisson | Romanie Wangdheethum | Gansuda Wangchanachai | Chawee Seebuppha | Sirinan Tubtimted | Wichit Rattanatawonkiti | พัชทรา มณีสินธุ์ | ภูษิตา วรรณิสสร | รมณีย์ หวังดีธรรม | กัลย์สุดา วังชนะชัย | ฉวี สีบุบผา | ศิรินันท์ ทับทิมเทศ | วิจิตร รัตนถาวรกิต
Language: Thai ชื่อชุด: Res. Proj. no. 48-07, Sub Proj. no. 1; no.1 (Final report) (CONFIDENTIAL)ข้อมูลการพิมพ์: Pathumthani : Thailand Institute of Scientific and Technological Research, 2022 รายละเอียดตัวเล่ม: 75 p.ชื่อเรื่องอื่นๆ: โครงการที่ ภ.48-07 การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ยับยั้งการเจริญจุลินทรีย์ (Antimicrobial Packaging) จากสมุนไพรไทย โครงการย่อยที่ 1 การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ยับยั้งการเจริญจุลินทรีย์ (Antimicrobial Packaging) จากสมุนไพรไทย รายงานฉบับที่ 2 (ฉบับสมบูรณ์) การพัฒนากระบวนการผลิตฟิล์มยับยั้งการเจริญจุลินทรีย์หัวเรื่อง: น้ำมันกานพลู | น้ำมันอบเชย | น้ำมันตะไคร้สาระสังเขป: This research aimed to study the production of antimicrobial film using the essential oils extracted from Thai medicinal plants as main ingredients. Firstly, fabrication of prototype films of two thickness; 45 and 100 micrometers made from cellulose acetate and each selective essential oils i.e. cinnamon, lemon grass, mint, ginger and clove bud oil was carried out. Then, physical properties, antimicrobial efficiency, performance as well as safety attributes of the five antimicrobial films were evaluated. The antimicrobial efficiency of the developed antimicrobial films against six food poisoning and food spoilage bacteria i.e. B. cereaus, S. aureaus, S. enteritidis, L. monocytogenes, E. coli and P. aeruginosa was evaluated. The antimicrobial films containing five different essential oils presented different antimicrobial effects. For example, the cellulose acetate film contained the cinnamon oil seemed to have much better inhibition affect against L. monocytogenes, S. aureaus and S. enteritidis than the other film samples, while the cellulose acetate film contained the ginger oil showed no inhibition effect against all test bacteria. In addition, shelf life study of boiled chicken using the 100 micrometers antimicrobial films indicated that cellulose acetate contained lemon grass, cinnamon and clove bud oil could help prolonging the shelf life of the chicken from less than 7 days to 13 days at 15 ± 2 °C. Thus, the developed antimicrobial films showed potential to use as food packaging material since it was capable to help extending the 2 shelf life of food product and safe to use. However, off-odor and off-flavor from the package appeared to be somewhat a problem especially, the chicken wrapped by cellulose acetate contained the lemon grass oil. สาระสังเขป: การทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและพัฒนากระบวนการผลิตฟิล์มที่มีคุณสมบัติยับยั้ง การเจริญจุลินทรีย์จากสมุนไพรไทย โดยทำการผลิตต้นแบบฟิล์มเซลลูโลสแอซีเทตที่มีความหนา 45 และ 100 ไมโครเมตร ทั้งที่มีและไม่มีส่วนผสมของน้ำมันหอมระเหยจากสมุนไพรไทย ที่มีศักยภาพในการยับยั้ง การเจริญจุลินทรีย์จำนวน 5 ชนิด ได้แก่ น้ำมันกานพลู, น้ำมันอบเชย, น้ำมันตะไคร้, น้ำมันมินต์, และ น้ำมันขิง ทำการทดสอบคุณสมบัติทางกายภาพ ความสามารถในการยับยั้งการเจริญจุลินทรีย์ การใช้งาน และความปลอดภัยของฟิล์มที่พัฒนาขึ้น. ฟิล์มที่พัฒนาขึ้น แสดงความสามารถในการยับยั้งการเจริญจุลินทรีย์เป้าหมายที่ส่งผล ต่อการเน่าเสียของอาหารและก่อให้เกิดโรคทั้ง 6 ชนิด ได้แก่ B. cereaus, S. aureaus, S. enteritidis, L. monocytogenes, E. coli และ P. aeruginosa ได้แตกต่างกัน เช่น ฟิล์มที่มีส่วนผสมของน้ำมัน อบเชย แสดงความสามารถในการยับยั้งเชื้อ L. monocytogenes, S. aureaus และ S. enteritidis ได้ ดีกว่าฟิล์มที่มีส่วนผสมของน้ำมันกานพลู น้ำมันตะไคร้ และน้ำมันมินต์ ในขณะที่ฟิล์มเซลลูโลสแอซีเทต ที่มีส่วนผสมของน้ำมันขิงไม่แสดงความสามารถในการยับยั้งการเจริญของเชื้อจุลินทรีย์เหล่านี้ โดยฟิล์มที่มี ความหนามากกว่า แสดงความสามารถในการยับยั้งการเจริญจุลินทรีย์ได้สูงกว่าฟิล์มที่มีความหนา น้อยกว่า และเมื่อเปรียบเทียบอายุการเก็บของผลิตภัณฑ์เนื้อไก่ต้มสุกที่ห่อด้วยฟิล์มเซลลูโลสแอซีเทต หนา 100 ไมโครเมตร ที่ไม่มีส่วนผสมของน้ำมันหอมระเหยและที่มีส่วนผสมของน้ำมันกานพลู, น้ำมัน อบเชย และน้ำมันตะไคร้ พบว่า ฟิล์มที่มีส่วนผสมของน้ำมันหอมระเหยทั้ง 3 ชนิด มีส่วนช่วยยืดอายุ เนื้อไก่ต้มสุกได้จากน้อยกว่า 7 วัน เป็น 13 วัน เมื่อเก็บที่อุณหภูมิ 15±2 องศาเซลเซียส ดังนั้น ฟิล์ม ที่พัฒนาขึ้นมีศักยภาพในการใช้งานเป็นบรรจุภัณฑ์อาหารได้ เนื่องจากมีส่วนช่วยยืดอายุการเก็บ ผลิตภัณฑ์อาหารให้นานขึ้น และมีความปลอดภัยในการใช้งาน อย่างไรก็ตามยังต้องปรับปรุงเกี่ยวกับ ปัญหากลิ่น และสีแปลกปลอม เนื่องจากบรรจุภัณฑ์โดยเฉพาะฟิล์มที่ส่วนผสมของน้ำมันตะไคร้.
    Average rating: 0.0 (0 votes)
ไม่มีรายการทางกายภาพสำหรับระเบียนนี้

There are no comments on this title.

to post a comment.
    Thailand Institute of Scientific and Technological Research
    35 Mu 3 Technopolis, Tambon Khlong Ha, Amphoe Khlong Luang, Pathum Thani 12120
    ☎ 0 2577 9000, 0 2577 9300