การพัฒนาวัสดุเสริมและโครงเลี้ยงเซลล์กระดูกจากสารประกอบแคลเซียมฟอสเฟต = Development of bone filler and scaffold from calcium phosphate compound / Siriporn Larpkiattaworn, Laksana kreethawate and Siriporn Tong-On (CONFIDENTIAL)
โดย: Siriporn Larpkiattaworn, Laksana kreethawate and Siriporn Tong-On (CONFIDENTIAL)
ผู้แต่งร่วม: ศิริพร ลาภเกียรติถาวร
| ลักษณา กรีฑาเวทย์
| สิริพร ทองอ่อน
| Siriporn Larpkiattaworn
| Laksana kreethawate
| Siriporn Tong-On
Language: Thai ชื่อชุด: Res. Proj. no. 56-07, Sub Proj. no. 3; no.1 (Final report) (CONFIDENTIAL)ข้อมูลการพิมพ์: Pathumthani : Thailand Institute of Scientific and Technological Research, 2016 รายละเอียดตัวเล่ม: 59 p. 30 cm.สาระสังเขป: This research was aimed to develop bone filler and scaffold from calcium phosphate compound which have the same structure as bone and suitable properties for biocompatibility. This research composed of two parts: bone filler development and scaffold development. Bone filler was fabricated using beta-tricalcium phosphate (TCP) mixed with hydroxyapatite (HA) and calcium carbonate (CaCO3) in a form of granule. In the case of scaffold, beta-tricalcium phosphate was mixed with food additives, which were sodium bicarbonate (BS) and yeast (Y), and was formed by molding and consolidation. Subsequently, bone filler and scaffold were sintered at 1,300oC. The results after analysis showed that, the size of bone filler granule was about 1.5-2 mm in diameter which composed of 0.2-20 µm of small pore size with good biocompatibility. The pore size of consolidated scaffold was less than or equal to 50 µm and its porosity ranged from 40.241 to 48.013%. The mold casted scaffold gave higher porosity, pore size and pore connection than the consolidated one. The large pore size was about hundreds micron, and porosity ranging from 69.01 to 84.35% with good biocompatibility.สาระสังเขป: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาวัสดุเสริมและโครงเลี้ยงเซลล์กระดูกจากสารประกอบแคลเซียมฟอสเฟตที่มีโครงสร้างใกล้เคียงกับเซลล์กระดูก และมีสมบัติที่เหมาะสมกับการใช้งานทางชีวภาพ การทดลองจะ แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ การพัฒนาวัสดุเสริม และการเตรียมโครงเลี้ยงเซลล์ วัสดุเสริมจะเตรียมขึ้นจากสารบีตา- ไตรแคลเซียมฟอสเฟต (TCP) ผสมกับไฮดรอกซีอะพาไทด์ (HA) และแคลเซียมคาร์บอเนต (CaCO3) ในรูปแบบของ เม็ดแกรนูล ส่วนการเตรียมโครงเลี้ยงเซลล์จะขึ้นรูปเป็นชิ้นงานด้วยวิธีการหล่อและการปั้น โดยนำสารบีตา- ไตรแคลเซียมฟอสเฟตมาผสมกับตัวเติมที่ใช้ในการทำอาหาร ซึ่งได้แก่ โซเดียมไบคาร์บอเนต (BS) และยีสต์ (Y) และนำไปเผาผนึกที่อุณหภูมิ 1300 องศาเซลเซียส จากการวิเคราะห์สมบัติต่างๆ พบว่า วัสดุเสริมที่เตรียมขึ้น มีขนาดประมาณ 1.5-2 มิลลิเมตร ประกอบด้วยรูพรุนขนาดเล็ก 0.2-20 ไมโครเมตร และมีสมบัติความเข้ากันได้ทางชีวภาพ โครงเลี้ยงเซลล์ขึ้นรูปจากการปั้นจะให้รูพรุนในระดับเล็กกว่าหรือเท่ากับห้าสิบไมครอน ( 50 ไมโครเมตร) มีความพรุนตัวอยู่ในช่วง 40.241-48.013 เปอร์เซ็นต์ สำหรับโครงเลี้ยงเซลล์ที่ขึ้นรูปโดยการหล่อจะมีความพรุนตัวเพิ่มขึ้น มีรูพรุนขนาดใหญ่ และมีความเชื่อมโยงของรูพรุนมากขึ้น รูพรุนขนาดใหญ่ที่พบจะมีขนาดระดับร้อยไมครอน มีค่าความพรุนตัวอยู่ในช่วง 69.01-84.35 เปอร์เซ็นต์ และจากการทดสอบความเข้ากันได้ทางชีวภาพก็ไม่พบความเป็นพิษ.
ไม่มีรายการทางกายภาพสำหรับระเบียนนี้
There are no comments on this title.