การจัดทำแบบจำลองและดัชนีชี้วัดคุณภาพน้ำทางชีวภาพเพื่อการจัดการน้ำอย่างยั่งยืน: กรณีศึกษาอ่างเก็บน้ำเขื่อนห้วยหลวง = Water quality modeling and bio-indicator for sustainable water management: a case study of huai luang reservoir / Kanjana Tuantet [et al.]

โดย: Kanjana Tuantet
ผู้แต่งร่วม: Kanjana Tuantet | Artapol Matonda | Winya Pitaksin | Karijack Yodphijith | Waroonrat Cherrum | Jarunrat Lekrungraungkij | Vichian Kajang | Worayot Sawangchom | Siriporn Larpkiattaworn | กาญจนา ต่วนเทศ | อรรถพล มะตนเด | วิญญา พิทักษ์สิน | ไกรจักร ยอดพิจิตร | วรุณรัตน์เชอรัมย์ | จรัลรัตน์เล็กรุ่งเรืองกิจ | วิเชียร กระจ่าง | ว่าที่ร.ต. วรยศ สว่างชม | ศิริพร ลาภเกียรติถาวร
Language: Thai ชื่อชุด: Res. Proj. no. 63-09, Sub Proj. no. 4; no.1 (Final report)ข้อมูลการพิมพ์: Pathumthani : Thailand Institute of Scientific and Technological Research, 2021 รายละเอียดตัวเล่ม: 95 p. 30 cm.ชื่อเรื่องอื่นๆ: โครงการวิจัยที่ ภ.63-09 การจัดการแหล่งน้ำชลประทานและพัฒนามูลค่าเพิ่มจากวัชพืชเพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตแก่ชุมชนในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนืออย่างยั่งยืนหัวเรื่อง: การจัดการน้ำสาระสังเขป: Huai Luang Reservoir receiving water flow from Huai Luang canal is located at Ban Khok Sa-at, Muang Udon District, Udon Thani, Thailand. The water stored in the reservoir is being used as a source of water for agriculture, industry and production of water supply as well as a tourist attraction for local people. Although the water quality in Huai Luang Reservoir currently lies within the surface water quality standard, there was a problem with the growth of water plants affecting the scenery and the exploitation of water. This study aims at using water quality models and indexes as a tool to predicting the water quality and using biological variables (phytoplankton) as a scorecard for biological water quality so that the responsible authority can use this information to sustainably manage the water reservoir. During the period from January 17, 2019 to February 6, 2020, the total number of sampling was 6 times. Results of this study showed that the average water quality in Huai Luang Reservoir in terms of pH, DO, BOD, NO3 -N and PO4 -P were 7.49 ± 0.75, 7.46 ± 1.59 mg/l, 5.80 ± 6.59 mg/l, 0.15 ± 0.11 mg/l and <0.1 mg/l. The Water Quality Index (WQI) calculation was averaged to be 88.9 ± 2.72 showing that the water quality of Huai Luang Reservoir is in good condition. The AAPL-PP Score was averaged at 6.21 ± 0.35 showing the trophic level at Meso-eutrophic status with moderate to polluted water quality. An analysis of the relationship between chemical and biological water quality showed that algae densities of dominant phytoplankton species namely, Melosirasp., can be used as a bioindicator for contamination of nitrate in the water body. Using an AQUATOX model with an appropriate input data model can help to predict water quality for sustainable water management in a reservoir. สาระสังเขป: อ่างเก็บน้ำเขื่อนห้วยหลวงตั้งอยู่บนลำห้วยหลวง อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี เป็นแหล่งน้ำ เพื่อการเกษตร อุตสาหกรรม และเพื่อผลิตน้ำประปา รวมทั้งเป็นแหล่งท่องเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจของ ประชาชนอีกด้วย แม้ว่าปัจจุบันคุณภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำเขื่อนห้วยหลวงจะยังอยู่ในเกณฑ์คุณภาพน้ำ ผิวดิน แต่พบว่ามีปัญหากับการเติบโตของวัชพืชบริเวณเขตน้ำตื้นส่งผลต่อทัศนียภาพ และการใช้ ประโยชน์ของแหล่งน้ำ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แบบจำลองคุณภาพน้ำและดัชนีชี้วัดคุณภาพ น้ำเป็นเครื่องมือในการคาดการณ์คุณภาพน้ำ และการใช้ตัวแปรทางชีววิทยา (แพลงก์ตอนพืช) เพื่อ เป็นดัชนีชี้วัดคุณภาพน้ำทางชีวภาพ เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถนำข้อมูลดังกล่าวไปใช้ในการ บริหารจัดการน้ำของแหล่งน้ำได้อย่างยั่งยืน ผลการศึกษาพบว่าค่าเฉลี่ยของคุณภาพน้ำบริเวณอ่างเก็บ น้ำเขื่อนห้วยหลวงในช่วงระยะเวลาตั้งแต่ 17 มกราคม 2562 ถึง 6 กุมภาพันธ์ 2563 จำนวนการเก็บ ตัวอย่างรวม 6 ครั้ง มีค่าเฉลี่ยของความเป็นกรด-เบสที่ 7.49 ± 0.75 ค่าเฉลี่ยของปริมาณออกซิเจน ละลายมีค่าอยู่ที่ 7.46 ± 1.59 มิลลิกรัมต่อลิตร ค่าความสกปรกในรูปอินทรีย์ (BOD) มีค่าอยู่ที่ 5.80 ± 6.59 มิลลิกรัมต่อลิตร ปริมาณไนโตรเจนในรูปไนเทรตมีค่าอยู่ที่ 0.15 ± 0.11 มิลลิกรัมต่อลิตร และ ปริมาณฟอสเฟตมีค่าต่ำกว่า 0.1 มิลลิกรัมต่อลิตร การคำนวณค่าดัชนีชี้วัดคุณภาพน้ำโดยวิธี Water Quality Index (WQI) พบว่าคุณภาพน้ำของอ่างเก็บน้ำเขื่อนห้วยหลวงมีค่าคะแนนเฉลี่ยที่ 88.9 ± 2.72 อยู่ในเกณฑ์คุณภาพน้ำผิวดินประเภทที่ 2 มีคุณภาพน้ำอยู่ในเกณฑ์ดี การคำนวณค่าดัชนีชี้วัด คุณภาพน้ำโดยวิธี AAPL-PP Score โดยให้ค่าคะแนนจากแพลงก์ตอนพืชชนิดเด่นในแหล่งน้ำพบว่าค่า คะแนนเฉลี่ยมีค่าอยู่ที่ 6.21 ± 0.35 บ่งชี้ถึงระดับสารอาหารปานกลางถึงสูง และคุณภาพน้ำโดยทั่วไป อยู่ในเกณฑ์ปานกลางถึงไม่ดี ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพน้ำทางเคมีและชีวภาพ พบว่า สาหร่ายความหนาแน่นของแพลงก์ตอนพืชชนิดเด่น ชนิด Melosira sp. สามารถใช้บ่งชี้การบน เปื้อนธาตุอาหารชนิดไนเทรตได้ การใช้แบบจำลอง AQUATOX ที่มีการปรับปรุงรูปแบบข้อมูลนำเข้าที่ เหมาะสมสามารถช่วยในการคาดการณ์คุณภาพน้ำเพื่อการจัดการน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ
    Average rating: 0.0 (0 votes)
ไม่มีรายการทางกายภาพสำหรับระเบียนนี้

There are no comments on this title.

to post a comment.
    Thailand Institute of Scientific and Technological Research
    35 Mu 3 Technopolis, Tambon Khlong Ha, Amphoe Khlong Luang, Pathum Thani 12120
    ☎ 0 2577 9000, 0 2577 9300